กูเกิ้ลให้ใช้ลายมือแทนพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ด

 

 

 

 

 

กูเกิ้ลให้ใช้ลายมือแทนพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ด

 

 

 
 
แม้กูเกิ้ล (Google) บนอุปกรณ์โมบาย (ไอโฟน ไอแพด สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต แอนดรอยด์) จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถป้อนคำค้น (keywords) ด้วยการพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ด หรือสั่งค้นด้วยเสียง (voice search) ได้แล้ว ล่าสุดทางบริษัทได้เพิ่มความง่ายในการป้อนคีย์เวิร์ดที่ใช้ในการค้นให้ง่าย ขึ้นไปอีกด้วยการเพิ่มฟังก์ชัน Handwrite หรือการใช้นิ้ว หรือสไตลัส "เขียนคำค้นด้วยลายมือ" ได้อีกทางหนึ่ง...ว้าว!!!

ผู้ใช้ Google บนอุปกรณ์โมบายจะได้รับความสะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น เพราะเพียงแค่แตะปุ่มคำสั่งใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถป้อนคำค้นด้วย การเขียนด้วย "ลายมือ" ของตนเอง (ใช้สไตลัส หรือนิ้วก็ได้) แทนการพิมพ์ หรือสั่งด้วยเสียง  ข้อมูลจากบล็อกของ กูเกิ้ลระบุว่า การที่ผู้ใช้สามารถเขียนคำค้นที่ต้องการบนบริเวณไหนบนหน้าจอก็ได้เป็นเรื่อง ที่เยี่ยมมาก เนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่ให้คีย์บอร์ดขึ้นมากินพื้นที่บนหน้าจอถึงครึ่ง หนึ่ง และไม่ต้องคอยมองหาปุ่มที่ต้องการพิมพ์ อีกทั้งยังสะดวกกว่าการพิมพ์ในเวลาที่อยู่ในสถานที่ไม่เอื้ออำนวยให้พิมพ์ ได้โดยง่าย แต่ด้วย Handwrite คุณสามารถใช้นิ้วเขียนคำค้นด้วยลายมือของคุณขึ้นไปบนหน้าจอได้เต็มๆ ช่าง สะดวกง่ายดายจริงๆ
 

Handwrite มีความฉลาดในการแยกตัวอักษรจากคำที่เขียนในแบบตัวอักษรลากต่อเนื่องกันไป เพื่อวิเคราะห์ว่ามันหมายถึงคำว่าอะไรได้อีกด้วย แทนทีผู้ใช้จะต้องยกมือเขียนทีละตัวอักษร อย่างไรก็ตาม Handwrite คงไม่สามารถเข้ามาแทนที่การป้อนคำค้นด้วยคีย์บอร์ด หรือเสียง และมันคงไม่เหมาะกับทุกคน แต่มันเป็นลูกเล่นที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้น เพราะคุณยังต้องแตะปุ่ม เพื่อวรรค และลบอยู่ดี สำหรับคุณผู้อ่านเว็บไซต์ arip ที่สนใจอยากลองใช้ฟีเจอร์นี้ ให้ใช้อุปกรณ์โมบายเปิดบราวเซอร์แล้วคลิกเข้าไปที่ Google.com จากนั้นแตะปุ่ม Settings ที่ด้านล่าง เลือก Handwrite คลิก Save ที่ด้านล่างของหน้าเว็บ เพียงแค่นี้ก็สามารถใช้ฟังก์ชัน Handwrite ได้แล้ว เวลาใช้ให้แตะที่ตัวอักษร g ที่มุมล่างขวา ลองใช้ดูนะครับ อ้อ...เกือบลืมไป สำหรับสมาร์ทโฟนที่จะใช้ฟังก์ชันนี้ได้ต้องทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ iOS 5 หรือ Android 2.3 ขึ้นไป ส่วนแท็บเล็ตจะต้องเป็น iOS 5 หรือ Android 4.0 ICS

 

Credit: http://www.arip.co.th/news.php?id=415391
29 ก.ค. 55 เวลา 15:09 1,374 2 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...