ความเป็นมาของวันแม่

 

 

 

 

 

ความเป็นมาของวันแม่

 

 

 

ความเป็นมาของวันแม่นั้น กล่าวกันว่า นางแอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูชาวอเมริกันแห่งรัฐฟิลาเดลเฟียก็ใช้ความพยายามร่วมสองปีเพื่อเรียกร้องให้มี “วันแม่” ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยในปีพ.ศ. 2457 ประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือเอาวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็น “วันแม่แห่งชาติ” และใช้ “ดอกคาร์เนชั่น” เป็นสัญลักษณ์วันแม่ โดยมี 2 แบบคือ ถ้าแม่มีชีวิตอยู่ ให้ใช้ดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ใช้ดอกคาร์เนชั่นสีขาว

สำหรับประเทศไทย มีการจัดงานวันแม่ครั้งแรก โดยกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ที่สวนอัมพร แต่เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ต้องงดจัดในปีต่อไป และต่อมาแม้จะมีหลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นจัดขึ้นอีก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมทั้งได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนด “วันแม่” หลายครั้ง

จนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีประกาศรับรองให้วันที่ 15 เมษายนของทุกๆปี เป็น วันแม่ โดยเรียกว่า “วันแม่ของชาติ” และมอบหมายให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้จัดงานเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรก และได้รับความสำเร็จด้วยดี มีประชาชนและหน่วยงานต่างๆให้การสนับสนุนจัดงานกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่นั้นมา และยังมีการประกวดแม่แห่งชาติ และคำขวัญวันแม่ เพื่อให้เกียรติและเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆขึ้นไปด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนใหม่ โดยให้ถือว่าวันที่ 12 สิงหาคม อันเป็น วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็น “วันแม่แห่งชาติ” และกำหนดให้ใช้ “ดอกมะลิ” เป็นดอกไม้สัญลักษณ์วันแม่

การที่ใช้ “ดอกมะลิ” เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
วันแม่แห่งชาติของประเทศต่างๆ เช่น

อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
       
 แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง

อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์)       สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์

อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
 
         แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
 
 
Credit: http://share.psu.ac.th/blog/pan4/17138
11 ส.ค. 55 เวลา 16:25 1,552 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...