หลักฐานการทำศพที่ดึกดำบรรพ์ ที่สุดของโลกเห็นจะได้แก่ สุสานของมนุษย์ นีนเดอร์ธาล(Neanderthal) บรรพชนครึ่งคนครึ่งลิงของมนุษย์ ซึ่งขุดค้นพบทางตอนเหนือของอิรักในปี ค.ศ.1951 แต่ละศพได้รับการฝังอย่างประณีต ดินรอบๆ หลุมมีเกสรของดอกไม้ 12 ชนิดปะปนอยู่ แสดงถึงการนำบุปผชาติมาเคารพศพ
หลักฐานเก่าแก่ถัดมาก็คือ พีระมิดอันมโหฬาร ของชาวไอยคุปต์นั่นเอง ในครั้งกระโน้น นักบวชแห่งที่ราบลุ่มเมโสโปเตเมีย กับอียิปต์ได้ค้นพบวิธีการพิทักษ์ พระศพของฟาโรห์ โดยการทำมัมมี่ เพื่อให้คงอยู่ ตลอดกาลนาน พระศพของฟาโรห์จะถูกควักอวัยวะภายในออกแช่ น้ำเกลือ แล้วพันไว้ ด้วยผ้าชุบน้ำมัน สอง-สามเดือนหลังจากนั้น พระศพก็จะแห้งแข็งและผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ แล้วมัมมี่ก็จะถูกนำไปใส่ในโลง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโลงศพแรกๆ ของโลก จากนั้นจึงบรรจุโลงไว้ในสุสาน พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องใช้และสิ่งมีค่าต่างๆ ทั้งนี้ ชนไอยคุปต์เชื่อว่ากษัตริย์ของพวกเขาย่อมได้ไปเป็นผู้นำหรือพระเจ้าของปรโลก จึงควรมีข้าทาสและทรัพย์สมบัติเฉกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งดำรงพระชนม์อยู่ใน โลกนี้
สำหรับการเผาศพนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งในยุคหิน (Stone Age) แล้ว แต่เพิ่งเผากันอย่างมีพิธีรีตองในสมัยกรีก โดยชาวกรีกฝังใจว่า เมื่อตายแล้วก็จะไปอยู่ยังที่ใหม่ คือ สวรรค์ ดังนั้น วิญญาณของผู้ตายควรเป็น อิสระปราศจากสิ่งผูกพัน และวิธีการปล่อยวิญญาณให้เป็นอิสระได้ ดีที่สุด ก็คือการเผาร่างกายเสียให้สิ้นซากไปเลย
โรมันซึ่งเจริญรุ่งเรืองต่อ จากกรีกนั้นใช้วิธีทั้งเผาและฝัง สุสานของโรมัน ซึ่งอยู่ที่กรุงโรมนั้นมีขนาดมหึมา เรียกว่า คาทาคอมบ์ (catacomb)
ในสมัยต้นคริสตกาล ชาวยิวจัดการกับศพ โดยใช้ผ้าห่อหุ้มแล้วนำไปเก็บไว้ในถ้ำ แต่จะไม่ปิดปากถ้ำเป็นเวลา 3 วัน ในช่วง 3 วันนี้ ญาติๆ จะแวะเวียนเข้าไปคารวะศพ ด้วยเหตุผลอันใดหรือ ? ก็เนื่องจากในครั้งกระโน้นการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า ไม่มีการชันสูตร ให้รู้แน่ว่าผู้ตายเสียชีวิตจริงหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องเก็บไว้ตรวจตรากันก่อน ซึ่งก็เคยมีครับ ที่ศพฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ แต่หากว่าถ้าเนื้อหนังเน่าเหม็น ก็เป็นอันว่าตายไปแล้วจริงๆ ก็ปิดปากถ้ำได้
ต่อมาในยุคกลางของยุโรป ผู้คนนิยมนำศพไปฝังไว้ใต้พื้นโบสถ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ใกล้ชิดกับพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ยังมีผู้คนมาสวดมนต์ให้เป็นประจำด้วย เมื่อใครๆ ก็เอาศพญาติมาไว้โบสถ์ มิช้ามินานโบสถ์ก็เต็มไปด้วยศพ และโดยเหตุที่สมัยโน้นไม่มีการใช้น้ำยาดองศพเช่นปัจจุบัน กลิ่นเน่าจึงคละคลุ้งโบสถ์จนพระทนไม่ไหว จึงเริ่มต้นเปลี่ยนใหม่ ด้วยการทำสุสานไว้ในบริเวณด้านนอก หรือแยกไกลออกไปแล้วเอาศพไปฝังไว้ที่นั่นแทน
และก็ในยุคกลางนี้เอง ที่เกิดกาฬโรคระบาดมีคนตายนับไม่ถ้วน รวมทั้งมีสงครามเกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งก็มีศพเกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ผู้ตายบางรายอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิด แต่ญาติพี่น้องต้องการศพ กลับไปทำพิธีทางศาสนา การส่งศพเดินทางไปหลายๆ วันนั้นย่อมเป็นสิ่งสาหัสสากรรจ์ ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีการที่สะดวกกว่า นั่นคือ นำศพไปต้มเดือดนานหลายชั่วโมง จนเนื้อหนังหลุดเปื่อยออกหมด เหลือแต่กะโหลกกับโครงกระดูก จัดใส่สองสิ่งนี้ในกล่องหรือหีบ แล้วส่งไปให้ญาติโกโหติกานำไปฝังในโบสถ์หรือเก็บไว้ในปราสาทของตนเองก็แล้ว แต่
ความจริงยุโรปสมัยนั้น ก็เคยนิยมเผาศพ แต่การเผาต้องใช้ฟืนเป็นปริมาณมาก กว่าศพจะมอดไหม้เป็นเถ้า ก็ทำเอาต้นไม้ใกล้จะหมดป่า จึงต้องหันกลับมาใช้วิธีฝังอีก
สู้พวกทิเบตในยุคกลางเดียวกันนี้ไม่ได้ เพราะชาวทิเบต จะนำร่างศพไปวางไว้ในลานวัด แล้วปล่อยให้สุนัขแทะทึ้งกินซากศพ !! ถือกันว่าสุนัขเหล่านี้เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ การถูกกัดกินจึงเป็นการได้ รับเกียรติ
ในอินเดียก็คล้ายกับทิเบต ชนฮินดูบางเผ่าจะมีสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “หอคอยแห่งความสงัด” เป็นบริเวณที่มีรั้วกั้นโดยรอบและมีแท่นหิน พวกเขาจะนำศพไปวางบนแท่นหินเพื่อให้แร้งมาจิกกิน บางคนอาจคิดว่าป่าเถื่อน แต่จริงๆ แล้วพิธีนี้มีความเชื่อแฝงอยู่ นั่นคือพวกเขาใช้นกเป็นเครื่องมือในการย่อยสลายซากศพให้สิ้นไป และเมื่อนกบินไปพร้อมกับถ่ายอุจจาระตามที่ต่างๆ ก็เป็นการกระจายวิญญาณของผู้ตายให้ไปสิงสถิตหรือเกิดใหม่ ยังที่นั้นๆ ฟังแล้วก็ละม้ายกับการลอยอังคารของเราเหมือนกัน
และอีกวิธีการหนึ่ง ของชาวฮินดูที่ทำกันมานานนับพันปีแล้ว ก็ได้แก่ นำศพไปทิ้งลงในแม่น้ำคงคา โดยถือว่าเป็นแม่น้ำ ศักดิ์สิทธิ์ที่จะนำดวงวิญญาณไปสู่สวรรค์ ผลก็คือมีซากศพลอยตุ๊บ ป่องๆ เหม็นตลบเกลื่อนแม่น้ำคงคา จนรัฐบาลอินเดียต้องขอความร่วม มือกับราษฎร ให้เปลี่ยนมาใช้วิธีการเผา เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แต่...การเผาศพตามประเพณีฮินดูนั้นก็กลับส่งผลร้ายกาจเนื่องจากมีธรรมเนียมที่ให้ ภรรยาของผู้ตายโดดเข้ากองไฟตายไปพร้อมๆ กับสามี
การให้สุนัขหรือแร้งกินซากศพก็ยังพอฟังได้ แต่บางชนชาติถึงขั้นกินศพญาติตัวเอง !! ชนเหล่านั้นมีมาแต่โบราณกาล เช่น ชาวแอสเท็คแห่งอเมริกากลาง ชนเมลานีเซีย แห่งแปซิฟิกตอนใต้ ชาวเกาะปาปัวนิวกินี แม้กระทั่งชาวพื้นเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา ชนอินเดียบางเผ่าถือว่าการกินเนื้อบรรพบุรุษ เป็นการเพิ่มพละกำลังและอำนาจให้กับตน
ในปี ค.ศ.1861 เมื่อสงครามกลางเมือง ระหว่างรัฐเหนือ-ใต้ของอเมริกาบังเกิดขึ้น ปัญหาเรื่องศพยังไม่ค่อยมีเท่าใดนัก แต่เมื่อสงคราม ดำเนินไป 4 ปี จำนวนผู้ล้มตายทั้ง 2 ฝ่าย มีถึง 66,000 ศพ เรียกว่าไม่มีครอบครัวใดในสหรัฐฯ ที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามนี้ ผู้ที่อยู่ข้างหลังต่างก็อยากได้ศพลูก หรือหลานชายของตน กลับมาทำพิธีทางศาสนา
ดังนั้น ประธานาธิบดีลินคอล์นจึงมีคำสั่งให้ศัลยแพทย์ใช้วิธีดองศพไม่ให้เน่าเหม็น แล้วส่งให้กับครอบครัวของผู้ตาย หมอคนแรกที่ดำเนินการนี้ชื่อว่า ดร.โธมัส โฮล์มส์ เขาปฏิบัติการโดยเริ่มจากนำศพทหาร ไปฝังพร้อมกับจดจำตำแหน่งหลุมศพไว้ แล้วเขียนจดหมายถึงพ่อแม่หรือเมียของผู้ตาย ถ้าหากทางครอบครัวอยากได้ศพ หมอโฮล์มส์ก็จะลงมือดองหรือสตัฟฟ์ ด้วยการใช้น้ำยาที่มีสารหนูเข้มข้น สารหนูนั้นเป็นสารพิษและจะฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นตัวการให้ศพเน่า เหม็นและมีกลิ่น หมอโฮล์มส์อัดน้ำยาสารหนูเข้าสู่ร่างศพโดยใช้เครื่องสูบน้ำมือโยก น้ำยาจะเข้าไปแทนที่เลือดซึ่งถูกระบายออกมา วิธีการนี้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ ศพทหารทั้งหลายเดิน ทางกลับบ้านโดยปราศจากกลิ่นเน่าเหม็นแต่อย่างใด
ทุกวันนี้ การจัดการศพได้แปรเปลี่ยนไปในสภาพที่น่าดูขึ้น แม้กระทั่งโลงศพก็ได้รับการออกแบบที่หรูหราวิจิตร โดยมีบริษัทผลิตโดย เฉพาะ เช่น บริษัท บาเตสวิลล์ คาสเก็ต ซึ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกา มีอัตราการผลิตโลงศพเร็วถึง 53 วินาที/1 โลง หลายรูปแบบและสีสัน
และศพไหนที่ยังไม่ตายจริง ก็ไม่ต้องกลัวโดนฝังทั้งเป็น เพราะมีแบบกรุ กระจกไว้ด้านหนึ่ง ระหว่างตั้งทำพิธี ถ้าหากมีไอน้ำมาเกาะกระจกด้านใน ก็แสดงว่าร่างที่นอนอยู่นั้นยังมีชีวิตอยู่ อีกแบบจะเป็นโลง ที่มีสายกระดิ่งห้อยอยู่ข้างใน และตัวกระดิ่งอยู่ภายนอก ถ้าศพฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก็สามารถดึงกระดิ่งให้คนมาช่วยได้ (ถ้าไม่ตาแหกเผ่นหนีไปก่อน)
แต่ที่ทันสมัยที่สุดน่าจะเป็น บริษัท เซเลสติส แห่งเมืองฮิวส์ตัน, สหรัฐฯ บริษัทนี้รับบริการส่งอัฐิของผู้ตายออกไปอวกาศ! ด้วยสนนราคาที่แพงกว่าพิธีศพทั่วไปราว 4 เท่า ในการนี้เจ้าภาพจะต้องจัดการเผาศพให้เหลือเถ้าอัฐิหนัก 14 กรัมส่งให้แก่บริษัท ซึ่งบริษัทจะคัดเอาเพียง 7 กรัม บรรจุใส่โกศ จารึกชื่อ แล้วใส่ในแคปซูลอีกทีหนึ่ง จากนั้นก็ยิงส่งสู่อวกาศด้วยจรวด แคปซูลจะล่องลอยอยู่นอกโลกราว 30-40 ปี แล้วก็ตกกลับสู่ชั้นบรรยากาศ และเสียดสีกับอากาศมอดไหม้เป็นจุณไปเช่นเดียวกับดาวตก
หลักฐานการทำศพที่ดึกดำบรรพ์ ที่สุดของโลกเห็นจะได้แก่ สุสานของมนุษย์ นีนเดอร์ธาล(Neanderthal) บรรพชนครึ่งคนครึ่งลิงของมนุษย์ ซึ่งขุดค้นพบทางตอนเหนือของอิรักในปี ค.ศ.1951 แต่ละศพได้รับการฝังอย่างประณีต ดินรอบๆ หลุมมีเกสรของดอกไม้ 12 ชนิดปะปนอยู่ แสดงถึงการนำบุปผชาติมาเคารพศพ
หลักฐานเก่าแก่ถัดมาก็คือ พีระมิดอันมโหฬาร ของชาวไอยคุปต์นั่นเอง ในครั้งกระโน้น นักบวชแห่งที่ราบลุ่มเมโสโปเตเมีย กับอียิปต์ได้ค้นพบวิธีการพิทักษ์ พระศพของฟาโรห์ โดยการทำมัมมี่ เพื่อให้คงอยู่ ตลอดกาลนาน พระศพของฟาโรห์จะถูกควักอวัยวะภายในออกแช่ น้ำเกลือ แล้วพันไว้ ด้วยผ้าชุบน้ำมัน สอง-สามเดือนหลังจากนั้น พระศพก็จะแห้งแข็งและผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ แล้วมัมมี่ก็จะถูกนำไปใส่ในโลง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโลงศพแรกๆ ของโลก จากนั้นจึงบรรจุโลงไว้ในสุสาน พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องใช้และสิ่งมีค่าต่างๆ ทั้งนี้ ชนไอยคุปต์เชื่อว่ากษัตริย์ของพวกเขาย่อมได้ไปเป็นผู้นำหรือพระเจ้าของปรโลก จึงควรมีข้าทาสและทรัพย์สมบัติเฉกเช่นเดียวกับเมื่อครั้งดำรงพระชนม์อยู่ใน โลกนี้
สำหรับการเผาศพนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งในยุคหิน (Stone Age) แล้ว แต่เพิ่งเผากันอย่างมีพิธีรีตองในสมัยกรีก โดยชาวกรีกฝังใจว่า เมื่อตายแล้วก็จะไปอยู่ยังที่ใหม่ คือ สวรรค์ ดังนั้น วิญญาณของผู้ตายควรเป็น อิสระปราศจากสิ่งผูกพัน และวิธีการปล่อยวิญญาณให้เป็นอิสระได้ ดีที่สุด ก็คือการเผาร่างกายเสียให้สิ้นซากไปเลย
โรมันซึ่งเจริญรุ่งเรืองต่อ จากกรีกนั้นใช้วิธีทั้งเผาและฝัง สุสานของโรมัน ซึ่งอยู่ที่กรุงโรมนั้นมีขนาดมหึมา เรียกว่า คาทาคอมบ์ (catacomb)
ในสมัยต้นคริสตกาล ชาวยิวจัดการกับศพ โดยใช้ผ้าห่อหุ้มแล้วนำไปเก็บไว้ในถ้ำ แต่จะไม่ปิดปากถ้ำเป็นเวลา 3 วัน ในช่วง 3 วันนี้ ญาติๆ จะแวะเวียนเข้าไปคารวะศพ ด้วยเหตุผลอันใดหรือ ? ก็เนื่องจากในครั้งกระโน้นการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า ไม่มีการชันสูตร ให้รู้แน่ว่าผู้ตายเสียชีวิตจริงหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องเก็บไว้ตรวจตรากันก่อน ซึ่งก็เคยมีครับ ที่ศพฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ แต่หากว่าถ้าเนื้อหนังเน่าเหม็น ก็เป็นอันว่าตายไปแล้วจริงๆ ก็ปิดปากถ้ำได้
ต่อมาในยุคกลางของยุโรป ผู้คนนิยมนำศพไปฝังไว้ใต้พื้นโบสถ์ ทั้งนี้ เพื่อให้ใกล้ชิดกับพระเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็ยังมีผู้คนมาสวดมนต์ให้เป็นประจำด้วย เมื่อใครๆ ก็เอาศพญาติมาไว้โบสถ์ มิช้ามินานโบสถ์ก็เต็มไปด้วยศพ และโดยเหตุที่สมัยโน้นไม่มีการใช้น้ำยาดองศพเช่นปัจจุบัน กลิ่นเน่าจึงคละคลุ้งโบสถ์จนพระทนไม่ไหว จึงเริ่มต้นเปลี่ยนใหม่ ด้วยการทำสุสานไว้ในบริเวณด้านนอก หรือแยกไกลออกไปแล้วเอาศพไปฝังไว้ที่นั่นแทน
และก็ในยุคกลางนี้เอง ที่เกิดกาฬโรคระบาดมีคนตายนับไม่ถ้วน รวมทั้งมีสงครามเกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งก็มีศพเกิดขึ้นมากมายเช่นกัน ผู้ตายบางรายอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิด แต่ญาติพี่น้องต้องการศพ กลับไปทำพิธีทางศาสนา การส่งศพเดินทางไปหลายๆ วันนั้นย่อมเป็นสิ่งสาหัสสากรรจ์ ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีการที่สะดวกกว่า นั่นคือ นำศพไปต้มเดือดนานหลายชั่วโมง จนเนื้อหนังหลุดเปื่อยออกหมด เหลือแต่กะโหลกกับโครงกระดูก จัดใส่สองสิ่งนี้ในกล่องหรือหีบ แล้วส่งไปให้ญาติโกโหติกานำไปฝังในโบสถ์หรือเก็บไว้ในปราสาทของตนเองก็แล้ว แต่
ความจริงยุโรปสมัยนั้น ก็เคยนิยมเผาศพ แต่การเผาต้องใช้ฟืนเป็นปริมาณมาก กว่าศพจะมอดไหม้เป็นเถ้า ก็ทำเอาต้นไม้ใกล้จะหมดป่า จึงต้องหันกลับมาใช้วิธีฝังอีก
สู้พวกทิเบตในยุคกลางเดียวกันนี้ไม่ได้ เพราะชาวทิเบต จะนำร่างศพไปวางไว้ในลานวัด แล้วปล่อยให้สุนัขแทะทึ้งกินซากศพ !! ถือกันว่าสุนัขเหล่านี้เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ การถูกกัดกินจึงเป็นการได้ รับเกียรติ
ในอินเดียก็คล้ายกับทิเบต ชนฮินดูบางเผ่าจะมีสถานศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “หอคอยแห่งความสงัด” เป็นบริเวณที่มีรั้วกั้นโดยรอบและมีแท่นหิน พวกเขาจะนำศพไปวางบนแท่นหินเพื่อให้แร้งมาจิกกิน บางคนอาจคิดว่าป่าเถื่อน แต่จริงๆ แล้วพิธีนี้มีความเชื่อแฝงอยู่ นั่นคือพวกเขาใช้นกเป็นเครื่องมือในการย่อยสลายซากศพให้สิ้นไป และเมื่อนกบินไปพร้อมกับถ่ายอุจจาระตามที่ต่างๆ ก็เป็นการกระจายวิญญาณของผู้ตายให้ไปสิงสถิตหรือเกิดใหม่ ยังที่นั้นๆ ฟังแล้วก็ละม้ายกับการลอยอังคารของเราเหมือนกัน
และอีกวิธีการหนึ่ง ของชาวฮินดูที่ทำกันมานานนับพันปีแล้ว ก็ได้แก่ นำศพไปทิ้งลงในแม่น้ำคงคา โดยถือว่าเป็นแม่น้ำ ศักดิ์สิทธิ์ที่จะนำดวงวิญญาณไปสู่สวรรค์ ผลก็คือมีซากศพลอยตุ๊บ ป่องๆ เหม็นตลบเกลื่อนแม่น้ำคงคา จนรัฐบาลอินเดียต้องขอความร่วม มือกับราษฎร ให้เปลี่ยนมาใช้วิธีการเผา เพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แต่...การเผาศพตามประเพณีฮินดูนั้นก็กลับส่งผลร้ายกาจเนื่องจากมีธรรมเนียมที่ให้ ภรรยาของผู้ตายโดดเข้ากองไฟตายไปพร้อมๆ กับสามี
การให้สุนัขหรือแร้งกินซากศพก็ยังพอฟังได้ แต่บางชนชาติถึงขั้นกินศพญาติตัวเอง !! ชนเหล่านั้นมีมาแต่โบราณกาล เช่น ชาวแอสเท็คแห่งอเมริกากลาง ชนเมลานีเซีย แห่งแปซิฟิกตอนใต้ ชาวเกาะปาปัวนิวกินี แม้กระทั่งชาวพื้นเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา ชนอินเดียบางเผ่าถือว่าการกินเนื้อบรรพบุรุษ เป็นการเพิ่มพละกำลังและอำนาจให้กับตน
ในปี ค.ศ.1861 เมื่อสงครามกลางเมือง ระหว่างรัฐเหนือ-ใต้ของอเมริกาบังเกิดขึ้น ปัญหาเรื่องศพยังไม่ค่อยมีเท่าใดนัก แต่เมื่อสงคราม ดำเนินไป 4 ปี จำนวนผู้ล้มตายทั้ง 2 ฝ่าย มีถึง 66,000 ศพ เรียกว่าไม่มีครอบครัวใดในสหรัฐฯ ที่จะไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามนี้ ผู้ที่อยู่ข้างหลังต่างก็อยากได้ศพลูก หรือหลานชายของตน กลับมาทำพิธีทางศาสนา
ดังนั้น ประธานาธิบดีลินคอล์นจึงมีคำสั่งให้ศัลยแพทย์ใช้วิธีดองศพไม่ให้เน่าเหม็น แล้วส่งให้กับครอบครัวของผู้ตาย หมอคนแรกที่ดำเนินการนี้ชื่อว่า ดร.โธมัส โฮล์มส์ เขาปฏิบัติการโดยเริ่มจากนำศพทหาร ไปฝังพร้อมกับจดจำตำแหน่งหลุมศพไว้ แล้วเขียนจดหมายถึงพ่อแม่หรือเมียของผู้ตาย ถ้าหากทางครอบครัวอยากได้ศพ หมอโฮล์มส์ก็จะลงมือดองหรือสตัฟฟ์ ด้วยการใช้น้ำยาที่มีสารหนูเข้มข้น สารหนูนั้นเป็นสารพิษและจะฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นตัวการให้ศพเน่า เหม็นและมีกลิ่น หมอโฮล์มส์อัดน้ำยาสารหนูเข้าสู่ร่างศพโดยใช้เครื่องสูบน้ำมือโยก น้ำยาจะเข้าไปแทนที่เลือดซึ่งถูกระบายออกมา วิธีการนี้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ ศพทหารทั้งหลายเดิน ทางกลับบ้านโดยปราศจากกลิ่นเน่าเหม็นแต่อย่างใด
ทุกวันนี้ การจัดการศพได้แปรเปลี่ยนไปในสภาพที่น่าดูขึ้น แม้กระทั่งโลงศพก็ได้รับการออกแบบที่หรูหราวิจิตร โดยมีบริษัทผลิตโดย เฉพาะ เช่น บริษัท บาเตสวิลล์ คาสเก็ต ซึ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกา มีอัตราการผลิตโลงศพเร็วถึง 53 วินาที/1 โลง หลายรูปแบบและสีสัน
และศพไหนที่ยังไม่ตายจริง ก็ไม่ต้องกลัวโดนฝังทั้งเป็น เพราะมีแบบกรุ กระจกไว้ด้านหนึ่ง ระหว่างตั้งทำพิธี ถ้าหากมีไอน้ำมาเกาะกระจกด้านใน ก็แสดงว่าร่างที่นอนอยู่นั้นยังมีชีวิตอยู่ อีกแบบจะเป็นโลง ที่มีสายกระดิ่งห้อยอยู่ข้างใน และตัวกระดิ่งอยู่ภายนอก ถ้าศพฟื้นคืนชีพขึ้นมา ก็สามารถดึงกระดิ่งให้คนมาช่วยได้ (ถ้าไม่ตาแหกเผ่นหนีไปก่อน)
แต่ที่ทันสมัยที่สุดน่าจะเป็น บริษัท เซเลสติส แห่งเมืองฮิวส์ตัน, สหรัฐฯ บริษัทนี้รับบริการส่งอัฐิของผู้ตายออกไปอวกาศ! ด้วยสนนราคาที่แพงกว่าพิธีศพทั่วไปราว 4 เท่า ในการนี้เจ้าภาพจะต้องจัดการเผาศพให้เหลือเถ้าอัฐิหนัก 14 กรัมส่งให้แก่บริษัท ซึ่งบริษัทจะคัดเอาเพียง 7 กรัม บรรจุใส่โกศ จารึกชื่อ แล้วใส่ในแคปซูลอีกทีหนึ่ง จากนั้นก็ยิงส่งสู่อวกาศด้วยจรวด แคปซูลจะล่องลอยอยู่นอกโลกราว 30-40 ปี แล้วก็ตกกลับสู่ชั้นบรรยากาศ และเสียดสีกับอากาศมอดไหม้เป็นจุณไปเช่นเดียวกับดาวตก