ระบุว่า เรือดำน้ำได้อยู่ในแนวความคิดของกองทัพเรือไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2453 แล้ว ดังจะเห็นได้จากโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453 ซึ่งมีคณะกรรมการอันประกอบด้วย นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ต่อมาเป็น นายพลเรือเอก กรมหลวงฯ) นายพลเรือตรี พระยาราชวังสวรรค์ (ฉ่าง แสง-ชูโต ต่อมาเป็นนายพลเรือเอก พระยามหาโยธา) และนายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต่อมาได้เป็นนายพลเรือเอก กรมหลวงฯ) ได้จัดทำขึ้นถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (ต่อมาเป็น จอมพลเรือ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระฯ) เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ และเสนาบดีฯ ทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 มกราคม ร.ศ.129 (พ.ศ. 2453)
โครงการนี้ได้กำหนดให้มี ?เรือ ส.(1) จำนวน 6 ลำ? ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้อธิบายไว้ว่า ?เรือ ส. คือเรือดำน้ำสำหรับลอบทำลายเรือใหญ่ข้าศึก.." แต่ยังกล่าวให้ชัดไม่ได้เพราะยังไม่เคยลงแลลอง แต่ที่พูดถึงด้วยนี้โดยเห็นว่าต่อไปภายหน้าการศึกษาสงครามจะต้องใช้เป็นมั่น คง แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้? เวลานั้นเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่นาวีของมหาอำนาจในยุโรปกำลังพัฒนาและทดลองใช้ อยู่
ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ออกจากประจำการ และต้องจ้าง นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ (J.Schneidler) นายทหารเรือชาติสวีเดนเข้ามาเป็นที่ปรึกษาการทหารเรือ ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 นายนาวาเอก ชไนด์เลอร์ ได้เสนอโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือสำหรับป้องกันประเทศ และได้กล่าวถึง ?เรือดำน้ำ? ว่า ?เป็นเรือที่ดีมากสำหรับป้องกันกรุงเทพฯ แต่จะผ่านเข้าออกสันดอนลำบาก ถ้าเก็บไว้ในแม่น้ำก็ไม่คุ้มค้า? และได้เสนอไว้ในโครงการให้มีเรือดำน้ำ 8 ลำ สำหรับประจำอยู่กับกองทัพเรือที่จันทบุรี
ทหารเรือไทยและคนไทยได้มีโอกาสเห็นเรือดำน้ำจริงๆ เป็นครั้งแรกที่ไซ่ง่อน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2454 ในโอกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เสด็จประพาสอินโดจีนฝรั่งเศส ได้จัดเรือดำน้ำมาแล่น และดำถวายให้ทอดพระเนตรในบริเวณที่เรือพระที่นั่งมหาจักรีเทียบท่าอยู่
เรือเหล่านี้ขึ้นระวางประจำการแล้วได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญคือ เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจากที่ ร.ล.ธนบุรี และเรือตอร์ปิโดถูกเรือรบฝรั่งเศสยิงจมแล้วเรือหลวงมัจฉาณุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ได้ไปลาดตระเวนเป็น 4 แนว อยู่หน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของอินโดจีนฝรั่งเศส ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมง ขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด ตั้งแต่ได้เริ่มมีหมวดเรือดำน้ำมาจนกระทั่งได้ถูกยุบเลิกไป
เรือดำน้ำในกองทัพเรือไทย (มี 4 ลำ)
1. ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่สอง (ร.ล.มัจฉาณุ ลำที่หนึ่ง เป็นเรือในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ต่อที่อู่ บริษัท มิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.2479 พร้อมกับอีก 3 ลำ คือ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และ เรือหลวงพลายชุมพล น้ำหนักบนผิวน้ำ 374.5 ตัน น้ำหนักขณะดำ 430 ตัน ความยาวตลอดลำ 51 เมตร ความกว้างสุด 4.1 เมตร สูงถึงหลังคาหอเรือ 11.65 เมตร กินน้ำลึก 3.6 เมตร ติดอาวุธปืนใหญ่ 76 มม. 1 กระบอก ปืน 8 มม. 1 กระบอก ตอร์ปิโด 45 ซม. 4 ท่อ เครื่องจักรใหญ่ชนิดดีเซล 2 เครื่อง ๆ ละ 8 สูบ กำลัง 1,100 แรงม้า เครื่องไฟฟ้ากำลัง 540 แรงม้า (ใช้เดินใต้น้ำ) ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต รัศมีทำการ 4,770 ไมล์ ทหารประจำเรือ 33 คน (นายทหาร 5 พันจ่า-จ่า 28)
วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูกงูพร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ
วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2479 เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง) และเรือดำน้ำอีก 3 ลำ ออกจากน่านน้ำประเทศญี่ปุ่น เดินทางมายังประเทศไทย โดยไม่มีเรือพี่เลี้ยง ซึ่งแสดงถึงความสามารถของทหารเรือไทย วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส หลังจาก เรือหลวงธนบุรี และเรือตอร์ปิโด ถูกเรือฝรั่งเศส ยิงจมแล้ว วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
2.เรือหลวงวิรุณเป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูกงู วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เรือลงน้ำ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
3. ร.ล.สินสมุทร เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงูพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำพร้อมกับ เรือหลวงพลายชุมพล วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ปลดระวางประจำการ
4. ร.ล.พลายชุมพล เรือนี้เป็นเรือพี่น้องของ เรือหลวงมัจฉาณุ สร้างแห่งเดียวกัน โดยสัญญาเดียวกัน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2479 วางกระดูงู วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 เรือลงน้ำ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ขึ้นระวางประจำการ
เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ออกเดินทางจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มาแวะจอดที่กรุงมะนิลา ประเทศ
ฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเดินทางฝ่าคลื่นลมมาถึงฐานทัพเรือสัตหีบในวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๑ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ ไมล์ ใช้เวลาเดินเรือและแวะเมืองท่ารวม ๒๔ วัน และเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว เรือดำน้ำทั้ง ๔ ลำ ได้ทำการออกฝึกอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้อุบัติขึ้น กองทัพเรือ ได้ส่งเรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล ไปทำการลาดตระเวนเป็นแนวหน้าบริเวณฐานทัพเรือเรียมของแหลมอินโดจีน เพื่อป้องกันกองทัพฝรั่งเศสที่จะลอบเข้ามาโจมตีประเทศไทย โดยเรือทั้งสี่ลำจะใช้เวลาอยู่ใต้น้ำ เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ถึงวันละ ๑๒ ชั่วโมง ซึ่งปฏิบัติการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความยำเกรงให้แก่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมากชนิดที่แหยงเท้าอยู่ตลอดเวลา ไปใหนทีก็กลัว ซึ่งบทบาทของเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทยนี้เป็นที่กล่าวขานถึงวีรกรรมอันห้าว หาญของราชนาวีไทย เมื่อเทียบกับกำลังของมหาอำนาจที่มีอยู่เหนือกว่า
ในปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อโรงไฟฟ้าสามเสนและวัดเลียบถูกระเบิดถล่ม ไม่สามารถจ่ายไฟได้ ทร.ได้ส่ง ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ ไปเทียบท่า บางกอกด็อก เพื่อทำการจ่ายกระแสไฟฟ้ายังผลให้รถรางสายหลักเมือง - ถนนตกวิ่งได้ ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่ชาวบ้านเป็นอันมาก โดยขณะที่เรือจ่ายไฟฟ้าอยู่นั้นทหารเรือต้องทำงานด้วยความลำบากและเสี่ยง อันตรายเป็นอย่างยิ่ง
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เรือดำน้ำดังกล่าวได้ชำรุดตามอายุขัย ขาดแคลนชิ้นส่วนที่จะซ่อมแซม การสั่งซื้อจากญี่จากญี่ปุ่นไม่อาจกระทำได้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ แพ้สงคราม กองทัพเรือได้พยายามหาทางซ่อมแซมเรือเหล่านี้อยู่หลายปีแต่ก็ไม่บรรลุผล สำเร็จ
หลังเหตุการณ์ไม่สงบ ระหว่างพิธีรับเรือขุดแมนฮัตตัน เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๒๔๙๔ กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่ง ที่ ๑๓๐/๑๒๙๒๖ เรื่องการปรับปรุงกองทัพเรือ มีผลให้ยุบเลิกหมวดเรือดำน้ำ และโอนไปรวมในหมวดเรือตรวจฝั่งที่จัดตั้งขึ้นใหม่ พร้อมให้นักเรือดำน้ำทุกนายพ้นจากฐานะนักเรือดำน้ำ และงดรับเงินพิเศษตั้งแต่ ๑๖ ก.ค.๒๔๙๔
เรือดำน้ำทั้งหมด ได้ถูกปลดระวางประจำการไปเมื่อ ๓๐ พ.ย.๒๔๙๔ รวมเวลาที่รับใช้กองทัพเรือเป็นเวลา ๑๒ ปีเศษ
ต่อมา ได้มีการขายเรือดำน้ำดังกล่าวให้บริษัท ปูนซิเมนต์ คงเหลือแต่หอเรือดำน้ำและอาวุธบางชิ้น เช่น ปืนและกล้องส่องซึ่งถูกเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณ