การไหว้ คือ การที่มือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกันยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล
๒ . การไหว้ผู้ที่เคารพนับถืออย่างสูงและผู้มีพระคุณ
อธิบาย เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ไหว้บิดามารดา ครู อาจารย์ยกมือที่ประณมขึ้นจรดส่วนกลางของหน้า ให้ปลายหัวแม่มือจรดปลายจมูกให้ปลายนิ้วจรดระหว่างคิ้ว ค้อมตัวลงอย่างอ่อนน้อมและก้มศีรษะเข้าหาปลายนิ้วชี้
การประนมมือ (อัญชลี)
นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัย ในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น
วิธีการประนมมือ
ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้ง เป็นกระพุ่มมือ
ประนมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือ
ทั้งสองข้าง ทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน
อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง (ดังรูป)
การไหว้พระรัตนตรัย
นิยมแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยการไหว้เมื่อนั่งเก้าอี้หรือยืน อยู่ มีวิธีการทำดังนี้คือ
๑. ประนมมือไว้ระหว่างอก
๒. ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้
ี้ จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม (ดังรูป)
การไหว้ซึ่งกันและกันนั้นนิยมปฏิบัติเพื่อความ
เหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคลนั้น ๆ
มี ๓ แบบ คือ
๑. การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า (เป็นผู้ใหญ่มากกว่า)
๒. การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน
๓. การไหว้บุคคลผู้มีอายุน้อยกว่า
๑. การไหว้บุคคลที่มีอายุมากกว่า
สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ โดย
ถือหลักมีชาติกำเนิดสูงกว่า มีคุณ
ธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้
ปกครอง บังคับบัญชา และมีอายุ
แก่กว่าตน
การไหว้นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูกพร้อม
กับก้มศรีษะน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่านด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน
๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
นิยมยกมือกระพุ่มขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้ชี้อยู่
ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คางก้มศรีษะ
เล็กน้อยสายตามองกันและกันด้วยความหวังด
ีปราถนาดีต่อกัน
๓. การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย นิยมยกกระพุ่ม
มือขึ้นประนมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้าให้ปลาย
นิ้วชี้อยู่ที่ตั้งจมูกปลายนิ้วอยู่ที่ดั้งจมูกปลายนิ้ว
หัวแม่ มืออยู่ที่คางสายตามองดูผู้ไหว้ ด้วย
ความปราถนาดี