ขุนรัตนาวุธ แม่กองดาบทะลวงฟัน

บนถนนสายกาญจนบุรี-ลาดหญ้า ทางด้านขวามือ บริเวณปากทางเข้า ”ค่ายสุรสีห์” หรือ กองบัญชาการกองพลทหารรายที่ 9 จะเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของนายทหารกล้าท่านหนึ่งนามว่า “ขุนรัตนาวุธ” ชื่อนี้มีที่มาอย่างไรนั้น ส่วนมากจะเป็นที่รู้จักกันในวงการทหาร สำหรับทางด้านพลเรือนนอกจากนักโบราณคดีแล้ว ดูจะไม่มีใครทราบความเป็นไป ด้วยเหตุนี้จึงมักไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่ผ่านไปมา

 

เรื่อง ขุนรัตนาวุธ นี้ดูจะไม่ได้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และคงจะเป็นเรื่องที่เล่าขานต่อๆ กันมา หรืออาจจะมีการบันทึกแต่ไม่เป็นที่แพร่หลายหรือรู้จัก ข้อความที่นำมาเรียบเรียงนี้ ส่วนใหญ่ได้มาจากบทความในหนังสือ “พิธีเปิดพระบวรราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯมหาสุรสิงหนาท” เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นโดยกองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี

 

เรื่องของขุนรัตนาวุธ วีรบุรุษกล้าผู้มีวีรกรรมห้าวหาญเสียสละจนได้รับการขนานนามว่า ” แม่กองดาบทะลวงฟัน ” ปรากฏ ขึ้นเมื่อครั้ง สงครามเก้าทัพ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2328 เพื่อให้ทราบความเป็นไปของขุนรัตนาวุธ จึงจำเป็นต้องทราบเรื่องของสงครามเก้าทัพโดยสังเขปดังนี้

 

พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าแห่งกรุงอังวะ หลังจากปราบปรามตีได้หัวเมืองของชาติต่างๆ มาเป็นเมืองขึ้น จนมีอาณาเขตของประเทศกว้างขวางกว่ายุคก่อนๆ และได้ตั้งราชธานีแห่งใหม่ว่า “อมรปุระ” เจ้าปดุงคิดจะแผ่อำนาจเข้าตีเมืองไทยเป็นเมืองขึ้น จึงจัดทัพเข้าตีเมืองไทยหลายทิศทางเก้าทัพดังนี้

 

กองทัพที่ 1 เกงหวุ่นแมงยี มหาสิหะสุระ คุมพล 10,000 รุก-รานหัวเมืองภาคใต้ ทั้งทางเรือลงไปถึงเมืองถลาง (ภูเก็ต) และทางบกตั้งแต่ชุมพรถึงสงขลา
กองทัพที่ 2 อนอ – กะแฝดคิดหวุ่น คุมพล 10,000 เข้า ทางด้านบ้องตี้ (ต.บ้องตี้ อ.ไทรโยค ในปัจจุบัน) เข้าตีเมืองราชบุรีและเพชรบุรี
กองทัพที่ 3 เจ้าเมืองตองอู หวุ่นคยิสะโดศิริ มหาอุจนา คุมพล 30,000 จากเมืองเชียงแสนเข้ารุกหัวเมืองทางภาคเหนือ
กองทัพที่ 4 เมียนหวุ่นแมงยี มหาทีมช่อง คุมพล 11,000 เป็นกองหน้าเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์(อ.สังขละบุรี ปัจจุบัน)
กองทัพที่ 5 เมียนเมหวุ่น คุมพล 5,000 เป็นกองหนุนทัพที่ 4
กองทัพที่ 6 ตะแคงกามะ ราชบุตรคนที่ 2 กำลังพล 12,000 เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
กองทัพที่ 7 ตะแคงอังกุ ราชบุตรคงที่ 3 กำลังพล 11,000 เข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
กองทัพที่ 8 เป็นทัพหลวงของพระเจ้าปดุง กำลังพล 50,000 ตามเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
กองทัพที่ 9 จอช่องนรธา กำลังพล 5,000 เข้ามาทางด่านแม่ละเมาะเข้าตีหัวเมืองภาคเหนือด้านตะวันตก เช่น ตาก กำแพงเพชร

 

จะเห็นว่ากำลังพลที่เข้ามารุกรานไทยมีถึง 9 ทัพ รวมกำลังพลถึง 144,000 เฉพาะที่จะผ่านด่านเจดียเข้ามาตีกรุงเทพฯ โดยตรง นั้นเป็นทัพใหญ่ มีถึง 5 ทัพ กำลังพล 89,000 ทยอยยกตามกันเข้ามา

 

ทางฝ่ายไทย เพิ่งจะสร้างและย้ายราชธานีใหม่มาอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้เพียง 3 ปี มีกำลังพลจะต่อสู้กับพม่าได้เพียง 70,000 เทียบกันไม่ได้กับทางฝ่ายพม่าที่มีจำนวนมากยกเข้ามาทุกทิศทุกทางแต่ด้วยพระ ปรีชาสามารถและความเป็นนักรบกล้าของกษัตริย์ไทยและพระราชอนุชา กรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงวางยุทธวิธีจัดแบ่งกำลังพลออกไปต่อต้านตามจุดที่สำคัญนอกพระนคร จนได้รับชัยชนะต่อพม่าดังนี้

 

กองทัพที่ 1 เจ้าฟ้ากรมหลวงอนรักษ์เทเวศน์ (ต่อมาคือ กรม พระราชวังหลัง) คุมกำลังพล 15,000 ไปสกัดทัพพม่าที่ยกมาทางเหนือที่ นครสวรรค์
กองทัพที่ 2 เป็นทัพใหญ่ กำลังพล 30,000 กรมพระราชวังบวรฯ ไปต่อสู้ทัพทั้ง 5 ของพระจ้าปดุงจะยกเข้ามาที่เมืองเก่ากาญจนบุรี (บ.ท่าเสา ต.ลาดหญ้า ในปัจจุบัน)
กอง ทัพที่ 3 ให้เจ้าพระยาธรรมา และเจ้าพยายมราช ถือพล 5,000 ไปสกัดพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านบ้องตี้ และหัวเมืองฝ่ายใต้ ที่ราชบุรี และเพชรบุรี
กองทัพที่ 4 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นจอมทัพคุมพล 20,000 เป็นทัพหนุน คอยช่วยเหลือด้านใดด้านหนึ่งตรึงกำลังป้องกันพระนคร และคอยสนับสนุนเมื่อมีการร้องขอสนับสนุน

 

จะเห็นว่าเพียงทัพกรมพระราชวังบวรจำนวนพล 30,000 ซึ่งจะต้องต่อสู้กับ 5 กองทัพกำลังพล 89,000 ของพระเจ้าปดุง ที่ยกมาด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งมากกว่าเกือบ 3 เท่า แต่ด้วยพระปรีชาสามารถและความชำนาญในพิชัยสงครามจอมทัพไทยได้ทรงวางยุทธวิธี และจัดแบ่งกำลังพลที่มีน้อยกว่าออกปฎิบัติการจนมีชัย ทำให้สามารถขับไล่ศัตรูออกนอกแผ่นดินไทยได้สำเร็จ

 

ยุทธวิธีของฝ่ายไทย
1. นำกำลังไปตั้งรบที่บ้านโป่งปัด (ปัจจุบันคือที่ตั้งอนุสรณ์สถานสงครามเก้าทัพ) ทางตอนบนของทุ่งลาดหญ้า เหนือตัวเมืองท่าเสา (กาญจนบุรีเก่า) ณ จุดนี้สามารถปิดจุดเส้นทางเดินทัพของพม่าที่จะเข้ามาทางแควใหญ่ที่ช่องสะเดา ซึ่งเป็นพื้นที่แคบระหว่างภูเขากับลำน้ำ และปิดเส้นทางที่จะลงมาแควน้อยผ่านช่องทางทับศิลาลงสู่แควใหญ่เพื่อมาตี เมืองท่าเสา โดยจัดทัพดังนี้

1.1 กองหน้า บังคับบัญชาโดยพระยากลาโหมราชเสนาและพระยาจำแสนยากร

1.2 ยกกระบัตร ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมหลวง

1.3 เกียกกายภายใต้การบังคับบัญชาของพระยารัตนาพิพิธ

1.4 กองหลังคุมโดยพระยามณเฑียรบาล
2. ให้พระยามหาโยธา (เจ่ง) คุมกองมอญอาสาจำนวน 3,000 ไปประจำที่ด่านกรามซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองท่ากระดานทางแควใหญ่คอยสอด ส่องความเป็นไปของพม่า
3. กองโจรภายใต้บังคับของพระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน้ำ พระยาเพชรบุรี คอยตัดตีปล้นเสบียงของพม่า ต่อมาได้เปลี่ยนให้พระองค์เจ้าขุนเณรทำหน้าที่แทนพระยาทั้ง 3 เพราะถูกประหารเนื่องจากการหลีกการปฎิบัติหน้าที่
4.กองทหารดาบทะลวงฟัน ภายใต้การบังคับของขุนรัตนาวุธ เป็นหน่วยจรยุทธคอยก่อกวนการเดินทัพของพม่า

 

ยุทธวีธีของไทยที่นำกำลังออกมาตั้งสกัดการเดินทัพของพม่าที่ บ้านโป่งปัด-ทุ่งลาดหญ้านั้นเป็นที่รู้กันทั่วไปที่เรียกว่ายุทธวิธีปิดตรอก ทำให้ทัพพม่าติดอยู่ในป่าไม่สามารถผ่านเข้าสู่ที่ราบของเมืองกาญจนบุรีได้ และกำลังสำคัญที่ทำให้ไทยพิชิตศึกครั้งนี้ก็คือผลของการปฎิบัติงานของหน่วย กองโจรหน่วยสอดแนมและหน่วยก่อกวนที่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

 

วีรกรรมของขุนรัตนาวุธ แม่องดาบทะลวงฟัน
หลัง จากต้องอุบายของพม่า จนเกิดความระแวงไม่ได้ร่วมมือกับพระยาเจ่งต้องเสียกายยับเยิน โดยกำลังทหารพม่ากองทัพที่ 4 มีเมี้ยน หวุ่นแม่งยี เป็นแม่ทัพ นายกองที่สำคัญมี กลาหวุ่น, สาลจอ, อากาจแทง, อดุงหวุ่น, ละไมหวุ่น, บิสุงยิ, นิยาคู, ลันซังโป, ปันยิตะจอง, ซุยตองอากา พร้อมกำลังพล 11000 คนทำหน้าที่เป็นกองทัพหน้าที่ 1 เคลื่อนผ่านช่องเจดีย์สามองค์มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ ปรากฎว่าเมื่อทัพล่วงหน้าแล้วได้สืบทราบว่ากองอาสามอญที่สวามิภักดิ์ต่อไทย ในบังคับบัญชาของพระมหาโยธา(เจ่ง) ส่งมาขัดตาทัพพม่า ฉะนั้นจึงได้ทำอุบายให้ทหารพม่าถือหนังสือลับ ตอนรับการกลับใจของพระมหาโยธาที่สวามิภักดิ์ต่อพม่าและให้ทหารไทยจับได้กลาง ทาง เพื่อให้ ขุนรัตนาวุธแม่กองดาบทะลวงฟัน ของไทยจับหนังสือแล้วเกิดความระแวงสงสัยระหว่าง ขุนรัตนาวุธ กับ พระยามหาโยธา และเหตุการณ์ก็เป็นไปตามแผนของพม่า เมื่องถึงวันนัดจู่โจมปล้นค่ายพร้อมกัน กองทหารดาบทะลวงฟันแคลงใจว่าตนจะติดกับดักพม่า จึงไม่นำกลังปล้นค่ายพม่าตามที่นัดหมายทำให้กองทหารอาสามาญของพระยาหมาโยธา เข้าจู่โจมกองทัพพม่าตามลำพังจึงเสียเปรียบได้รับความเสียหายและแตกร่น ยับเยิน, กองทัพพม่าติดตามอย่างกระชั้นชิด บังเอิญกองอาสามอญของพระยารามยกกำลังไปหนุนไว้จึงทำให้รอดพ้นมาได้ เมื่อขุนรัตนาวุธทราบว่าหลงกลอุบายของพม่าจนทำให้แผนการปล้นค่ายทหารล้มเหลว จึงคิดวางแผนและปรับกลยุทธ์ใหม่โดยปฎิบัติการแบบกองโจรคือใช้กำลังส่วนน้อย เข้าโจมตีแบบโฉบฉวย เพื่อทำลายและขัดขวางการเดินทัพของทหารพม่าที่จะเข้าสู่สามประสบและท่าดิน แดง นอกจากนี้ยังส่งหน่วยกล้าตายรุกเข้าไปบริเวณลำน้ำแม่สมิกลาย, สกลิ และห้วยแม่กษัตริย์ในดินแดนมอญ สามารถสร้างความปั่นป่วนและทำลายเสบียงของพม่า ทำให้การเดินทัพพม่าช้าลงและทำให้ฝ่ายไทยได้พร้อมในตั้งรับเพราะพม่าใช้แม่ น้ำ 3 สาย ในการลำเลียงเสบียง จากนั้นขุนรัตนาวุธได้ถอนกำลังกลับมาที่ค่ายใหญ่ของไทยที่ตั้งเผชิญหน้ากับ ทัพพม่าที่บ้านโป่งบัด-ลาดหญ้า และได้คุมกำลังออกประจันบานกับทหารพม่าโดยเปิดประตูค่ายบุกฝ่าปืนตับพม่า เข้าตะลุมบอนเป็นการสู้รบที่ดุเดือดชุ่มโชกด้วยเหงื่อและเลือด ขุนรัตนาวุธ พากองทหารดาบทะลวงฟันเข้าต่อสู้กับพม่าแบบประบานอย่างเข้มแข็ง การประจันบานทำให้ขุนรัตนาวุธถูกพม่ารุมรบจนข้อมือขวาของตนขาดสบั้นเลือดไหล นองหมดแรงล้มลงกลางสนามรบในยามบ่ายวันนั้น ทหารไทยได้นำขุนรัตนาวุธเข้าค่าย แม้ว่าจะต้องบาดเจ็บอย่างสาหัสแต่ขุนรัตนาวุธยังมีจิตใจที่เข้มแข็งเด็ด เดี่ยวห่วงใยประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับใช้ข้อมือซ้ายเอานิ้วจุ่มเลือดของมือขวาที่ขาดเขียนตัวหนังสือบนผ้าปู เตียงว่า“จงรักษาลาดหญ้าไว้ด้วยเลือดและชีวิต” แม้ใน พงศาวดารจะไม่ได้บันทึกประวัติและวีรกรรมของขุนรัตนาวุธไว้เพราะเป็นเพียง ทหารชั้นผู้น้อย แต่วีระกรรมของทหารกล้าที่ถูกกล่าวขานสืบทอดเป็นมรดกแห่งวีรกรรมที่เหล่า ทหารที่ร่วมในสนามรบได้เล่าขานให้ลูกหลานสืบทอดสายเลือดได้ทราบและ เทอดทูนไว้อย่างไร้ตำนาน…

Credit: นายแพทย์พยงค์ เวสสบุตร ชมรมข้าราชการบำนาญและอาวุโส กาญจนบุรี
12 ส.ค. 55 เวลา 21:44 10,171 7 160
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...