13 เลขนี้ มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้
โดย ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเรียนหรือทำอะไร ตัวเลขก็ล้วนมีเอี่ยว หรือมายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนเราเสมอ และในทางกลับกัน ตัวเลขบางตัวอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นด้วยซ้ำ เช่น ตัวเลขเพิ่มขึ้นของเงินเดือนหรือโบนัส ตัวเลขในบัญชีรายรับ ตัวเลขมูลค่าเพิ่มของหุ้นที่เราซื้อ ฯลฯ ยกเว้น ตัวเลข[คำไม่พึงประสงค์]กเบี้ยเงินกู้ ที่งามโดยไม่ต้องรดน้ำ หรือตัวเลขยอดหนี้ที่ยังไม่จ่าย ส่วนตัวเลขที่น่ารังเกียจอีกตัว คือ ตัวเลขอายุที่เพิ่มขึ้นของสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
นอก เหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมี “ตัวเลข” ที่เกี่ยวพันกับความเชื่อต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศอีกหลายตัว เช่น คนไทยถือว่า เลข 9 เป็นเลขมงคล เพราะออกเสียงว่า “เก้า” ที่พ้องกับคำว่า “ก้าว” อันหมายถึง ความเจริญก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ ในปัจจุบัน เราจึงเห็นคนไทยจำนวนไม่น้อย ไปทัวร์ไหว้พระ 9 วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล จนได้กลายมาเป็นการ “ทำบุญ” อีกรูปแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
สำหรับฝรั่ง เขาจะถือว่า เลข 13 เป็นเลขอาถรรพ์ หรือเลขอัปมงคล หรือเรียกกันว่า ลัคกี้นัมเบอร์ (Lucky number) สาเหตุมาจากอาหารมื้อสุดท้าย ของพระเยซูคริสต์ ที่เรียกกันว่า เ[คำไม่พึงประสงค์]ะลาสซับเปอร์ (The Last Supper) นั้น มีสาวกร่วมโต๊ะพร้อมกับพระองค์ นับรวมแล้วได้ 13 คนพอดี ครั้นวันรุ่งขึ้นซึ่งตรงกับวันศุกร์ พระองค์ก็ถูกจับตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เขาจึงถือว่าวันศุกร์ที่ตรงกับวันที่ 13 เป็นวันโชคร้าย
แม้ว่า เลข 13 จะเป็นเลขอาถรรพ์ของฝรั่ง แต่คนไทยโดยทั่วไป ไม่ได้ถือกับตัวเลขดังกล่าว และที่น่าสนใจคือ มี เลข 13 ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับคนไทย ซึ่งเชื่อว่า คงมีคนอีกไม่น้อยไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ เลขประจำตัวประชาชนในบัตรประชาชน หรือที่เดี๋ยวนี้เรียก สมาร์ทการ์ด ที่มีด้วยกัน 13 หลัก และแต่ละหลักก็มิใช่แค่เป็นเพียงจำนวนนับธรรมดาๆ แต่มีความหมายแฝงอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ขอนำมาเสนอเพื่อเป็นความรู้ ดังนี้
สมมุติว่า เลขบัตรประชาชนของเราเขียนไว้ว่า 1 1001 01245 29 9 (เขียนเว้นวรรค ตามแบบ) แต่ละหลักก็จะมีความหมายดังนี้
หลักที่ 1 (คือหมายเลข 1 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภทได้แก่
ประเภท ที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคน ต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอ หรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วันนับแต่เกิดมา ตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เช่น เด็กหญิงส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 และพ่อไปแจ้งเกิดที่เขตดุสิตภายในวันที่ 17 มกราคม 2527 เด็กหญิงส้มจี๊ด ก็จะมีหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 1 และก็ต่อด้วยเลขหลักอื่นๆ อีก 12 ตัว เป็น 1 1001 01245 29 9 เป็นต้น ซึ่งเลขนี้จะปรากฏในทะเบียนบ้าน และจะเป็นเลขประจำตัว เมื่อส้มจี๊ดไปทำบัตรประชาชนตอนอายุ 15 ปี
ประเภท ที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วบังเอิญว่าพ่อแม่ผู้ปกครองลืมหรือติดธุระ ทำให้ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกฎหมายกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลัง เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 และจะมีเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2 ทันที เช่น ในกรณีส้มจี๊ด หากพ่อไปแจ้งเกิดให้ ในวันที่ 18 มกราคม 2527 หรือเกินกว่านั้น ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวเป็น 2 1001 01245 29 9 ในทะเบียนบ้าน และเมื่อไปทำบัตรประชาชนในภายหน้า
ประเภทที่ 3 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย มาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3 เช่น ส้มจี๊ด เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2501 และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้ว ส้มจี๊ดก็จะมีเลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน และบัตรประชาชนเป็น 3 1001 01245 29 9
ประเภทที่ 4 คือ คนไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัว ก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่น ก่อนช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในสำนักทะเบียนเขตคลองสาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2527 ส้มจี๊ดก็ขอย้ายบ้านไปเขตดุสิต โดยที่ส้มจี๊ดยังไม่ทันได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสาน พอแจ้งย้ายเข้าเขตดุสิต ส้มจี๊ดก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 4 มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วย 4 กลายเป็น 4 1001 01245 29 9 ทันที แต่ถ้าส้มจี๊ดย้ายจากเขตคลองสานเดิม ไปเขตดุสิต หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 ส้มจี๊ดก็ยังเป็นบุคคลประเภท 3 อยู่ เพราะถือว่าจะได้เลขประจำตัวจากเขตคลองสานแล้ว จะย้ายอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนแปลง
การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลข ประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 อันเป็นวันสุดท้าย ของการดำเนินการให้ประชาชน ที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือทะเบียนบ้าน ได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น ช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 แล้ว ทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวเพื่อสำแดงตนว่า เป็นบุคคลประเภทใด โดยดูตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี ซึ่งมีอีก 4 ประเภท คือ
ประเภท ที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อ เข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ เช่น ส้มจี๊ดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตดุสิตอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าตอนที่มีการสำรวจรายชื่อผู้อยู่ในบ้าน เกิดความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ชื่อของส้มจี๊ดหายไปจากทะเบียนบ้าน เมื่อไปแจ้งเจ้าหน้าที่และตรวจสอบแล้วว่าตกสำรวจจริง หรือจะเป็นเพราะกรณีอื่นใดก็ตาม เจ้าหน้าที่ก็จะเพิ่มชื่อให้ แต่ส้มจี๊ดก็จะมีหมายเลขในทะเบียนบ้านเป็นบุคคลประเภท 5 และบัตรประชาชนจะขึ้นต้นด้วยเลข 5 ทันที คือ กลายเป็น 5 1001 01245 29 9
ประเภท ที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะทางการยังไม่รับรองทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดน หรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทย จึงไปขอทำทะเบียนประวัติ เพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่า ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6 เลขประจำตัวในบัตรจะขึ้นต้นด้วยเลข 6 เช่น 6 1012 23458 12
ประเภท ที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7 เช่น 7 1012 2345 133
ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย ตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน คนกลุ่มนี้เลขในทะเบียนประวัติจะขึ้นด้วยเลข 8 เช่น 8 1018 01234 24 7
คนทั้ง 8 ประเภทนี้ จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้น ที่จะมีบัตรประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประชาชนได้ ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประชาชนให้
ต่อ ไปคือ หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 (เลข 1001 ในตัวอย่างหรือสี่ตัวถัดไปจากตัวแรก) จะหมายถึง รหัสของสำนักทะเบียน หรืออำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข ซึ่งก็หมายถึงถิ่นที่อยู่ของเรานั่นเอง กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ เช่น ถ้าเขียนว่า 1001 ก็หมายถึงว่า คุณอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ในเขตดุสิต เพราะ 10๐ ในหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงกรุงเทพมหานคร ส่วนเลข 01 ในหลักที่ 4 และ 5 คือรหัสของสำนักทะเบียนเขตดุสิต หรือถ้าเขียนว่า 1101 ก็จะหมายถึง อยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมือง เพราะ 11 แรกคือ รหัสจังหวัดสมุทรปราการ และ 01 หลัง คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นต้น
สำหรับ หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 (เลข 01245 ในตัวอย่าง) จะหมายถึง กลุ่มที่ของบุคคลแต่ละประเภท ตามหลักแรก (หลักที่ 1) ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่ง ก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับ หรือหากเป็นเด็กเกิดใหม่ในปัจจุบัน เลขดังกล่าวก็จะหมายถึง เล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะไปปรากฎในบัตรประชาชน เมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเอง แต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์เลขนี้ ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น
หลัก ที่ 11 และ 12 (หมายเลข 29 ในตัวอย่างสมมุติ) จะหมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท เป็นการจัดลำดับว่าเราเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ
หลักที่ 13 (เลข 9 ตัวสุดท้ายในตัวอย่าง) จะหมายถึง ตัวเลขสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 หลักแรกอีกที
สำหรับ เลขตั้งแต่หลักที่ 6 ถึง 13 นี้เป็นการจัดหมวดหมู่ และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ละท้องที่ ซึ่งเราก็คงไม่ต้องรู้รายละเอีย[คำไม่พึงประสงค์]ะไรลึกไปกว่านี้ เพราะรู้แล้วอาจจะงงเปล่าๆ
เป็นเรื่องน่าแปลกว่า ตัวเลข 13 หลักที่เป็นหมายเลขในบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวประชาชนของเราแต่ละคนนี้ จะไม่มีการซ้ำกันเลย ผิดกับชื่อหรือนามสกุล ยังมีซ้ำกันได้ และจะเป็นเลขประจำตัวเราจนตาย ไม่มีการเปลี่ยน หรือยกให้คนอื่น และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ในอนาคตจะต้องมีการเติมเลข อย่างเลข 8 เข้าไปอีก เพราะเลขไม่พอใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือหรือไม่ เขาก็บอกว่าคงอีกนาน อาจจะถึง 100 ปีโน่น เพราะการที่เขาแยกแยะบุคคลเป็นประเภทต่างๆ และยังแยกย่อยเป็นจังหวั[คำไม่พึงประสงค์]ำเภอ แล้วลงรายละเอียดไปเป็นกลุ่มๆในแต่ละประเภทอีกนั้น ทำให้เพดานหรือช่วงตัวเลขมีความห่างมาก จนสามารถรองรับจำนวนคนได้อีกมาก และหากใครสงสัย หรือมีปัญหาในเรื่องทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส บัตรประชาชน ก็สามารถสอบถามไปได้ที่ สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร. 1548
ตัว เลข 13 หลักที่กล่าวข้างต้น เป็นเลขประจำตัวประชาชนของแต่ละคนนี้ แม้จะมิใช่ตัวเลขที่เราต้องใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ยกเว้นใช้ในการกรอกเอกสารบางอย่าง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร ฯลฯ แต่เลขนี้ก็มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสำแดงตัวตน “ความเป็นคนไทยหรือคนในประเทศไทย” ที่ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทย และใช้สิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้