138 นักดิ่งพสุธาทั่วโลก ร่วมสร้างสถิติ"ดิ่งเวหา"มากที่สุดในโลก (ชมคลิป)

นักดิ่งพสุธาเกือบ 140 คน ร่วมสร้างสถิติใหม่ในการดิ่งพสุธาหมู่เป็นรูปเกล็ดหิมะ เหนือท้องฟ้ารัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐฯ

 

 

 

 

โดยคณะกรรมการผู้พิจารณาสถิติจากสมาพันธ์กีฬาทางอากาศนานาขาติได้รับรองให้นักดิ่งพสุธาทั้ง138 คน ที่ร่วมดิ่งพสุธาในช่วงเย็นวานนี้ เหนือท้องฟ้าเมืองออตตาวา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครชิคาโก เป็นผู้สร้างสถิติในการดิ่งพสุธามากที่สุดในโลกไปครอง ทำลายสถิติเดิม ซึ่งมีผู้ทำไว้เมื่อปี 2009 ที่ 108 คน หลังจากใช้ความพยายามถึง 15 ครั้ง นานถึง 3 วัน

 

โดยนักดิ่งพสุธามาจากหลากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส สเปน นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ยูเครน รัสเซีย อิตาลี เบลเยี่ยม ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร โดยนายอาห์หมัด ซาเฟรี วัย 40 ปี นักดิ่งรายหนึ่งจากเกาะเรอูว์นียง ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 วัน เพื่อเดินทางมายังสหรัฐฯ

 

รุ๊ค เนลสัน หนึ่งในคณะผู้จัดงานและเจ้าของกลุ่มดิ่งพสุธาสกายไดฟ์ ชิคาโก กล่าวหลังจากการกระโดดว่า ทุกคนรู้สึกดีใจที่สามารถสร้างสถิติใหม่ได้ หลังจากที่ต้องใช้เวลาหลายวัน หลังจากการวางแผนนานหลายเดือน ลองผิดลองถูก และการสรรหาผู้ที่จะยอมเสี่ยงอันตราย

 

การกระโดดครั้งนี้ นักดิ่งพสุธา ลงมาจากเครื่องบิน 6 ลำ ในระดับความสูงประมาณ 5,550 เมตร ซึ่งความสูงดังกล่าวอาจเสี่ยงให้เกิดอันตรายจากโรคการขึ้นที่สูง โดยทุกคนรวมถึงนักบินจะได้รับอ็อกซิเจนระหว่างอยู่บนเครื่องบิน

ทีมงานช่างกล้อง 4 คน จะเป็นผู้ถ่ายทั้งภาพนิ่งและวิดีโอตลอดการดิ่งเวหา พร้อมกับผู้เข้าร่วมทั้ง 138 คน และหากพบว่า นักกระโดทั้งหมดไม่ได้ปรากฏในภาพหลังการจับกลุ่มเป็นรูปทรงคล้ายเกล็ดหิมะแล้ว ก็ถือว่าไม่สามารถทำสถิติได้

 

เนลสันอธิบายถึงหลักการดิ่งพสุธาว่าคือการทิ้งตัวลงในแนวตั้งโดยแรงต้านลมที่น้อยลง ทำให้อัตราความเร็วในการดิ่งอยู่ที่ความเร็วเฉลี่ย 272-288 กม.ต่อชั่วโมง เขากล่าวว่า นักดิ่งพสุธาทุกคนทราบดีแล้วว่าเมื่อใดควรกระโดด ควรตามใคร หรือกระโดดลงไปแล้ว ตนควรจะอยู่ ณ จุดใด และรวมตัวให้ได้ในระดับความสูง 2,100 เมตร ก่อนที่จะแยกตัว และกางร่มออก ซึ่งไม่ควรกระทำในระดับความสูงเดียวกัน เนื่องจากเมื่อร่อนลงสู่พื้นนักดิ่งแต่ละคนจะได้ไม่ชนกันเอง

 

 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...