ภาษาสก๊อย! ระบาดหนัก ความวิบัติทางภาษาบังเกิด

ภาษาไทยวิบัติหนัก ลามทั่วโลกออนไลน์ เตือนเด็กๆ ดูไว้เป็นเยี่ยง แต่อย่าเอาอย่าง…

 

บนโลกออนไลน์ หรือโซเชียลเน็ทเวิร์ค เป็นสถานที่ที่สามารถพบปะพูดคุย แชร์ หรือแบ่งปันข่าวสารกันได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้คนไม่น้อยต่างหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘เฟซบุ๊ก’ สังคมออนไลน์อันดับต้นๆที่ทั่วโลกต่างให้การยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย

 

หน้าแฟนเพจของ https://www.facebook.com/sowhateiei ซึ่งเป็นการนำเสนอภาษาสก๊อยที่เป็นการเขียนภาษาไทยเหมือนกับมีการกดยก แป้น(Shift) แล้วพิมพ์ข้อความ ซึ่งทำให้ไม่สามารถอ่านได้เลย กลับกลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกพูดถึงอย่างมากบนสังคมออนไลน์ในขณะนี้ และถูกมองจากนักวิชาการและผู้มีความเชี่ยวชาญทางภาษาว่าเหมาะสมหรือไม่ และจะทำให้เด็กสมัยใหม่มีความเข้าใจทางภาษาที่สับสนไป ซึ่งล่าสุดมีผู้เข้าไปเป็นแฟนเพจกว่า 17,000 คนแล้ว

 

ตัวอย่างข้อความเป็นเช่นนี้

 

"มริ๊พริ๊ค๊ลธิ๊น่รั๊ขมั๊ฆๆๆๆ ธั๊มม๊หั๊ญอ๊ค๊ ข่บคุ๊นมั๊ฆๆๆๆๆ นุ๊วรั๊ฆพริ๊ธิ๊สุ๊จ"

"ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย"


เมื่อพูดถึงเฟซบุ๊กแล้ว หลายคนคงรู้จักและใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว แต่เจ้าสังคมออนไลน์นี้เองไม่ใช่เพียงแต่ส่งผลดีเท่านั้น หากสังเกตดีๆก็จะพบว่า วัยรุ่นไทยสมัยนี้ มักใช้ภาษาทั้งการพูดและเขียนที่ค่อนข้างเพี้ยนไปจากเดิมมากหรืออาจเรียกได้ ว่า ‘ภาษาวิบัติ’ การที่ประชากรไทยจำนวนไม่น้อยใช้ภาษาไทยในการพูดและเขียนเพี้ยนไปจากเดิมก็ เพราะว่าต้องการให้เขียนสั้น อ่านง่าย แถมสะดวกและรวดเร็ว


แต่ก็มีกลุ่มที่คุยกันด้วยภาษาสก๊อยในเฟบุ๊ก ที่ใช้ชื่อเฉพาะตัวว่า ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย (น่าจะอ่านว่า “สมาคมนิยมสก๊อย) อ่านแล้วอาจยังไม่เข้าใจ ซึ่งกลุ่มนี้ได้ใช้ภาษาเฉพาะของกลุ่ม อ่านเข้าใจกันในหมู่สก๊อย ซึ่งขณะนี้มีคนที่เข้ามาสนใจกดไลค์แล้วมากถึง 21,446 คน

 

ทีมข่าวลองพยายามแปลภาษาจากรูปภาพปกในเพจ ใจความว่า ‘ยินดีต้อนรับพี่ๆ ทุกคนนะคะ’ (แปลเฉพาะบรรทัดแรก) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทีมข่าวก็ยังไม่แน่ใจว่าแปลถูกต้องหรือไม่

นอกจากนี้แล้ว การนำเสนอของเพจนี้ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นสเตตัสหรือการโพสรูปภาพ ก็จะใช้ภาษาสก๊อยด้วยเช่นกัน

 

ทั้งนี้จากการสำรวจก็พบว่าหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นในเพจเอง หรือตามบอร์ดต่างๆ ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักหน่วงถึงการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมและส่งผลให้ภาษาไทยวิบัติอีกทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยการอ่าน การเขียนแบบผิดๆด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามข้อมูลไปยัง ราชบัณฑิตยสถาน เพื่อขอความคิดเห็นจากทางราชบัณฑิต เบื้องต้นได้รับแจ้งจากฝ่ายประสานงานว่า กรณีดังกล่าว ทางราชบัณฑิต ได้รับทราบข้อมูลแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการประมวลข้อมูล และวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการใช้ภาษา ตลอดจนพฤติกรรมการสื่อสารดังกล่าว โดยเตรียมจะเปิดเผยข้อมูลได้ก่อนถึงวันภาษาไทยแห่งชาติ ที่จะมาถึงในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้

 

ที่มาของข่าว : sanook.com

 

Credit: http://www.e-magazine.info/site/2012/07/
1 ส.ค. 55 เวลา 03:30 3,586 8 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...