ผายลม

 

 

 

 

 

ผายลม

 

 

ผายลม หรือ ตด ในภาษาพูด โดยทั่วไปเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ ในวันหนึ่งๆ คนเราอาจผายลมได้ 10-20 ครั้ง ซึ่งคิดเป็นปริมาณแก๊สที่ปล่อยออกมา คือ 0.5-1 ลิตรต่อวัน

ผายลมเกิดจากการรวมตัวของแก๊สหลายชนิด แก๊สที่ไม่มีกลิ่น 99% มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทน ส่วนแก๊สที่ มีกลิ่นมี 1% เท่านั้นซึ่งเกิดจากการหมักหมมของอาหารในลำไส้ใหญ่ และทำให้เกิดแก๊สจำพวกกำมะถัน ได้แก่ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารที่มี กลิ่นเฉพาะตัว

ปกติคนเราขับแก๊สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทาง คือ การขับออกทางปาก (เรอ) และการขับออกทางทวารหนัก (ผายลม หรือตด) หากแก๊สนั้นไม่ขับออกมาจะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกอึด อัด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามมา

สาเหตุ

แก๊สในร่างกายเกิดจาก 2 องค์ประกอบหลัก ดังนี้

แก๊สจากภายนอกร่างกาย คิดเป็น 90% เป็นอาการที่รับเข้ามาผ่านทางปากและจมูก กล่าวคือ เมื่อเราพูดหรือกลืนอาหารก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย และสาเหตุอื่นๆ อีก ได้แก่ การกินอาหารเร็วเกินไปทำให้เคี้ยวไม่ละเอียด เคี้ยวหมากฝรั่ง อมลูกอม สูบบุหรี่การใช้ฟันปลอมที่ไม่เหมาะสม การดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแก๊ส แก๊สที่เกิดจากภายในร่างกาย คิดเป็น 10% แก๊สประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นแก๊สที่ผลิตขึ้นจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่ทำ ปฏิกิริยาย่อยสลายกากอาหาร ซึ่งแก๊สที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยนี้เมื่อรวมตัวกันแล้วก็จะเคลื่อนที่ไป สู่ลำไส้ใหญ่

แม้ว่าผนังลำไส้ใหญ่จะดูดซึมแก๊สเหล่านี้ไว้ได้ หากลำไส้ใหญ่ดูดแก๊สไม่ทันบางครั้งร่างกายก็ขับแก๊สออกมาทางลำไส้ตรง เพราะ ลำไส้บีบตัวเป็นจังหวะถี่เกินไป หรือเป็นเพราะการกินอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สมาก เช่น ถั่ว หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับนม

 ผายลมบอกโรค

การผายลมกับอุจจาระเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ว่าผายลมนั้นสิ่งที่ออกมาคือแก๊ส เป็นการระบายสิ่งที่ไม่ดีออกมาจากร่างกายโดยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

หากวันทั้งวันไม่ผายลมเลยนั้นแสดงว่ากำลังผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อุดตัน หรือมะเร็ง หากเกิดกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอาจบอก ได้ว่าในลำไส้มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารไม่ทำ งาน อาหารก็ไม่ถูกย่อย เมื่อไปถึงลำไส้ใหญ่แบคทีเรียจะมาทำหน้าที่ช่วยย่อยเมื่อย่อยมากก็เกิดแก๊ส มากขึ้นตามมา

ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อถุงน้ำดีไม่ทำงานทำให้ย่อยสลายไขมันได้ ไม่ดี จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืดและผายลมหลังอาหารอยู่บ่อยๆ ตลอดจนผู้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคตับอ่อนอักเสบ และผู้ที่มีอาการท้อง ผูกล้วนเป็นสาเหตุของผายลมได้

 ผายลมกับพฤติกรรม

ผายลมนอกจากจะเกิดจากโรคภัยแล้ว ยังเกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ที่เราทำอีกด้วย

อาหารที่กระตุ้นการผายลมและมีกลิ่นเหม็น การทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในปริมาณที่มากกว่าผัก ทำให้แบคทีเรียที่สร้างแก๊สเติบโตได้ดีในลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด ตะกรันของอุจจาระค้างปีที่หลงเหลืออยู่ในลำไส้ใหญ่มาก เพราะอาหารประเภทนี้จะใช้เวลาย่อยประมาณ 72 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทำให้เกิดการหมักหมมทำให้เกิดเสียงและกลิ่นเหม็น นอกจากเนื้อสัตว์แล้วยังมี ถั่วแห้งต่างๆ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ขนมปังสด ช็อกโกแลต กาแฟ แตงกวา อาหาร ทอด ผัดกาดแก้ว ขนมหวานเมอแรง ถั่วลิสงไช้เท้า ครีม (นม) ปั่น เป็นต้น พฤติกรรมกระตุ้นผายลม ได้แก่ การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้อาหารย่อยไม่หมดและทำให้ท้องอืด หรือท้องไม่ทันอืดก็เรอออกมาเสียก่อน สุขภาพของฟัน เช่น ผู้สูงอายุที่ฟันไม่ดีทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด พูดมากหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง ทำให้ต้องกลืนลมเข้าท้องในปริมาณมาก ขาดการออกกำลังกาย เพราะการผายลมเกิดจากการบีดตัวของลำไส้ใหญ่ ซึ่งการทำงานของลำไส้ใหญ่มัก เป็นไปตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย การป้องกัน อย่ากลืนลมเข้าปาก เวลาที่คุณคอแห้งให้จิบน้ำครั้งละนิด ลดการกินของหวานมัน ซึ่งได้แก่ อาหารประเภทนม อาหารหวานมัน และขนมหวานๆ กินช้าๆ ค่อยๆ กินและเคี้ยวให้ละเอียดจะแก้ลมในท้อง ดื่มนมเปรี้ยว เพราะนมเปรี้ยวจะช่วยสร้างแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายซึ่งช่วยกำจัดลมที่เกิดจากเชื้อตัวอื่นๆ ได้ กินถ่านเม็ด สามารถช่วยลดลมในท้องได้ดี ดื่มน้ำส้มสายชูแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชา ผสมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้ว ดื่มหลังอาหาร เครื่องเทศ ได้แก่ กระวาน อบเชย กานพลู ลูกผักชี ขิงแห้ง ลูกจันทร์ นำทั้งหมดมาคั่วและป่นให้ละเอียดชงน้ำร้อนดื่มเวลาท้องอืด เวลากินถั่วให้แช่น้ำไว้นานๆ อย่างน้อย 12 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาต้มให้เปื่อย


Credit: http://www.metro-society.com/?c=1850&cateid=1
#ผายลม #ตด
poneag
Associate Producer
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
20 ก.ค. 55 เวลา 18:48 4,175 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...