อัจฉริยะที่โลกลืม นิโคลา เทสลา

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

อัจฉริยะที่โลกลืม

     ชะ ตะชีวิตของมนุษย์เราบางคนหักเหและแปรเปลี่ยนจนเกินกว่าที่เราจะคาดเดากันได้ บางคนมีสติปัญญาล้ำเลิศเข้าขั้นอัจฉริยะ แต่แทนที่จะมีความมั่งคั่งสุขสบายจากผลแห่งปัญญา ก็กลับถูกโชคชะตาเล่นตลกเพราะถูกเขาโกง หรือหักหลังจนสิ้นเนื้อประดาตัว อย่างเช่นอัจฉริยะที่ถูกลืมชื่อ นิโคลา เทสล่า (Nicola Tesla) เป็นต้น


นิโคลา เทสล่า เป็นผู้ประดิษฐ์ไดนาโม สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าสลับ ที่มีความสำคัญยิ่งต่อไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


ชีวิตมีขึ้นมีลง

   เท สล่า เป็นลูกของนักบวชชาวโครเอเชีย เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1856 จบปริญญาทางวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยกราซ (Graz) ในออสเตรีย และในปี ค.ศ. 1884 ได้อพยพไปสร้างหลักปักฐานที่สหรัฐอเมริกา แต่สิ่งที่เขาค้นพบก็คือ การเจรจาทางธุรกิจที่ไร้สัจจะและการหลอกลวงจนช่วงหนึ่งยากจนมากถึงกับต้องไป ทำงานเป็นกุลีขุดดิน

   แต่หลังจากนั้นไม่นานนัก โชคชะตาก็ช่วยให้เขาได้กลับกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกเลยทีเดียว เพราะด้วยการมีสายตากว้างไกลทางวิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความเชี่ยวชาญทาง วิศวกรรม เขาได้นำแสงสว่างและพลังงานไฟฟ้าให้กับคนเป็นจำนวนล้าน ๆ การค้นพบของเขาเทียบได้กับไมเคิลฟาราเดย์ และโธมัน เอดิสัน แต่ผู้คนกลับไม่รู้จักเขา นับเป็นเรื่องเศร้าสำหรับคน ๆ หนึ่งที่สร้างความสำเร็จไว้เป็นอันมาก แต่ก็สิ้นชีวิตอย่างโดดเดี่ยวและถูกลืม เป็นบทเรียนชีวิตที่จะสอนเราว่า ความอัจฉริยะเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถเป็นเครื่องประกันได้ว่าจะมีชื่อเสียงและเงินทองเสมอไป

ปรับปรุงไดนาโม

  ตอน ที่เทสล่าเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย เขาได้เห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่จะจุดประกายให้เขาประสบผลสำเร็จอัน สำคัญต่อมาในชีวิต มันเป็นไดนาโมแบบแรก ๆ ที่เรียกว่า แกรมม์ไดนาโม (Gramme Dynamo) ซึ่งใช้ขดลวดอยู่ในสนามแม่เหล็ก ซึ่งทำหน้าที่เป็นมอเตอร์ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวด้วยกระแสไฟฟ้า และในทางกลับกันก็สามารถใช้เป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าได้ด้วย ตอนนั้นเทสล่ามีอายุเพียง 22 ปี และเขาได้บอกกับอาจารย์ของเขาว่าเขาสามารถจะปรับปรุงรูปแบบของไดนาโมดัง กล่าวได้ และอีก 4 ปีต่อมา เขาก็ทำได้สำเร็จจริง ๆ โดยสามารถสร้างไดนาโมที่สร้างกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) ซึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กที่จะไป หมุนมอเตอร์ได้

ส่งกระแสไฟฟ้าได้ไกลกว่าเอดิสัน

 อย่าง ไรก็ตาม ช่วงนั้นโธมัส เอดิสัน ก็สามารถประดิษฐ์กระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้แล้ว แต่เป็นกระแสไฟฟ้าตรง (DC) ซึ่งได้จากแบตเตอรีแต่ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เพราะได้กระแสไฟที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งหากส่งไปตามสายลวดเพียงครึ่งไมล์กำลังของมันจะลดลงไปมาก เอดิสันจะต้องสร้างสถานีส่งไฟฟ้าทุก 1,000 หลา เพื่อจะให้แรงดันไฟฟ้ากลับมาเป็น 100 โวลท์ได้ แต่เทคโนโลยีของกระแสไฟฟ้าสลับของเทสล่าจะไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว และโดยการใช้หม้อแปลงไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าอาจจะเพิ่มขึ้นถึง 3,000,000 โวลท์ หรือมากกว่านั้นก็ได้ จึงสามารถจะส่งพลังไฟฟ้าขนาดมหาศาลในระยะทางไกลหลายไมล์ได้ ก่อนที่จะถูกทอนลงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยด้วยการใช้หม้อแปลงไฟฟ้าอีกชุด หนึ่ง

 

โธมัส เอดิสัน ได้ร่วมมือกับ จอร์จ เวสติ้งเฮ้าส์  หลังจากได้สัญญาให้ติดตั้งเครื่องไฟฟ้าเครื่องแรกที่น้ำตกไนแอการ่า  โดยใช้เทคโนโลยีของเทสล่า

 

ยากจน จนต้องไปขุดดิน

 ต่อ มาเทสล่าได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงปารีส เพื่อทำงานกับบริษัทในเครือข่ายของ เอดิสัน ณ ที่นั้นเขาได้แสดงให้เห็นศักยภาพของสิ่งที่เขาได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยการใช้มอเตอร์ของเขาช่วยให้บริษัทของเอดิสันสามารถทำสัญญาผลิตไฟฟ้าใน เมืองสตราสบวร์ก (Strasbourg) ได้

  ความปราด เปรื่องของเทสล่าเป็นที่ประจักษ์จนในปี ค.ศ. 1884 เขาก็ได้รับการชักชวนให้ไปร่วมงานกับเอดิสันเลยทีเดียว แต่ความที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จึงทำให้ต้องแยกทางกันไป และกลายเป็นคู่แข่งกันไปในที่สุด

  ตอนนั้นเท สล่าอยู่ในภาวะที่ยากจน ถึงขนาดต้องไปรับจ้างขุดดิน และทำให้ได้พบกับหัวหน้าคนงานที่รู้จักกับคนมีเงินที่ต้องการจะลงทุน จึงแนะนำให้คนทั้งสองรู้จักกัน และในเวลาไม่กี่เดือนเทสล่าก็สามารถพลิกฟื้นความมั่งคั่งให้ไหลกลับเข้ามา ได้อีกครั้ง เขามีธุรกิจของเขาเองโดยได้ตั้ง

  บริษัทเท สล่าอิเล็กทริกซ์ขึ้น และรีบจดลิขสิทธิ์เทคโนโลยีที่เป็นกุญแจดอกสำคัญ ๆ สำหรับการไฟฟ้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสลับเอาไว้ และต่อมาเขาก็ได้เข้าร่วมกำลังกับคู่แข่งคนสำคัญของเอดิสันอีกคนหนึ่ง นั่นก็คือ จอร์จ เอสติ้งเฮ้าส์ บริษัทของเทสล่ากับเวสติ้งเฮ้าส์เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำส่งให้กับอุตสาหกรรมทำเหมืองทองในไคโลรา โด ในปี ค.ศ. 1891 และเป็นผู้จัดหากระแสไฟฟ้าให้กับงานเวิร์ลด์แฟร์ในชิคาโกเมื่อปี ค.ศ. 1893

 

ถูกโกงจนได้

 ความ ได้เปรียบของกระแสไฟฟ้าสลับที่มีต่อระบบกระแสไฟฟ้าตรง ทำให้เอดิสันต้องหันไปสนใจในธุรกิจอย่างอื่น แต่บริษัทของเขาก็ได้ลงนามกับบริษัทของเวสติ้งเฮ้าส์ เพื่อจะศึกษาเทคโนโลยีในเรื่องกระแสไฟฟ้าสลับของเทสล่า และทั้งสองบริษัทได้ช่วยกันใช้พลังน้ำจากน้ำตกไนแอการ่ามาผลิตไฟฟ้าได้ในปี ค.ศ. 1895 เป็นเครื่องแรกของโลก

  แต่ความ สำเร็จดังกล่าวกลับทำให้เทสล่าต้องผิดหวัง เพราะเขาถูกบริษัทเวสติ้งเฮ้าส์โกงไปเป็นเงินหลายล้านดอลล่าร์ โดยไม่ทันรู้ตัวหรือเฉลียวใจ เพราะเขาพอใจที่จะได้เพียงเงินทุนไปทำการวิจัยในเรื่องกระแสไฟฟ้าที่จะได้ จากวิชาแม่เหล็กไฟฟ้าเท่านั้น ผลงานประดิษฐ์ของเทสล่าในช่วงราว ๆ ปี ค.ศ. 1890 ได้แก่ การประดิษฐ์แสงนีออนโดยใช้แก๊ส และการตรวจโดยใช้เอ็กซเรย์ และคลื่นวิทยุก่อนที่นักประดิษฐ์คนอื่น ๆ จะทำให้มันเป็นที่รู้จักกัน นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 1843 ศาลของสหรัฐ ฯ ได้ประกาศว่าเทสล่าเป็นผู้ประดิษฐ์วิทยุ มิใช่มาร์โคนี่

 

มาร์โคนีมิได้เป็นผู้ประดิษฐ์วิทยุ อย่างที่หลายคนเชื่อ  แต่เป็นเทสล่าต่างหาก

 

ขดลวดของเทสล่า

 สิ่ง ประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเทสล่าก็คือ เทสล่า คอยล์ (Tesla Coil) ซึ่งทำให้เขาสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่จะเพิ่มเป็นความถี่ที่สูงมากได้ เทสล่า คอยล์ เปิดหนทางไปสู่การส่งคลื่นวิทยุและทีวี นอกจากนั้น การค้นพบที่น่าสนใจที่สุดอีกอย่างหนึ่งของเทสล่าก็คือ การส่งพลังไฟฟ้าผ่านอากาศที่เบาบางได้

    ในห้องปฏิบัติการที่เงียบ สงบและห่างไกลผู้คนในโคโลราโด เทสล่าได้สร้างคอยล์ขนาดยักษ์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง มากจนสามารถส่งกระแสไฟ 10,000 วัตต์ผ่านอากาศไปจุดดวงไฟ 200 ดวง ที่อยู่ห่างออกไป 40 กิโลเมตรได้

เทสล่ากับห้องทดลองในโคราโด

 

เทสลา คอยส์

   เทสลาคอยส์  เป็นหม้อแปลงที่อาศัยหลักการเรโซแนนท์ในวงจรไฟฟ้า โดยมีแกนเป็นอากาศ   เทสลาคอยส์สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าได้สูงมากอย่างน่าตกใจ  !    พวกสร้างภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นิยมนำไปใช้  เมื่อพวกเขาต้องการให้ในภาพยนตร์ของเขามีฉากฟ้าผ่า หรือการสปาร์กของกระแสไฟฟ้า  ยกตัวอย่างหนังเรื่องคนเหล็กภาค  2  (terminator II)  ฉากเริ่มต้นที่หุ่นยนต์จากอนาคตเคลื่อนที่ผ่านมิติมาที่เวลาในปัจจุบัน  ในเรื่องจะเห็นประกายไฟฟ้าสปาร์กขึ้นอย่างน่ากลัว และหุ่นยนต์ก็มาปรากฎกายขึ้น  เบื้องหลังฉาก ผู้กำกับต้องไปติดต่อนักฟิสิกส์ ให้มาต่อเทสลาคอยส์ให้

 

ถูกโกงซ้ำ

 เท สล่าเชื่อว่าเขาได้ค้นพบความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ครั้งสำคัญ และเพื่อจะพิสูจน์ความจริงดังกล่าว เขาก็ต้องการเงินทุนมากขึ้น ซึ่งในปี ค.ศ. 1900 เขาก็ได้นายทุนชื่อ จอห์น เพียร์พอนท์ มอร์แกน (John Pierpont Morgan) มาเป็นผู้สนับสนุนและให้เงินทุน ซึ่งเทสล่าต้องตอบแทนโดยการมอบการควบคุมสิ่งที่เขาได้จดลิขสิทธิ์เอาไว้ ซึ่งเมื่อไปลงนามในสัญญากันนั้น เทสล่าก็ได้ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายทางธุรกรรมที่จะผูกมัดเขาต่าง ๆ เพราะมอร์แกนได้ลงทุนไปมหาศาลแล้วกับบริษัทที่ใช้กระแสไฟฟ้าสลับ และเขาก็ไม่ต้องการจะให้ระบบไฟฟ้าไร้สายของเทสล่ามาทำให้มันต้องล้าสมัยหรือ เลิกใช้ไป ดังนั้นมอร์แกนจึงเล่นเอาเถิดอยู่กับเทสล่าถึง 4 ปี แล้วหยุดจ่ายเงินให้เขา เมื่อถูกขโมยเอาลิขสิทธิ์ต่าง ๆ รวมทั้งขาดการอุดหนุนทางการเงิน ความฝันของเทสล่าเกี่ยวกับพลังงานที่ไร้สายก็ถึงจุดจบ เขากลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่ โดยขาดทั้งเงินและงานเมื่ออายุได้ 50 ปีแล้ว

 

ตายอย่างยากจน

 ใน ปีต่อ ๆ มา นับเป็นช่วงเวลาที่น่าสงสารสำหรับเทสล่า เขาต้องอยู่คนเดียวในโรงแรมที่ไม่มีใครสนใจ และยังชีพอยู่ได้ด้วยเงินบำนาญเล็กน้อยจากประเทศบ้านเกิดของเขา และหัวใจวายตายในโรงแรมที่กรุงนิวยอร์คในระหว่างวันที่ 5-8 มกราคม ค.ศ. 1943 รวมสิริอายุ 86 ปี หากเทสล่ามีเล่ห์เหลี่ยมและทันคนสักเล็กน้อยแบบเอดิสัน บางทีเขาอาจจะกลายเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกคนหนึ่ง แต่ปัจจุบันชื่อของเขาได้รับการจดจำเพียงหน่วยวัดสนามแม่เหล็กที่เรียกว่าเท สล่าเท่านั้น ดูช่างไม่เหมาะสมเลยกับอัจฉริยะที่นำแสงสว่างและพลังงานมาให้กับคนเป็น ล้าน ๆ ได้เพียงแค่กดสวิตซ์ไฟฟ้าเท่านั้น !

Credit: http://www.atom.rmutphysics.com/charud/
24 ส.ค. 55 เวลา 20:15 7,059 4 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...