พลิกแฟ้มประวัติศาสตร์ ตามรอยนักรบสู่ฐานอิทธิ อนุสรณ์แห่งผู้กล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์
คน ในยุคใหม่อาจรู้จักอำเภอเขาค้อเพียงแค่มีความสวยงามทางธรรมชาติและเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเท่านั้น หากย้อนกลับไปซักประมาณ 40 ปีที่แล้ว เขาค้อเคยได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งคอมมิวนิสต์ เป็นพื้นที่สีแดงที่คลุกกรุ่นไปด้วยควันไฟของการสู้รบจากผู้ที่มีแนวคิดทาง การเมืองที่แตกต่างกัน (ช่วง พ.ศ. 2511-2525 ) เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของพวกเราชาวไทยทั้งหลายที่เต็มไปด้วย นักรบผู้กล้า ทั้ง พลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ร่วมกันต่อสู้ปราบปรามเพื่อปกป้อง อธิปไตยของชาติ จากกลุ่ม ผกค. ที่ไม่หวังดี และได้สูญเสียทั้งชีวิตร่ายกายไปเป็นจำนวนมาก นับเป็นวีรบุรุษผู้กล้าที่ต้องจดจำและรำลึกถึง
ใกล้ถึงกันแล้ว อนุสาวรีย์ผู้เสียสละเขาค้อ
ป้อมบังเกอร์ของทหารที่เคยรบในช่วงเขาค้อ
แกะรอยนักรบเขาค้อ เพื่อย้อนรำลึกถึงเรื่องราวในอดีตของผู้กล้าและผู้เสียสละในสงครามเขาค้อ พร้อมกับเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ฐานยิงอิทธิและอนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ พร้อมรบหรือยังพี่น้อง ถ้าพร้อมแล้ว เรียบอาวุธหน้ากระดานเรียงหนึ่ง หน้าเดิน
ในยุค ช่วง พ.ศ. 2511-2525 ที่เขาค้อถือเป็นดินแดนต้องห้ามที่คนทั่วไปไม่ควรเฉียดเข้าไปใกล้แม้แต่น้อย เพราะถือว่าอันตรายสุดๆแต่เมื่อเวลาผันผ่านไป ความขัดแย้งยุติลง เขาค้อปรับเปลี่ยนกลายเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวอันโดดเด่น และสวยงามมีเสน่ห์ที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์ เขาค้อ เป็นชื่อเรียกรวมบริเวณเทือกเขาน้อยใหญ่ ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ จนอาจพูดได้ว่าเป็นทะเลภูเขา เช่น เขาค้อ เขาย่า เขาใหญ่ เขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทราย เขาอุ้มแพร เป็นต้น มีต้นไม้มีลักษณะแปลกคือ ต้นค้อ ซึ่งเป็นต้นไม้ในตระกูลปาล์ม มีลักษณะต้นและใบคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทลายคล้ายหมาก ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบริเวณเขาค้อ สภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี
เครื่องบินขนส่งลำใหญ่
คูเลต ทางเดินเชื่อมต่อมาป้อมบังเกอร์ต่าง ๆ
ฐานกรุงเทพ
ในอดีต ตั้งแต่ พ.ศ. 2511-2524 พื้นที่เขาค้อ เป็นฐานที่มั่นอันสำคัญยิ่งของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาอย่างยาวนาน นับ 10 ปี มีทั้งกำลังพลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ถูกส่งเข้ามาประจำการเพื่อปราบปรามกวาดล้าง กลุ่ม ผกค. จนเกิดการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน ต้องสูญเสียทั้งกำลังคน อาวุธ ทรัพยากรของชาติมากมายทั้งสองฝ่าย เรียกว่าเป็นการทำสงครามที่มีระยะเวลายาวนานพอสมควรครับ
ในปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลใยสมัยนั้นได้ดำเนินยุทธวิธีการเมืองนำการทหาร พร้อมกับดำเนินการทางทหารอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง จนสามารถยึดพื้นที่เขาค้อทั้งหมดได้ คงเหลือไว้แต่ประวัติศาสตร์การสู้รบอันห้าวหาญ และวีรกรรมของวีรบุรุษ อยู่ ณ ที่ตั้งสถานที่สำคัญในการสู้รบของทั้งสองฝ่าย ร่องรอยของการต่อสู้ที่มีอยู่มากมายเกลื่อนกลาด ไม่ว่าจะเป็นสุสานของทหารกล้า และผู้เสียสละ อนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงผู้จากไป ฐานที่มั่นที่สู้รบกันอย่างหนักหน่วง สถานที่อยู่อาศัยของฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายเรา ร่องรอยการทำลายเผาระเบิด เขาค้อนอกจากจะสวยงามด้วยธรรมชาติแล้วยังเป็นพิพิธภัณฑ์การสู้รบกลางแจ้งที่ คอยตอกย้ำเตือนใจคนไทยทั้งหลายให้เกิดความรักความสามัคคีกลมเกลียวกันในชาติ ในตลอดไป
ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง
ค5 ขนาด 105 มม. ลูกปืนใหญ่มาก
ปืนยิงทางอากาศขับไล่เครื่องบิน
รคถัง รสพ.113 ของ ร.4 พัน 2 โดยจราจร RPG ของผกค.
เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป โดย ผกค.ผังตกบนเขาย่า
(หรือพังตกบนเขาหญ้า) กอล์ฟถามพี่ต่ายดูอีกทีนะจ๊ะ
ฐานอิทธิ (พิพิธภัณฑ์อาวุธ) บริเวณนี้เคยเป็นฐานปืนใหญ่ ยิงสนับสนุนการสู้รบ เป็นฐานสำคัญฐานหนึ่งในการเข้ายึดพื้นที่ ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ อยู่ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์และ เลย ฐานอิทธินี้มีประวัติการสู้รบมายาวนานกว่า 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 เป็นต้นมาฝ่ายรัฐบาลต้องสูญเสียกำลังพลและยุทโธปกรณ์ไปเป็นจำนวนมากเพื่อล้ม ล้างอิทธิพล ผกค. ในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2524 พตท. 1617 ซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้เอาชนะ ผกค. ในพื้นที่เขาค้อได้เปิดยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 1 เพื่อยึดและขับไล่ ผกค. บริเวณเขาค้อ การปฏิบัติฝ่ายเราสามารถยึดเขาค้อได้ภายใต้การยิงสนับสนุนของปืนใหญ่จากฐาน ยิงฯ สมเด็จ (ฐานยิงสนับสนุนสมเด็จนี้เป็นฐานของ พัน. ป.3403 จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์จาก ป.พัน.4) นครสวรรค์และป.พัน.104 พิษณุโลก ฐานยิงฯสมเด็จอยู่ห่างจากเขาค้อประมาณ 7 กม.) ความสำเร็จของยุทธการนี้ทำให้ฝ่ายเราก่อสร้างทางและขยายอิทธิพลเข้ามาในดิน แดนของ ผกค. อย่างรวดเร็ว การที่จะเอาชนะ ผกค. ในเขตงานเขาค้อให้ได้โดยเด็ดขาดนี้ จำเป็นต้องใช้กำลังฝ่ายเราที่มีอยู่ทั้งหมดเข้าโจมตีที่มั่นของ ผกค. บริเวณห้วยทรายทุ่งสะเดาะพง เขาตะเคียนโง๊ะ เขาปูและบ้านหนองแม่นา ดังนั้น พตท.1617 จึงมีนโยบายที่จะเปิดยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 2 ขึ้นเพื่อเข้าโจมตีที่มั่นของ ผกค. และได้ย้าย ป. จากฐานยิงฯสมเด็จมาตั้งบนเขาค้อ คือบริเวณฐานยิงฯ อิทธิ ในปัจจุบัน
ปืนพระพิรุณแสนห่า
ปืน AK ที่กลุ่มผกค. ใช้
ฐานยิงสนับสนุนแห่งนี้ทำการยิงให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ในพื้นที่จนสามารถ ยึดและทำลายที่มั่น ผกค. ได้อย่างสิ้นเชิง ต่อมาฐานแห่งนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ฐานยิงสนับสนุนอิทธิ เป็นอนุสรณ์แด่ พ.อ.อิทธิ สิมารักษ์ ผช.ผอ.พตท.1617 ผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ยึดพื้นที่เขาค้อคืนจาก ผกค.ในปี พ.ศ.2524 ซึ่งเสียชีวิตจากการบัญชาการรบบนเข้าค้อเพื่อนำผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตออก จากพื้นที่การต่อสู้ เมื่อ 17 พ.ย. 2523 และได้ยุติจนสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2525 ปัจจุบันฐานยิงสนับสนุนอิทธิได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการก่อสร้างเป็น พิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์การต่อสู้ของกองกำลังฝ่ายบ้านเมืองกับ ผกค. และในพื้นที่ยอดเนิน 1175 ได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์เรียกว่า อนุสาวรีย์ผู้เสียสละเขาค้อ
ภายในฐานอิทธิแห่งนี้ร่มรื่นไปด้วย ต้นไม้นานาพันธุ์ มีดอกไม้เมืองหนาวบานสะพรั่งสวยงาม มองเห็นทิวทัศน์เมืองเขาค้อได้อย่างสวยงามและในมุมกว้างอากาศเย็นสบายมาก ๆ มีลมพัดมาตลอดเวลา ในบริเวณด้านหน้าจะมีซากของรถถัง รสพ.113 ของ ร.4 พัน 2 ที่ถูกจรวจ RPG ของ ผกค.ยิงในการคุ้มกัน ถัดมาจะเป็นหอตรวจการ ฮต.-13 (OH-13) ถัดมาเป็นฐานยิงอินทรีย์กลืนช้าง เป็นปืนใหญ่บากกระสุนยิงวิถีโค้ง 95 ขนาด 105 มม. ลูกยิงใหญ่มากเลยครับ ตามมาด้วยฐานยิงพระยาตานี เป็นปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ลูกยิงใหญ่กว่าฐานแรกมากครับ หลังจากนั้นเราก็เจอกับรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบ หุ้มเกราะคันนี้ใช้ในการเปิดเส้นทางให้กับทหารของเรา ติดกันนั้นจะเป็นห้องแสดงประวัติของการรบที่เขาค้อมีรูปภาพให้ดู ห้องจำลองของหน่วยแผนที่ ห้องฟังบรรยาย และโซนนี้ผมชอบมากคือห้องแสดงอาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ของเหล่าทหารที่เสียสละชีพในการปฏิบัติในครั้งนั้น
วีรบุรุษเขาค้อ พ.ต.กายสิทธิ์ มณีนาค
อันนี้จำลองการอ่านแผนที่พิกัดแนว
นอกจากจะนำอาวุธปืนใหญ่ ซากรถถัง และอาวุธที่ใช้สู้รบ บนเขาค้อมารวมไว้มากมายแล้ว ภายในยังมีการจัดห้องบรรยายสรุปแก่ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะด้วย เปิดให้คนได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 07.00-17.00 น .ค่าเข้าชมคนละ 10 บาท หลังจากที่เราเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์อาวุธแล้ว เราก็จะพาไปอีกที่หนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ อนุสาวรีย์ผู้เสียสละเขาค้อ ไปกันเลยทหารหาญ ไปดูเหล่าวีระบุรุษผู้กล้าทั้งหลาย
อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ อยู่บนยอดเขาสูงอีกแห่งหนึ่งของเขาค้อ อยู่เลยฐานอิทธิ ไปอีก 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของพลเรือน ทหาร ตำรวจ ทหารผู้พลีชีพในการสู้รบเพื่อปกป้องพื้นที่ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511-2525 สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาค ของประชาชนและข้าราชการทุกฝ่าย สร้างด้วยหินอ่อนเป็นรูปสามเหลี่ยม หมายถึง การปฏิบัติการร่วมกันระหว่างพลเรือน ตำรวจ ทหาร ฐานอนุสรณ์สถานกว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ.2511 อันเป็นปีเริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นี้ ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถาน 24 เมตร หมายถึงพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่ ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตร หมายถึงปี 2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธ ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงปี 2526 อันเป็นปีเริ่มการก่อสร้างอนุสรณ์สถานผู้เสียสละแห่งนี้ ผนังภายในบันทึกประวัติอนุสรณ์สถาน และจารึกรายชื่อวีรชนผู้เสียสละทุกนายไว้เพื่อให้คนรุ่งหลังระลึกถึงพวกเขา เหล่านั้น เข้ามาในนี้แล้วเรารู้สึกได้ถึงความเศร้าหลังสงครามจบลง แต่ก็ช่วยย้ำเตือนให้คนไทยเรารักและสามัคคีกันในชาติมากขึ้น
รูปภาพยุทธการผาเมืองเผด็จศึก 1-2 หาดูยากนะ
อนุสาวรีย์ผู้เสียสละเขาค้อ
พระยาตานีปืนใหญ่กลางวิถีโค้ง 03 ขนาด 155 มม.
เห็นรูในรองเท้าไหม เป็นรอยถูกยิง เป็นอะไรที่สุดยอดมาก
ฮ.ลำเลียงพลในยุทธการผาเมืองเผด็จศึก เขาค้อปี2524
นักรบผู้กล้าชาร์จเข้าหาที่มั่น ผกค.
เป็นการเตรียมการก่อนเข้าตี ผกค.บริเวณเขาค้อ
การส่งกลับผู้ป่วยลงมาจากยุทธบริเวณ ตอนเข้าตีขั้นแตกหัก
ยุทธการ ผาเมืองเผด็จศึก ซึ่งเป็นปฏิบัติการของกองทัพภาคที่สามต่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์บริเวณเขา ค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ บทความบอกเล่าเรื่องราวความยากลำบากและวีรกรรมของทหารอาชีพในสมัยนั้นที่ ต่อสู้เพื่อปกป้องชาติและราชบัลลังค์โดยแท้จริง