รูปนี้ถ่ายโดยเอ็ดดี้ อดัมส์ และทำให้เขาได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง
ใน ภาพ เกวนกอคลอง (Nguyen Ngoc Loan) ผู้บังคับบัญชากรมตำรวจ (ภายหลังกลายมาเป็นคนสนิทของเกวนเกาคีในสมัยที่เป็นรองนายกฯเวียดนาม) กำลังเหนี่ยวไกปืนใส่เกวนวังเลมบนท้องถนน ซึ่งเกวนกอคลองอ้างว่าอีกฝ่ายเป็นหนึ่งในหัวหน้าพวกเวียตกงซึ่งฆ่าลูกน้อง และครอบครัวของเขาอย่างทารุณ จะอย่างไรก็ดี เมื่อรูปนี้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก คนส่วนมากก็มีความเห็นว่าเกวนวังเลมในรูปนั้น นอกจากจะถูกมัดและไม่มีอาวุธแล้ว การประหารนี้เป็นเพียงศาลเตี้ยที่ไม่มีการตัดสินความผิดโดยศาลอย่างเป็นทาง การ
ภายหลังเมื่อกองทัพอเมริกาถอนกำลังจากไซง่อน ในปี 1972 เกวนกอคลองก็อพยพไปยังอเมริกา และไปเปิดร้านพิซซ่าอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย หากในปี 1991 อดีตของเขาก็ถูกขุดคุ้ยจนต้องปิดร้านไป และในปี 1998 ก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง
The lynching of young blacks (1930)
โท มัส ชิปป์, อับราม สมิธ และเจมส์ คาเมรอน ชายผิวดำสามคนถูกจับในข้อหาปล้นและฆ่าเจ้าของโรงงานซึ่งเป็นคนผิวขาว รวมทั้งข่มขืนหญิงผิวขาวซึ่งคนรักของผู้เคราะห์ร้าย ฝูงคนผิวขาวที่โกรธเกรี้ยวนับพันคนจึงบุกไปชิงตัวนักโทษจากคุกและรุมประชา ทัณฑ์ก่อนจะปิดฉากด้วยการแขวนคอ
เจมส์ คาเมรอนซึ่งในขณะนั้นมีอายุ 16 ปี หนีรอดจากการประชาทัณฑ์นี้มาอย่างเฉียดฉิว เจมส์ให้การกับผู้สื่อข่าวว่าพวกเขาขโมยของจริง แต่ไม่ได้รู้เห็นอะไรเกี่ยวกับการปล้นหรือฆ่าแม้แต่น้อย พวกเขาถูกจับกุมในทันทีโดยไม่มีโอกาสแก้ต่าง อีกทั้งในเขตนี้ยังมีการรวมตัว ของ Klu Klux Klan กันอย่างกว้างขวาง (ซึ่งอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความรุนแรงในครั้ว นี้) ภายหลังเจมส์กลายมาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพของคน ผิวดำ
Soweto Uprising (1976)
การ จลาจลที่โซเวโตในประเทศแอฟริกาใต้ได้หยุดความสนใจของชาวโลกไว้ด้วยรูปของเฮ คเตอร์ ปีเตอร์สันวัย 12 ปีซึ่งเสียชีวิตจากการยิงกราดไม่เลือกหน้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการใช้อำนาจเกินหน้าที่ของตำรวจในการจลาจล ครั้งนี้อีกด้วย
การจลาจลที่โซเวโตนี้มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ รัฐบาลประกาศบังคับให้โรงเรียนใช้ภาษาแอฟริคานส์ในการสอนเท่านั้นโดย ผลทำให้ชนผิวดำจำนวนมากไม่พอใจ มีการประท้วงไม่ไปโรงเรียนเกิดขึ้นซึ่งลุกลามไปจนเกือบทั่วทุกโรงเรียนในโซ เวโต ก่อนจะกลายเป็นการประท้วงให้ยกเลิกกฏหมายดังกล่าว ในวันเดียวกับที่เกิดการเดินขบวน ตำรวจออกระงับสถานการณ์ด้วยแก้สน้ำตาซึ่งฝ่ายขบวนประท้วงก็โต้ตอบด้วยการ ขว้างก้อนหิน และรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นการจลาจลในที่สุด ตำรวจ 300 นายเข้าปะทะกับนักเรียนผิวดำกว่าหมื่นคน ผลมีผู้เสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 ราย
เมื่อภาพนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ทั่วโลกต่างก็ประณามการกระทำของรัฐบาลแอฟริกาใต้ เด็กชายในภาพซึ่งเป็นผู้อุ้มเฮคเตอร์ถูกขับออกจากประเทศในเวลาถัดมา และหลังจากจดหมายฉบับสุดท้ายที่เขาส่งให้มารดาในปี 1978 เจ้าตัวก็หายสาปสูญไป ส่วนเด็กหญิงในรูปคือน้องสาวของเฮคเตอร์ เธอยังคงอยู่ที่โซเวโตจนทุกวันนี้
Hazel Bryant (1957)
ภาพ นี้ถูกถ่ายขึ้นในปีที่ 4 หลังจากการเหยียดสีผิวถูกกำหนดให้เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย การแบ่งแยกยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของชาวอเมริกาโดยเฉพาะในหมู่คนฝั่งใต้ อลิซาเบธ เอ็คฟอร์ดเป็นหนึ่งในคนผิวดำกลุ่มแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนของคนผิวขาวและ ถูกรอบข้างคัดค้านอย่างรุนแรง ในรูปนี้ อลิซาเบธกำลังเดินไปโรงเรียนท่ามกลางเสียงก่นด่าของเพื่อนร่วมโรงเรียนซึ่ง ในจำนวนนั้นมีเฮเซล ไบรอันท์ (คนที่อ้าปากกว้างที่สุดนั่นแหละค่ะ) รวมอยู่ด้วย
รูปนี้ถูกรับเลือกให้เป็นหนึ่งในร้อยรูปของศตวรรษที่ยี่สิบ และทรมานจิตใจเฮเซลอยู่เป็นเวลานานหลายปี ภายหลังในปี 1963 เฮเซลกล่าวขอโทษอลิซาเบธต่อการกระทำของตัวเอง ทั้งสองเคยออกรายการของโอปร้าพร้อมกันในปี 1998 อีกด้วย
Triangle Shirtwaist Company Fire (1911)
บริษัท ไทรแองเกิ้ลเชิ้ตเวสต์มักจะล็อคประตูโรงงานไว้เสมอเพื่อกันไม่ให้คนงานหนี หรือขโมยของ หากในปี 1911 ประตูซึ่งถูกลงกลอนนี้ก็ได้ตัดสินชะตาชีวิตของคนงานเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นที่ ชั้นแปดของตึก มีคนงาน 146 คนเสียชีวิตไปในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมง 62 คนจากจำนวนนี้เสียชีวิตจากการกระโดดหรือตกลงมาจากชั้นเก้า (มีผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เขาเห็นชายหญิงคู่หนึ่งแลกจูบกันก่อนจะกระโดดตามกันลงมา)ในภาพคือศพของผู้ เคราะห์ร้ายที่ตกลงมาจากตึกและ
ประชาชนซึ่งแหงนหน้ามองเหตุการณ์สยองนี้อยู่อย่างไรก็ดี
เหตุการณ์นี้ทำให้มีการรณรงค์ปรับปรุงกฏหมายแรงงานครั้งใหญ่เกิดขึ้น
Phan Thị Kim Phúc (1972)
ภาพ ที่มีชื่อเสียงที่สุดภาพหนึ่งจากสงครามเวียดนามนี้คือภาพของ Phan Thị Kim Phúc หรือคิมฮุค ในขณะนั้นเธอมีอายุ 9 ปี และหนีจากการทิ้งระเบิดนาปาล์มมาในสภาพเปลือยเปล่า ภาพนี้ถูกยกให้เป็นเครื่องหมายของความน่าสะพรึงกลัวของสงครามและได้รับ รางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง หลังจากถ่ายรูปนี้แล้ว ช่างภาพได้นำคิมฮุคและเด็กเหล่านี้ไปส่งโรงพยาบาล คิมฮุคบาดเจ็บสาหัส ทั่วตัวของเธอเต็มไปด้วยแผลไฟลวกหากก็เอาชีวิตรอดมาได้ เธอรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 14 เดือนและผ่านการผ่าตัด 17 ครั้ง
ปัจจุบัน คิมฮุคอยู่ที่แคนาดาและเป็นแม่ลูกสอง เธอเป็นเครื่องหมายของผู้ต่อต้านสงคราม และได้รับตำแหน่งเป็นทูตสันติภาพในปี 1997
Kent State (1970)
เมื่อ ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ประกาศว่าจะส่งทหารไปบุกกัมพูชา กระแสต่อต้านอย่างรุนแรงก็ก่อตัวขึ้นตาม มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ และการต่อต้านนี้ก็กลายมาเป็นการจลาจลที่มหาวิทยาลัยเคนท์ในรัฐโอไฮโอ ทหารประจำรัฐยิงปืนเข้าใส่กลุ่มนักศึกษาเพื่อหมายจะระงับเหตุการณ์ไม่สงบ ผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 รายและผู้บาดเจ็บ 9 ราย หลายคนที่ถูกยิงนี้เป็นเพียงนักศึกษาที่มาเข้าเรียนตามปกติโดยไม่ได้เข้า ร่วมการประท้วงแต่อย่างไร
ในภาพ แมรี่ แอนน์ เวคซิโอ เข่าอ่อนทรุดตัวลงเหนือศพของเจฟฟรีย์ มิลเลอร์
ซึ่งถูกทหารประจำรัฐยิงเสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่วินาทีก่อน
ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในภายหลัง
The Unknow Rebel (1989)
ใน ภาพคือชายไม่ทราบชื่อซึ่งยืนขวางรถถังซึ่งกำลังมุ่งหน้าไปสงบการประท้วงที่ กลายไปเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่จตุรัสเทียนอันเหมิงในภายหลัง
กล้องวีดี โอได้บันทึกภาพชายผู้นี้ซึ่งออกไปขวางทางรถถัง ฝ่ายรถถังเองก็พยายามจะเลี้ยวหลบชายดังกล่าวหลายครั้งซึ่งเจ้าตัวก็ตามมา ขวางไปทุกครั้ง จนกระทั่งชายผู้นี้ปีนขึ้นไปมีปากเสียงกับทหารบนรถถัง ก่อนเจ้าตัวจะถูกคนอีกกลุ่มเข้ามาห้ามและพาหายไปในฝูงคน (ไม่ทราบแน่ว่าคนกลุ่มหลังนี้เป็นประชาชนผู้หวังดี หรือตำรวจนอกเครื่องแบบ) จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่าชายในรูปเป็นตายร้ายดีอย่างไร หรือมีชื่อจริงว่ากระไร
ภาพทั้งสองถูกถ่ายจากชั้นหกของโรงแรมปักกิ่งซึ่ง อยู่ห่างออกไป 800 เมตร โดยภาพบนเป็นของสจ๊วจต์ แฟรงคลิน และภาพล่างเป็นของเจฟฟ์ ไวด์เนอร์
Thích Quảng Đức (1963)
ติ ช กว๋าง ดึ๊ก คือพระภิกษุชาวเวียดนามที่เผาตัวเองกลางสี่แยกในกรุงไซง่อน เพื่อประท้วงรัฐบาลที่ไม่ให้ความเป็นธรรมต่อพุทธศาสนิกชนในเวียดนาม
หลัง จากเผาตัวเองในครั้งนี้ สหรัฐได้กดดันรัฐบาลจนยอมตกลงรับข้อเสนอของกลุ่มพทธศาสนิกชนในเวลาหกวันนับ จากนั้น วันถัดจากการเซ็นสัญญา งานศพของพระติช กว๋าง ดึ๊กได้ถูกจัดขึ้น และมีผู้มาร่วมไว้อาลัยกว่า 4000 คน
Portrait of Winston Churchill (1941)
ภาพ นี้ถ่ายขณะที่เชอร์ชิลไปยังออตโตว่า เมืองหลวงของแคนาดา และถ่ายโดยช่างภาพชาวแคนาดา ยูซุฟ คาร์ช ภาพนี้เองที่ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกก็ว่าได้ ยูซุฟกล่าวว่า ในวันนั้นเชอร์ชิลอารมณ์ไม่ดี เขาจึงมีเวลาถ่ายรูปเพียงสองนาที เมื่อบอกให้อีกฝ่ายเอาบุหรี่ออกไป เชอร์ชิลก็ยิ่งอารมณ์เสียยิ่งขึ้นและเท้าสะเอวเหมือนจะแสดงออกว่าตัวเอง กำลังโกรธอยู่
Albert Einstein (1951)
จะ กล่าวว่าไอสไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมาก็ คงไม่ผิด รูปนี้ถูกถ่ายในวันเกิดครบ 72 ปีของเขาขณะที่กำลังเดินเล่นอยู่กับสามีภรรยา Frank Aydelotte ไอสไตน์เบื่อที่จะโพสท่าหรือทำหน้ายิ้มแย้ม เขาจึงปฏิเสธการถ่ายรูปในวันนั้น หากช่างภาพก็ตื๊อหนักจนไอสไตน์แลบลิ้นใส่ ซึ่งอาเธอร์ แซสถ่ายเอาไว้ได้พอดีความจริงในรูปนี้ ไอสไตน์นั่งอยู่ระหว่างสองสามีภรรยาบนรถ แต่เขาถูกใจรูปนี้มากเสียจนตัดเฉพาะตัวเองออกมาแปะการ์ด
ส่งให้คนรู้จัก
Nagasaki (1945)
เมฆ ทรงเห็ดซึ่งเกิดจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่นางาซากิ การทิ้งระเบิดนี้เป็นครั้งที่สอง มีผู้เสียชีวิตกว่าแปดหมื่นราย (ครั้งแรกที่ฮิโรชิม่า มีผู้เสียชีวิตประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นราย) และเหลือกัมมันตภาพรังสีอันสร้างความเสียหายในระยะยาวเอาไว้อีกด้วย
Hiroshima, Three Weeks After the Bomb (1945)
คนทั่วโลกทราบว่ามีการทิ้งระเบิดที่ฮิโรชิม่า หากภาพถ่ายนี้เองที่บอกให้โลก
รู้ว่าระเบิดนิวเคลียร์นั้นมีความร้ายแรงเพียงใดทางนี้เป็นภาพถ่ายจาก
ภาคพื้นดิน
Dead on the Beach (1943)
ศพของทหารอเมริกันสามคนบนชายหาดที่ปาปัวนิวกินีระหว่างการรบกับญี่ปุ่น
ขณะ ที่ถ่ายภาพนี้ ศพได้เริ่มเน่าเปื่อยจนมีหนอนขึ้นแล้ว ก่อนที่ภาพนี้จะถูกเผยแพร่ออกไปนั้น จะมีการถ่ายภาพศพทหารอเมริกันซึ่งถูกขนมาใน***บศพแล้วเท่านั้น ภาพนี้จึงถูกระงับไว้นานกว่าเจ็ดเดือนจึงได้รับตีพิมพ์ในที่สุด
Buchenwald (1945)
ในค่ายกักกันนาซีแห่งนี้มีผู้เคราะห์ร้ายถูกสังหารกว่า 43000 คนจนกระทั่งถูกปลดปล่อยโดยกองทหารของจอร์จ แพทตัน
แพ ธตันโกรธแค้นการกระทำอันทารุณนี้มาก และบังคับให้ชาวเยอรมันสองพันคนเดินผ่านค่ายเพื่อดูด้วยตาตัวเองว่าผู้นำของ พวกเขาทำเรื่องโหดร้ายเช่นไร
Anne Frank (1941)
ชาว ยิวกว่าหกล้านคนเสียชีวิตไปในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี หากแอนน์ แฟรงค์ก็ยังเฝ้ารออย่างเปี่ยมไปด้วยความหวังขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้ หลังคาที่อันสเตอร์ดัมส์ เธอถูกจับและเสียชีวิตด้วยโรคไทฟัส...
เพียงหนึ่งเดือนก่อนที่ค่ายจะถูกปลดปล่อย
แอนน์ ในรูปเป็นเด็กหญิงวัย 14 ปีธรรมดาคนหนึ่ง มีผู้กล่าวว่ารูปนี้มีชื่อเสียงเพราะมันแสดงถึงดวงตาของแอนน์ที่เฝ้ามองไป ยังอนาคตที่ทุกคนรู้ว่า
ไม่มีวันจะมาถึง
V-J Day, Times Square, (1945)
รูปนี้ประดับปกนิตยสารไลฟ์เพื่อฉลองชัยชนะที่สหรัฐมีเหนือญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองมีคนจำนวนมากที่อ้างตัวเป็นบุคคลในรูป
หากปัจจุบันเชื่อว่าทหารเรือในรูปคือแมคดัฟฟี่ แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันว่า
นาง พยาบาลสาวในรูปนี้คือใคร เนื่องจากแมคดัฟฟี่บอกว่าเขาจูบสาวทุกคนที่เจอในไทม์แสควร์วันนั้น และยังบอกด้วยว่าเธอผู้นี้ตบหน้าเขาเสียด้วย