นักวิจัยใช้เซลล์หัวใจหนูและซิลิโคนสร้าง “แมงกะพรุน” เลียนแบบที่รู้วิธีว่ายน้ำ เป้าหมายเพื่อสร้างแบบจำลองสำหรับศึกษากายวิภาคของหัวใจ เพราะกลไกปั๊มภายในตัวแมงกะพรุนคล้ายคลึงกับหัวใจมนุษย์
แมงกะพรุนที่ถูกสร้างขึ้นมาเลียนแบบตัวจริงในธรรมชาตินี้ชื่อว่า “เมดูซอยด์” (Medusoid) ซึ่งตั้งชื่อและสร้างขึ้นโดย เควิน คิท ปาร์เกอร์ (Kevin Kit Parker) นักเทคโนโลยีชีวภาพจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ไลฟ์ไซน์ระบุว่าเขาเห็นลักษณะปั๊มชีวภาพในแมงกะพรุนที่คล้ายกับกัวใจมนุษย์ ทำให้เป็นแบบจำลองที่ดีที่จะใช้ศึกษากายวิภาคด้านหัวใจ
หลังจากเห็นแมงกะพรุนขับเคลื่อนตัวเองด้วยกระบวนการปั๊มภายในพิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำเมื่อปี 2007 ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้ปาร์กเกอร์ได้พบแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่เขา ยังไม่เข้าใจดีนัก และเขาเชื่อวาจะสร้างกลไกเช่นนี้ขึ้นมาได้ โดยสิ่งที่เขาใช้คือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหนูและฟิล์มบางของซิลิโคน
ด้วยความร่วมมือจากนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) ปาร์เกอร์และทีมได้ใช้หลักวิศวกรรมทางชีวภาพตัดแต่งเซลล์และซิลิโคนออกมาใน รูปแบบที่เลียนแบบโครงสร้างของแมงกะพรุนจริง จากนั้นนำไปใส่ในถังที่มีของเหลวนำไฟฟ้าและกระตุ้นโครงสร้างดังกล่าวด้วย กระแสไฟฟ้า
ผลที่ได้คือได้สิ่งที่ว่ายน้ำได้และเต้นเป็นจังหวะไม่ต่างจากแมงกะพรุน จริงๆ เพียงแต่ไม่สามารถกินหรือสืบพันธุ์ได้เท่านั้น ซึ่งปาร์เกอร์กล่าวว่าแมงกะพรุนประดิษฐ์นี้สามารถแก้หลายๆ ปัญหาของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ เช่น เรียนรู้จากแมงกะพรุนนี้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและวิธีการว่ายน้ำของแมงกะพรุน เปรียบเทียบกระบวนการปั๊มของเมดูซอยด์กับหัวใจ ใช้เป็นบทเรียนในการออกแบบและควบคุมคุณภาพสำหรับการทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อ เป็นต้น
ส่วนตัวปาร์เกอร์เองสนใจที่จะใช้เมดูซอยด์เพื่อการพัฒนายาสำหรับรักษาโรค หัวใจ และเป็นอีกก้าวสำหรับการออกแบบหัวใจเทียม และเขายังวางแผนทำอะไรที่ใหญ่กว่านั้น โดยบอกว่าอีก 2 ปีข้างหน้าเขาจะเลือกสัตว์อื่นที่มีกายวิภาคและกลไกที่ซับซ้อนกว่า เพื่อสร้างขึ้นเช่นเดียวกันนี้ ส่วนงานวิจัยล่าสุดนี้เขาได้ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ไบโอเทคโนโลยี (Nature Biotechnology)
แมงกะพรุนที่ถูกสร้างขึ้นมาเลียนแบบตัวจริงในธรรมชาตินี้ชื่อว่า “เมดูซอยด์” (Medusoid) ซึ่งตั้งชื่อและสร้างขึ้นโดย เควิน คิท ปาร์เกอร์ (Kevin Kit Parker) นักเทคโนโลยีชีวภาพจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ไลฟ์ไซน์ระบุว่าเขาเห็นลักษณะปั๊มชีวภาพในแมงกะพรุนที่คล้ายกับกัวใจมนุษย์ ทำให้เป็นแบบจำลองที่ดีที่จะใช้ศึกษากายวิภาคด้านหัวใจ
หลังจากเห็นแมงกะพรุนขับเคลื่อนตัวเองด้วยกระบวนการปั๊มภายในพิพิธภัณฑ์ สัตว์น้ำเมื่อปี 2007 ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้ปาร์กเกอร์ได้พบแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่เขา ยังไม่เข้าใจดีนัก และเขาเชื่อวาจะสร้างกลไกเช่นนี้ขึ้นมาได้ โดยสิ่งที่เขาใช้คือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหนูและฟิล์มบางของซิลิโคน
ด้วยความร่วมมือจากนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology) ปาร์เกอร์และทีมได้ใช้หลักวิศวกรรมทางชีวภาพตัดแต่งเซลล์และซิลิโคนออกมาใน รูปแบบที่เลียนแบบโครงสร้างของแมงกะพรุนจริง จากนั้นนำไปใส่ในถังที่มีของเหลวนำไฟฟ้าและกระตุ้นโครงสร้างดังกล่าวด้วย กระแสไฟฟ้า
ผลที่ได้คือได้สิ่งที่ว่ายน้ำได้และเต้นเป็นจังหวะไม่ต่างจากแมงกะพรุน จริงๆ เพียงแต่ไม่สามารถกินหรือสืบพันธุ์ได้เท่านั้น ซึ่งปาร์เกอร์กล่าวว่าแมงกะพรุนประดิษฐ์นี้สามารถแก้หลายๆ ปัญหาของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ เช่น เรียนรู้จากแมงกะพรุนนี้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและวิธีการว่ายน้ำของแมงกะพรุน เปรียบเทียบกระบวนการปั๊มของเมดูซอยด์กับหัวใจ ใช้เป็นบทเรียนในการออกแบบและควบคุมคุณภาพสำหรับการทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อ เป็นต้น
ส่วนตัวปาร์เกอร์เองสนใจที่จะใช้เมดูซอยด์เพื่อการพัฒนายาสำหรับรักษาโรค หัวใจ และเป็นอีกก้าวสำหรับการออกแบบหัวใจเทียม และเขายังวางแผนทำอะไรที่ใหญ่กว่านั้น โดยบอกว่าอีก 2 ปีข้างหน้าเขาจะเลือกสัตว์อื่นที่มีกายวิภาคและกลไกที่ซับซ้อนกว่า เพื่อสร้างขึ้นเช่นเดียวกันนี้ ส่วนงานวิจัยล่าสุดนี้เขาได้ตีพิมพ์ลงวารสารเนเจอร์ไบโอเทคโนโลยี (Nature Biotechnology)