รู้หรือไม่ ใครเป็นคนตัดผมให้พระมหากษัตริย์

ม.ร.ว. คึกฤิทธิ์ ปราโมช ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “สมบัติไทย" จัดพิมพ์โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี พ.ศ. ๒๕๒๔ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

"กฎเกณฑ์เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์นั้นมีหลายอย่างข้อหนึ่งก็คือ ห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์อย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะและเส้นผม ของพระมหากษัตริย์ ศีรษะของพระมหากษัตริย์เรียกว่า "พระเจ้า" และเส้นผมของพระมหากษัตริย์เรียกว่า “เส้นพระเจ้า” ไม่ใช่เส้นพระเกษา เจ้านายธรรมดานั้นศีรษะเรียกว่า "พระเศียร" ผมเรียกว่า "พระเกษา"

(ในสมัยก่อนเมื่อมีการห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาดเช่นนี้ ความจำเป็นต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น ประการแรก เรื่องความปลอดภัย คนไทยแต่ก่อนเดินทางโดยเรือเป็นส่วนมากพระมหากษัตริย์ก็มักเสด็จโดยเรือพระ ที่นั่ง จึงมีข้อบังคับแน่นอนว่า ในเรือพระที่นั่งนั้นจะต้องมีมะพร้าวห้าวผูกเป็นคู่วางไว้ในทีต่าง ๆ ในเรือพระที่นั่ง เพราะถ้าเรือพระที่นั่งล่มลง คนที่ไปในเรือของพระองค์ก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือพระองค์ได้ ทางที่ดีที่สุดคือโยนมะพร้าวห้าวไปให้ นี่เป็นประเพณีเคร่งครัดเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์หนึ่ง (* หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์) เรือล่มที่เมืองนนทบุรี ไม่มีใครช่วยเพราะกลัวกฎมณเฑียรบาลมีข้าราชการข้าราชสำนักพระองค์หนึ่งยืน ขึ้นบนเรือ และแกว่งดาบประกาศว่า ถ้าใครเข้าไปช่วยหรือแตะต้องพระองค์ก็จะตัดหัวเสีย สมเด็จพระนางเจ้าพระองค์นั้นก็เลยเสด็จสวรรคตในแม่น้ำ)

มีปัญหาว่าพระมหากษัตริย์ตัดผมหรือคำราชาศัพท์ว่า "ทรงเครื่องใหญ่" อย่างไร เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์จำเป็นจะต้องมีคนรับใช้ปรนนิบัติ ในเรื่องที่พระองค์จะทรงเครื่องใหญ่นี้ก็จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการ เกิดขึ้นเป็นกรมกรมหนึ่งเรียกว่า “กรมภูษามาลา” คำว่า “ภูษา” แปลว่า "ผ้า” "มาลา” ในที่นี่ไม่ได้แปลว่า ดอกไม้ แต่แปลว่าเครื่องประดับซึ่งเป็นเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องสวมศีรษะลงมาจนกระทั่งเครื่องสวมอื่น ๆ

เจ้าพนักงานภูษามาลาซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็คงจะได้มาจากผู้ที่มีสกุลสูง คือผู้ที่มีเลือดกษัตริย์ หรือผู้ที่เป็นพราหมณ์ เอามาตั้งเป็นเจ้าพนักงานกรมภูษามาลา เมื่อตั่งแล้วก็สืบตระกูลกันเรื่อยมา อาจจะเรียกได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ มีสิทธิจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ได้ และมีหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์เจ้าพนักงานกรมภูษามาลาปัจจุบันนี้ ก็สืบตระกูลมาจากภูษามาลาสมัยอยุธยาหลายสกุลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุลวัชโรทัยสืบสกุลมาจากพระยาอุทัยธรรม เจ้ากรมภูษามาลาสมัยอยุธยาและเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นข้าราชสำนักอยู่

เรื่องการทรงเครื่องใหญ่ ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้าตามคติของคนโบราณ แล้ว เส้นผมของเทพเจ้านั้นคนโบราณเชื่อว่าเป็นของร้อนอย่างยิ่งเกินที่มนุษย์จะทน ทานได้ ถ้าหากว่าเส้นผมของเทพเจ้านั้นตกลงต้องแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่แล้ว ถ้าแผ่นดินไม่ลุกเป็นไฟ ความแห้งแล้งทั้งหลายจะเกิดขึ้นเป็นภัยแก่ราษฎรในการทรงเครื่องใหญ่จึงต้อง ระมัดระวังอย่างยิ่ง สถานที่ที่จะประทับทรงเครื่องใหญ่นั้นต้องเอาใบตองมาปูเสียก่อน แล้วปูหนังราชสีห์ทับลงไปอีก เหนือหนังราชสีห์ขึ้นมาก็ปูผ้าขาวแล้วจึงตั้งพระเก้าอี้หรือพระแท่นเป็นที่ ประทับสำหรับทรงเครื่องใหญ่

ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของกรมภูษามาลาที่จะดำเนินการ ถ้าโบราณจริงแล้ว ต้องมีพราหมณ์ขับบัณเฑาะว์และอ่านวรรณคดีถวาย เรียกว่า ขับบัณเฑาะว์ เพื่อให้เพลิดเพลินพระราชหฤทัยในรัชกาลนี้ได้สั่งเลิกการขับบัณเฑาะว์ไปแล้ว แต่อย่างอื่นยังต้องรักษาไว้ตามพระราชประเพณี แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่มีอำนาจทรงสั่งเลิก ในเวลาลงมือเปลื้องเส้นพระเจ้า (ตัดผม) และก่อนที่จะใช้เครื่องมืออย่างไร เจ้าพนักงานจะต้องกราบถวายบังคม ๓ ครั้งอย่างคนโบราณ และกราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนว่าจะใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้นว่าใช้กรรไกรก็ต้องกราบบังคมทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าขอพระบรมราชานุญาต ใช้พระแสงกรรบิด เวลาเปลื้องเส้นพระเจ้าต้องเอามือรับ ใส่ผอบรวบรวมไว้มาก ๆ แล้วนำไปลอยในพระมหาสมุทร ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมในพระราชสำนักและหาดูได้ยาก” ม.ร.ว. คึกฤิทธิ์ ปราโมช ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “สมบัติไทย" จัดพิมพ์โดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี วิทยาลัยครูเทพสตรี พ.ศ. ๒๕๒๔ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

"กฎเกณฑ์เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์นั้นมีหลายอย่างข้อหนึ่งก็คือ ห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์อย่างเด็ดขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งศีรษะและเส้นผม ของพระมหากษัตริย์ ศีรษะของพระมหากษัตริย์เรียกว่า "พระเจ้า" และเส้นผมของพระมหากษัตริย์เรียกว่า “เส้นพระเจ้า” ไม่ใช่เส้นพระเกษา เจ้านายธรรมดานั้นศีรษะเรียกว่า "พระเศียร" ผมเรียกว่า "พระเกษา"

(ในสมัยก่อนเมื่อมีการห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาดเช่นนี้ ความจำเป็นต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น ประการแรก เรื่องความปลอดภัย คนไทยแต่ก่อนเดินทางโดยเรือเป็นส่วนมากพระมหากษัตริย์ก็มักเสด็จโดยเรือพระ ที่นั่ง จึงมีข้อบังคับแน่นอนว่า ในเรือพระที่นั่งนั้นจะต้องมีมะพร้าวห้าวผูกเป็นคู่วางไว้ในทีต่าง ๆ ในเรือพระที่นั่ง เพราะถ้าเรือพระที่นั่งล่มลง คนที่ไปในเรือของพระองค์ก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือพระองค์ได้ ทางที่ดีที่สุดคือโยนมะพร้าวห้าวไปให้ นี่เป็นประเพณีเคร่งครัดเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์หนึ่ง (* หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์) เรือล่มที่เมืองนนทบุรี ไม่มีใครช่วยเพราะกลัวกฎมณเฑียรบาลมีข้าราชการข้าราชสำนักพระองค์หนึ่งยืน ขึ้นบนเรือ และแกว่งดาบประกาศว่า ถ้าใครเข้าไปช่วยหรือแตะต้องพระองค์ก็จะตัดหัวเสีย สมเด็จพระนางเจ้าพระองค์นั้นก็เลยเสด็จสวรรคตในแม่น้ำ)

มีปัญหาว่าพระมหากษัตริย์ตัดผมหรือคำราชาศัพท์ว่า "ทรงเครื่องใหญ่" อย่างไร เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์จำเป็นจะต้องมีคนรับใช้ปรนนิบัติ ในเรื่องที่พระองค์จะทรงเครื่องใหญ่นี้ก็จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการ เกิดขึ้นเป็นกรมกรมหนึ่งเรียกว่า “กรมภูษามาลา” คำว่า “ภูษา” แปลว่า "ผ้า” "มาลา” ในที่นี่ไม่ได้แปลว่า ดอกไม้ แต่แปลว่าเครื่องประดับซึ่งเป็นเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องสวมศีรษะลงมาจนกระทั่งเครื่องสวมอื่น ๆ

เจ้าพนักงานภูษามาลาซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็คงจะได้มาจากผู้ที่มีสกุลสูง คือผู้ที่มีเลือดกษัตริย์ หรือผู้ที่เป็นพราหมณ์ เอามาตั้งเป็นเจ้าพนักงานกรมภูษามาลา เมื่อตั่งแล้วก็สืบตระกูลกันเรื่อยมา อาจจะเรียกได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ มีสิทธิจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ได้ และมีหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์เจ้าพนักงานกรมภูษามาลาปัจจุบันนี้ ก็สืบตระกูลมาจากภูษามาลาสมัยอยุธยาหลายสกุลอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุลวัชโรทัยสืบสกุลมาจากพระยาอุทัยธรรม เจ้ากรมภูษามาลาสมัยอยุธยาและเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นข้าราชสำนักอยู่

เรื่องการทรงเครื่องใหญ่ ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะนอกจากพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้าตามคติของคนโบราณ แล้ว เส้นผมของเทพเจ้านั้นคนโบราณเชื่อว่าเป็นของร้อนอย่างยิ่งเกินที่มนุษย์จะทน ทานได้ ถ้าหากว่าเส้นผมของเทพเจ้านั้นตกลงต้องแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่แล้ว ถ้าแผ่นดินไม่ลุกเป็นไฟ ความแห้งแล้งทั้งหลายจะเกิดขึ้นเป็นภัยแก่ราษฎรในการทรงเครื่องใหญ่จึงต้อง ระมัดระวังอย่างยิ่ง สถานที่ที่จะประทับทรงเครื่องใหญ่นั้นต้องเอาใบตองมาปูเสียก่อน แล้วปูหนังราชสีห์ทับลงไปอีก เหนือหนังราชสีห์ขึ้นมาก็ปูผ้าขาวแล้วจึงตั้งพระเก้าอี้หรือพระแท่นเป็นที่ ประทับสำหรับทรงเครื่องใหญ่

ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของกรมภูษามาลาที่จะดำเนินการ ถ้าโบราณจริงแล้ว ต้องมีพราหมณ์ขับบัณเฑาะว์และอ่านวรรณคดีถวาย เรียกว่า ขับบัณเฑาะว์ เพื่อให้เพลิดเพลินพระราชหฤทัยในรัชกาลนี้ได้สั่งเลิกการขับบัณเฑาะว์ไปแล้ว แต่อย่างอื่นยังต้องรักษาไว้ตามพระราชประเพณี แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ไม่มีอำนาจทรงสั่งเลิก ในเวลาลงมือเปลื้องเส้นพระเจ้า (ตัดผม) และก่อนที่จะใช้เครื่องมืออย่างไร เจ้าพนักงานจะต้องกราบถวายบังคม ๓ ครั้งอย่างคนโบราณ และกราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนว่าจะใช้เครื่องมืออะไร เป็นต้นว่าใช้กรรไกรก็ต้องกราบบังคมทูลว่าข้าพระพุทธเจ้าขอพระบรมราชานุญาต ใช้พระแสงกรรบิด เวลาเปลื้องเส้นพระเจ้าต้องเอามือรับ ใส่ผอบรวบรวมไว้มาก ๆ แล้วนำไปลอยในพระมหาสมุทร ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมในพระราชสำนักและหาดูได้ยาก”

Credit: dekdk.com
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...