โคลอสเซียม สนามกีฬาโรมัน แห่ง โรม (Roman Colosseum)
Roman Colosseum โคลอสเซียม หรือ บางครั้งอาจเรียกว่า โคลิเซียม เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใจกลาง กรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นสิ่งก่อสร้างขนาด ใหญ่ที่สุด เป็นสุดยอดสถาปัตยกรรม เป็นสุดยอดทางวิศวกรรม แห่งยุคโรมันที่มีการก่อสร้างขึ้น จึงทำให้ โคลอสเซียม สนามกีฬาโรมัน แห่งนี้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมัหัศจรรย์ของโลก จวบจนทุกวันนี้
ซ้าย จักรพรรดิเวสเปเซียน ผู้ริเริ่มก่อสร้าง โคลอสเซียม กลาง จักรพรรดิไททัส โคลอสเซี่ยมเสร็จในยุคนี้ และขวา จักรพรรดิโดมิเทียนัส ทำการแก้ไขปรับปรุงโคลอสเซียม
ถูกสร้างขึ้น ทางทิศตะวันออกของ โรมันฟอรัม ( Roman Forum ) บริเวณใจกลาง กรุงโรม ประเทศอิตาลี ทำการก่อสร้างใน คริสต์ศตวรรษที่ 1 ประมาณในช่วงระหว่าง คริศต์ศักราช 70 ในรัฐสมัยของจักรพรรดิเวสเปเซียน ( Titus Flavius Vespasianus ) ทำการก่อสร้างแล้วเเสร็จใน คริศต์ศักราช 80 ในรัฐสมัยของจักรพรรดิไททัส ( Titus Flavius Vespasianus II) มีการแก้ไขในในช่วงระหว่างคริสต์ศักราช 81-96 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโดมิเทียนัส (Titus Flavius Domitianus ) ลักษณะการก่อสร้าง เป็นสนามกีฬากลางแจ้ง เป็นรูปไข่ ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 189 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 156 เมตร โคลอสเซียมมีความสูง 48 เมตร โคลอสเซียมมีเส้นรอบวงประมาณ 548 เมตร บริเวณฐานตั้งอยู่บนพื้นที่ 24,000 ตารางเมตร บริเวณตรงกลางเป็นลานประลอง รูปไข่ ที่ยาวที่สุดยาว 87.5 เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 54.9 เมตร โดยรอบลานประลองมีกำแพงสูง 4.6 เมตร เหนือขึ้นไปเป็นที่นั่งชมการประลองโดยรอบ โคลอสเซียม สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน ลักษณะ โครงสร้าง และสถาปัตยกรรม ของ โคลอสเซียม แห่ง โรม
ออนิง หรือ ระบบผ้าใบบังแดด ของ โคลอสเซียม นั้นใช้ในช่วงฤดูร้อน ที่ไม่มีลมเพื่อช่วยลดอุณหภูมิจากแสงแดดที่ส่องลงมายังผู้เข้าชม ในช่วงแรกของการก่อสร้าง โคลอสเซียม นั้นไม่มีระบบผ้าใบบังแดด ( Awnings ) ระบบนี้เกิดขึ้นเมื่อจักรพรรดิ แห่ง โรมัน พระองค์หนึ่งทรงมีดำริว่า ในบางช่วงที่มีอากาศร้อนมาก ระหว่างที่มีการแสดงโชว์ แกลดิเอเตอร์ ( Gladiators ) นั้นควรจะมีระบบผ้าใบบังแดด เพื่อลดความร้อน เพื่ออำนวยความสะดวกแต่ผู้ชม จึงได้มีการจัดสร้างระบบผ้าใบบังแดดขึ้น โดยบริเวณลานอรีน่า ตรงกลางเว้นว่างไว้ โดยทำเป็นโครงขนาดใหญ่ ยึดโยงด้วยเชือกสองจุด เชือกชั้นล่างมีไว้สำหรับรองรับผ้าใบที่สามารถคลี่ลงมาจากด้านบน โดยเชือกทั้งเส้นโยงไปยังเสากระโดง ที่ปักเรียงรายอยู่รอบ โคลอสเซียม ผ่านระบบรอก โยงยึดลงสู่พื้นดินด้านล่างผ่านกว้านขนาดใหญ่ด้านล่าง ดังภาพ
รูปภาพ ระบบออนิง หรืิอ ผ้าใบบังแดด ของสนามกีฬา โคลอสเซียม ภาพโดย Frank Sear, Roman Architecture
2 Seating & Society
ที่นั่งชม ภายใน โคลอสเซียม แบ่งตามระดับชนชั้น จำนวน 5 ชั้น โดยความจุสูงสุดของ สนามกีฬา โคลอสเซียม ในสมัยนั้นประมาณ 87,000 คน แต่้ถ้าเทียบกับสนามกีฬาสมัยใหม่ โคลอสเซียมก็มีขนาดความจุประมาณสนามกีฬาที่มีความจุผู้ชมประมาณ 50,000 คน ( สมัยก่อนไม่มี FIFA มาคอยกำหนดกฎ อะไรจึงเบียดกันเข้าไปไม่มีปัญหา จึงจุได้ถึง 87,000 คน ) เนื่องจากชาวโรมันมีนิสัย เหยียดชนชั้น จึงมีการแบ่งที่นั่งจะแบ่งแยกตามระดับชนชั้นดังต่อไปนี้
ชั้นโพเดียม (Podium) คือชั้นที่สามารถมองเห็นการต่อสู้ใน อรีน่าได้ชัดเจนที่สุด ดีที่สุด บริเวณทิศเหนือ จะเป็นที่นั่งชมของ กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และ นักบวชหญิง (Vestal Virgins) ส่วนบริเวณอื่นของชั้นโพเดียม เป็นที่สำหรับผู้แทนสภา โดยที่นั่งแต่ละตัวจะมีการสลักชื่อไว้ เพื่อเป็นที่นั่งส่วนตัว ชั้น มีเนียนั่ม พรีเมียม (Maenianum Primum) เป็นชั้นที่ถัดขึ้นไปจากชั้นโพเดียม เป็นที่นั่งสำหรับ ชนชั้นสูง อัศวิน แม่ทัพ ชั้น Maenianum Secundum แบบ Immum เป็นชั้นที่นั่ง สำหรับ ชาวโรมันที่ร่ำรวย ชั้น Maenianum Secundum แบบ Summum เป็นชั้นที่นั่ง สำหรับ ชาวโรมันทั่วไป ชั้น Maenianum Secundum in legneis เป็นชั้นสุดท้าย อยู่ไกลที่สุด ไม่มีที่นั่งเป็นพื้นราบ หรือบางส่วนอาจมีชั้นไม้สำหรับยืนดู เป็นที่สำหรับ ชาวต่างชาติ ทาส และผู้หญิง หมายเหตุ มีบางอาชีพที่จะไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าสู่ โคลอสเซียม เช่น สัปเหร่อ นักแสดง และ นักสู้แกลดิเอเตอร์ ( Gladiators )
รูปภาพ แสดงการแบ่งชั้นที่นั่ง ของแต่ละชนชั้น ในสังคมชาวโรมัน โดยที่นั้งแต่ละตัวจะสามารถบ่งบอกถึงฐาน และชนชั้น ได้ โดยพวกชั้นชั้นต่ำที่นั่งจะเป็นหินธรรมดา แต่ชนชั้นสูงที่นั่งจะเป็ฯหินอ่อน
รูปแสดงบันไดทาง ขึ้น - ลง อัศจรรย์ ทียังมีการแบ่งบันไดไว้ชัดเจนของแต่ละชนชั้นอย่างชัดเจน
บันไดสีเขียว สำหรับ กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และ นักบวชหญิง
บันไดสีส้ม สำหรับ ชนชั้นสูง อัศวิน แม่ทัพ
บันไดสีฟ้า สำหรับ ชาวโรมัน
บันไดสีแดง สำหรับ ชาวต่างชาติ ทาส และผู้หญิง
รูปจากหนังสือ F. Coarelli, Roma (Mondadori Guide), p. 183
3 Cirulation System
ระบบวงแหวน ซึ่ีงเป็นการออกแบบที่ชาญฉลาด อย่างมากทั้งในแง่ของ ทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ในแง่ทางวิศวกรรม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างหลักมี 3 ชนิดคือ
Travertine Rock เป็นส่วนโครงสร้างรับนำหนัก เช่น เสา คานโค้ง ( Arched Vaults ) ยึดโยงกันเป็นระบบวงแหวน Roman Concrete เป็นส่วนโครงสร้างที่หล่อทำพื้นระเบียงทางเดิน บันได้ อัศจรรย์คนดู โดยหล่อทับในส่วนคาน และเสาที่ก่อสร้างด้วย Travertine Rock เพื่อยึดระบบโครงสร้างเข้าด้วยกันเพื่อความแข็งแรง Tufa Rock เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกั้นแบ่งซอย และยังช่วยค้ำยันโครงสร้างในชั้นล่าง ในแง่สถาปัตยกรรม
โดยรอบของ สนามกีฬา โคลอสเซี่ยมได้ทำการจัดสร้างประตูทางเข้า ออกไว้ถึง 80 ช่อง โดย 76 ช่องไว้สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนอีก 4 ช่อง ด้านเหนือสำหรบ กษัตริย์เท่านั้น มีการคาดการณ์กันว่าด้วยระบบการออกแบบประตูทางเข้า ออก และระเบียงทางเดินเช่นนี้สามารถขนย้ายคนกว่า 80,000 คน เข้าออกจากสนามได้หมดภายในเวลา เพียง 3-4 นาทีเท่านั้น เปลือกด้านนอกประกอบไปด้วยหิน Travertine ประดับประดากว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่หมุดโลหะยึดติดกับตัวโครงสร้าง โดยใช้หมุดโลหะน้ำหนักรวมกว่า 300 ตัน
4 The Arena
อลีน่า เป็น ส่วนลานตรงกลาง มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า " Harena " ซึ่งแปลว่า ทราย เนื่องจากพื้นลานประลองทั้งหมดก่อสร้างด้ายไม้กระดาน ปิดส่วนที่เป็นห้องใต้ดินด้านล่างซึ่งเป็นห้องขังนักสู้แกลดิเอเตอร์ และสัตว์ร้าย โดยบนไม้กระดานจะโรยทับด้วย ทรายทำให้เป็นที่มาของชื่อ อลีน่า
ในยุคแรก ลานอลีน่าใช้สำหรับ เป็นลานต่อสู้ ของพวกนักรบ แกลดิเอเตอร์กันเอง จนตายกันไปข้างหนึ่ง ผู้ชนะเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์มีชีวิตรอด หรือไม่ก็ใช้ให้นักสู้ แกลดิเอเตอร์ ต่อสู้กับสัตว์ร้ายจากกาฬทวีปที่นำเข้ามา้เช่น ต่อสู้กับ สิงโต เสือดาว ช้าง จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส ในบางครั้งอาจ ให้นักสู้บางคนต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งโดยมากจะลงเอยด้วย การเสียชีวิตอย่าง สุดสยอง ของนักสู้แกลดิเอเตอร์
จากรูปเป็นสัญลักษณ์ที่เรียกว่า Pollice Verso คือการยกนิ้วโป้งคว่ำลง ซึ่งสัญญาณให้นักสู้ แกลดิเอเตอร์ที่ชนะ จัดการประหารผู้แพ้นั้นเอง
ในยุคกลาง ลานอลีน่า ถูกใช้เป็นลานประหาร ชาวคริสเตียน โดยให้ชาวคริสต์ทั้งเด็ก ผู้หญิง คนแก่ ลงไปอยู่กลางลานอลีน่า แล้วทำการปล่อย สิงโตเข้ามา ฆ่าชาวคริสต์ผู้โชคร้ายเหล่านั้น
จากรูปเป็นรูปเหตุการณ์ นาทีสังหารหมู่ชาวคริสต์เตียน โดยจะเห็นว่าโดยรอบ โคลอสเซี่ยมมีชาวคริสต์ถูกตรึงกางเขน และเผาทั้งเป็น บางส่วนก็กำลังหวาดกลัว อยู่หน้าสิงโต
ระบบวงแหวน ซึ่ีงเป็นการออกแบบที่ชาญฉลาด อย่างมากทั้งในแง่ของ ทางวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ในแง่ทางวิศวกรรม วัสดุที่ใช้ก่อสร้างหลักมี 3 ชนิดคือ
Travertine Rock เป็นส่วนโครงสร้างรับนำหนัก เช่น เสา คานโค้ง ( Arched Vaults ) ยึดโยงกันเป็นระบบวงแหวน Roman Concrete เป็นส่วนโครงสร้างที่หล่อทำพื้นระเบียงทางเดิน บันได้ อัศจรรย์คนดู โดยหล่อทับในส่วนคาน และเสาที่ก่อสร้างด้วย Travertine Rock เพื่อยึดระบบโครงสร้างเข้าด้วยกันเพื่อความแข็งแรง Tufa Rock เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกั้นแบ่งซอย และยังช่วยค้ำยันโครงสร้างในชั้นล่าง ในแง่สถาปัตยกรรม
โดยรอบของ สนามกีฬา โคลอสเซี่ยมได้ทำการจัดสร้างประตูทางเข้า ออกไว้ถึง 80 ช่อง โดย 76 ช่องไว้สำหรับบุคคลทั่วไป ส่วนอีก 4 ช่อง ด้านเหนือสำหรบ กษัตริย์เท่านั้น มีการคาดการณ์กันว่าด้วยระบบการออกแบบประตูทางเข้า ออก และระเบียงทางเดินเช่นนี้สามารถขนย้ายคนกว่า 80,000 คน เข้าออกจากสนามได้หมดภายในเวลา เพียง 3-4 นาทีเท่านั้น เปลือกด้านนอกประกอบไปด้วยหิน Travertine ประดับประดากว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่หมุดโลหะยึดติดกับตัวโครงสร้าง โดยใช้หมุดโลหะน้ำหนักรวมกว่า 300 ตัน
รูปภาพ ส่วนประกอบวัสดุก่อสร้าง โคลอสเซียม
4 The Arena
อลีน่า เป็น ส่วนลานตรงกลาง มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า " Harena " ซึ่งแปลว่า ทราย เนื่องจากพื้นลานประลองทั้งหมดก่อสร้างด้ายไม้กระดาน ปิดส่วนที่เป็นห้องใต้ดินด้านล่างซึ่งเป็นห้องขังนักสู้แกลดิเอเตอร์ และสัตว์ร้าย โดยบนไม้กระดานจะโรยทับด้วย ทรายทำให้เป็นที่มาของชื่อ อลีน่า
ในยุคแรก ลานอลีน่าใช้สำหรับ เป็นลานต่อสู้ ของพวกนักรบ แกลดิเอเตอร์กันเอง จนตายกันไปข้างหนึ่ง ผู้ชนะเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์มีชีวิตรอด หรือไม่ก็ใช้ให้นักสู้ แกลดิเอเตอร์ ต่อสู้กับสัตว์ร้ายจากกาฬทวีปที่นำเข้ามา้เช่น ต่อสู้กับ สิงโต เสือดาว ช้าง จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส ในบางครั้งอาจ ให้นักสู้บางคนต่อสู้ด้วยมือเปล่า ซึ่งโดยมากจะลงเอยด้วย การเสียชีวิตอย่าง สุดสยอง ของนักสู้แกลดิเอเตอร์
จากรูปเป็นสัญลักษณ์ที่เรียกว่า Pollice Verso คือการยกนิ้วโป้งคว่ำลง ซึ่งสัญญาณให้นักสู้ แกลดิเอเตอร์ที่ชนะ จัดการประหารผู้แพ้นั้นเอง
จากรูปเป็นรูปเหตุการณ์ นาทีสังหารหมู่ชาวคริสต์เตียน โดยจะเห็นว่าโดยรอบ โคลอสเซี่ยมมีชาวคริสต์ถูกตรึงกางเขน และเผาทั้งเป็น บางส่วนก็กำลังหวาดกลัว อยู่หน้าสิงโต
รูปซ้าย จะเห็นว่า โคลอสเซี่ยม แบบมีพื้นไม้ด้านบนโรยด้วยทราย เหลือช่องเปิดเล็กๆ เพื่อให้เห็นในส่วนของห้องใต้ดินด้านล่าง
รูปขวาเป็นรูป โคลอสเซียม ที่รื้อพื้นอลีน่าออก เปิดเผยให้เห็นถึงห้องใต้ดิน ห้องเล็กห้องน้อย
รูปขวาเป็นรูป โคลอสเซียม ที่รื้อพื้นอลีน่าออก เปิดเผยให้เห็นถึงห้องใต้ดิน ห้องเล็กห้องน้อย
ห้องใต้ดิน เป็นห้องที่อยู่ใต้พื้นอลีน่า โดยสร้างเป็นห้องขังเล็กๆ จำนวน 32 ห้อง เพื่อไว้สำหรับขังนักสู้ แกลดิเอเตอร์ และสัตว์ต่าง โดยชั้นใต้ดินจะถูกแบ่งเป็น 2 ชั้นโดยมากพวกนักสู้ แกลดิเอเตอร์จะอยู่ชั้นบน จะขึ้นสู่ลาน อลีน่าโดยทางบันได้ดังรูป แล้วประตูจะถูกปิดลง ส่วนพวกสัตว์ป่าจะอยู่ชั้นล่าง และถูกขนขึ้นสู่ลานอลีน่าโดยลิฟท์ แทนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แล้วประตูกลจะถูกปิด และประตูกลจะเปิดอีกครั้งก็ต่อเมื่อมีผู้รอดชีวิต เป็นคนสุดท้ายเท่านั้น
จากรูปตามแนวลูกศรแดงคือทางที่นักสู้แกลดิเอเตอร์เดินขึ้นสู่ลานอลีน่า และทีุ่มุมล่างขวาจะเป็นลิฟท์สำหรับ นำสัตว์ป่า เช่าเสือดาว สิงโตขึ้นมาต่อสู้กับนักสู้ แกลดิเอเตอร์
ค่าผ่านประตูเข้าชม และ เวลาเปิด - ปิด ทำการ โคลอสเซียม
ค่าผ่านประตู
สำหรับนักท่องเที่ยว ราคา 15.50 ยูโร ต่อ คน สำหรับชาวยุโรปที่มีอายุระหว่าง 18 - 65 ปี ราคา 10.50 ยูโร ต่อ คน สำหรับชาวยุโรปที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และมากกว่า 65 ปี ราคา 4.50 ยูโร ต่อ คน เวลาเปิดทำการ
ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือน มีนาคม 9:00 -16:30 นาฬิกา ช่วงกลางเดือน มีนาคม ถึงสิ้นเดือน มีนาคม 9:00 -17:00 นาฬิกา ช่วงสิ้นเดือน มีนาคม ถึงสิ้นเดือน สิงหาคม 9:00 -19:00 นาฬิกา ช่วงสิ้นเดือน สิงหาคม ถึงสิ้นเดือน กันยายน 9:00 -18:30 นาฬิกา ช่วงสิ้นเดือน กันยายน ถึงสิ้นเดือน ตุลาคม 9:00 -18:00 นาฬิกา ช่วงสิ้นเดือน ตุลาคม ถึงกลางเดือน มีนาคม 9:00 -16:00 นาฬิกา (ข้อมูล Update วันที่ 27/07/2009 จากเว็ปไซค์ http://www.rome.info/colosseum )
แผนที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี
ข้อมูลอ้างอิง โคลอสเซียม สนามกีฬาโรมัน แห่ง โรม
http://en.wikipedia.org/wiki/Roman_Colosseum http://www.bbc.co.uk/history/ancient/romans/launch_ani_colosseum.shtml
http://www.greatbuildings.com/buildings/Roman_Colosseum.html
http://shot.holycross.edu/courses/dbdisplay?db=artifacts&name=Rome%2C%20Colosseum Drawing & Detail of Coliseum http://www.newworldencyclopedia.org/entry/Colosseum
http://warandgame.wordpress.com/2008/06/18/