เมื่อกล่าวถึงศิลปะการแสดงของภาคใต้ หลายคนคงนึกถึงมโนราห์ หรือโนรา มโนราห์หรือดนราแท้จริงนั้นคืออะไร ? จากจุดแห่งความสงสัยนี้ ผมคิดว่าหลายๆคนคงคิดว่าแท้จริงมโนราห์นั้นคงมาจากนิทานเรื่อง พระสุธน-มโนราห์
ซึ่งหากจะพูดว่าถูกก็คงจะไม่ทั้งหมด เพราะ นิทานเรื่องพระสุธน มโนราห์นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงในพิธีโนราโรงครูเท่านั้น แต่หาใช่สาระสำคัยของโนราไม่?
แล้วมโนราห์ หรือโนรานั้นมีที่มาอย่างไร ???
มโนราห์ในภาคใต้นั้นเชื่อกันว่าเกิดขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ในพุทธศตวรรษที่ 19 โดยเป็นการรำเอาศิลปะการแสดงแบบอย่างอินเดียมาประยุกต์แต่งเติมเสียใหม่ ในตอนแรกนั้นมโนราห์ จะถูกเรียกว่า 'ชาตรี" ซึ่งออกเสียงตรงกับการเรียกการแสดงชนิดหนึ่งในอินเดีย เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงในยุคแรกก็คือเรื่องพระรถ-เมรี ต่อมาก็แสดงเรื่องพระสุธน-มโนราห์ เพราะทั้งสองเรื่องนี้เป็นนิทานในศาสนาพุทธ ที่ครั้งหนึ่ง มีภิกษุออกบิณฑบาตรแล้วเกิดมีจิตหลงรักในหญิงนางหนึ่งเป็นแรงกล้า บรรดาภิกษุทั้งหลายจึงนำความมากราบทูลพระพุทะเจ้า พระพุทธเจ้าเลยทรงเล่าเรื่องแต่หนหลังไปตามเนื้อเรื่องพระรถ-เมรี ซึ่งครั้งที่นางเมรีตายนั้นได้ สาปไว้ว่าชาติหน้าให้พระรถตามหานางบ้าง จะได้รู้รสของความโหยหาว่ามันปวดร้าวเพียงไหน และเมื่อเกิดชาติใหม่ พระรถไปเกิดเป็นพระสุธน นางมรีไปเกิดเป็นนางมโนราห์ และในเนื้อเรื่องมีการออกตามหานางมโนราห์ตามที่ นางเมรีในชาติก่อนเคยสาปไว้จริง
แต่เมื่อเวลาผ่านไป มโนราห์ก็เริ่มเป็นแบบแผนมากขึ้น จึงมีการทำพิธีไหว้ครู ตามอย่างวิชานาฏยศาสตร์ เช่นเดียวกับการไหว้ครูโขน-ละคอน
ตามตำนานการกำเนิดมโนราห์ในภาคใต้นั้น มีหลายกระแส ตามแต่จะเลือกฟัง แต่สามารถสรุปสาระสำคัญได้ว่า ในยุคนั้นที่ภาคใต้เป็นประเทศเอกราชมีอาณาจักรศรีวิชัยที่กินเนื้อที่ ตั้งแต่ภาคใต้ไปจนถึงหมู่เกาะชวา ในยุคนั้นที่รอบๆลุ่มทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุงในปัจจุบัน มีเมืองๆหนึ่งที่มีพระยาสายฟ้าฟาดเป็นเจ้าเมือง มีแม่ศรีมาลาเป็นมเหสี ในครั้งนั้นเมืองนี้มีธิดานางหนึ่งชื่อว่า นางนวลทองสำลี คืนหนึ่งนางนวลทองสำลีทรงสุบินไปว่ามีนางเทพะิดามาร่ายรำให้ชม เป็นท่ารำ 12 ท่า นางตื่นมาจึงเรียกนางสนมกรมชาววังมาปรึกษา และหัดรำกันอย่างครื้นเครง จนวันหนึ่งนางกินเกษรดอกบัวในสระ แล้วเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา แต่บางตำนานเชื่อว่านางได้สมสู่กับพวกนักรำละครด้วยกัน คือพระม่วงทอง แล้วเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ความทราบถึงพระยาสายฟ้าฟาด ทรงพิโรธ จงจับนางนวลทองสำลีไปลอยแพ
นางนวลทองสำลีพร้อมพวกสนมกรมชาววัง ถูกจับลอยแพไปตามสายน้ำในทะเลสาบสงขลา แพของนางลอยไปติดเกาะกะชัง (ซึ่งในปัจจุบันเรียกเกาะสีชัง เป็นเกาะหนึ่งในเขตจังหวัดสงขลา) นางได้อาศัยอยุ่ที่นั้นภายใต้การอารักษ์ของเหล่าเทวดาและนางสนมกรมชาววัง จนกำหนดครบวันคลอดบุตร นางนวลทองสำลี หรือภายหลังที่ถูกลอยแพ เปลี่ยนชื่อเป็นนางศรีคงคานั้น ได้ให้กำเนิดบุตรชาย ขึ้นมา นางสอนให้บุตรชายหัดรำมโนราห์ จนชำนาญ จนเวลาผ่านไปบุตรชายถามถึงที่มาว่า พงษ์พันธุ์ของเขาคือใคร นางศรีคงคาผู้มารดาเลยเล่าให้ฟัง พระกุมารจึงอาสาขอกลับไปหาพระเจ้าตาคือพระยาสายฟ้าฟาด โดยอาสัยเรือของพ่อค้าไป
เมือ่ถึงเขตเมือง พระกุมารเที่ยวร่ายรำเร่ร่อนไปเรื่อย จนความทราบถึงพระยาสายฟ้าฟาด ว่ามีการละคอน มาแสดงอยุ่หน้าเมือง จึงเรียกพระกุมารนั้นเข้าไปในเมือง และให้รำถวายเฉพาะพระพักตร์ กุมารร่ายรำไปตามกระบวนรำ 12 ท่าครู พระยาสายฟ้าฟาดยิ่งมองก็ยิ่งหลงรัก จึงถามว่า เป็นลุกใคร ? แล้วพระกุมารก็เล่าให้ฟังความแต่หนหลัง พระยาสายฟ้าฟาดเมือ่เห็นหลานรักก็หายพิโรธ และทรงสถาปนาพระกุมารขึ้นเป็น "พ่อขุนศรีศรัทธา" บรมครูโนราผู้ยิ่งใหญ่ที่นับถือสอบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ในครั้งนั้นพระยาสายฟ้าฟาดทรงมอบเครื่องต้น อันเป็นอาภรณืแห่งกษัตริย์ขัติตยาราชให้ด้วย อันได้แก่
1.เทริด คือเครื่องสวมศรีษะทรงสูง
2.ทับทรวง
3.ประจำยาม
4.ปีกนกแอ่น(ใช้ร้อยเข้ากับสร้อยสังวาลย์)
5.ปั้นเหน่ง
6.กำไลต้นแขนและปลายแขนอย่างละคู่
จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมการแต่งกายของมโนราห์ในภาคใต้นั้นจึงแต่งตัวอย่าง กษัตริย์ เพราะตามตำนานการถือกำเนิดขึ้นของการแสดงนี้ ได้แบบอย่างมาจากเชื้อพระเชื้อเจ้าในรั้วในวัง ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงชั้นสุงที่แตกต่างจากการแสดงขั้นอื่นๆ ของไทย ที่ถือกำเนิดขึ้นจากสามัญชน นั้นเอง
ภาพตัวอย่างวิถีของโนรา ภาคใต้
โนราโบราณ ที่ยังสวมชุดแบบ โบราณ
โนราในยุคต่อมา เมื่อมีการนิยมสวมเครื่องทรงที่ทำจากลุกปัด (ภาพประมาณ 30- 40ปีที่แล้ว)
ลักษณะของการวางเครื่องบวงสรวงในพิธีโนราโรงครู (การไหว้ครูมโนราห์)
การแสดง พราน คืออีกหนึ่งองค์ประกอบของการแสดงโนรา
พระยาสายฟ้าฟาด ขณะที่กำลังประทับทรง ในพิธีโนราโรงครู
รูปปั้นพ่อขุนศรีศรัทธา หรือพ่อขุนศรัทธา วัดท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองเดิมของมโนราห์ในภาคใต้
การร่ารำตัวอ่อน อันเป็นเอกลักษณ์ของโนรา