22 กรกฎาคม สึนามิถล่มไทย เรื่องที่ต้องฟังหูไว้หู

?

เล่าลือกันให้แซด ณ เวลานี้ เป็นเรื่องของ "สึนามิ" ที่มีข่าวว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 ไม่ใช่แพร่หลายเฉพาะปากต่อปาก แต่มีทั้งโพสต์ข้อความทางอินเทอร์เน็ต "สึนามิ" ที่กล่าว เป็นเหตุการณ์ ที่คาดว่าจะเกิดคลื่นสึนามิ ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณหมู่เกาะฟิลิปปินส์ (รอยเลื่อนมะนิลา) ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2552

ซึ่งจะทำให้ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ ได้รับความเสียหาย แต่ไม่ระบุประเทศไทย มีการเตือนไม่ให้เดินทางไปเที่ยวชายทะเล ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความสับสน และกังวลกับข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เจ้าของงานวิจัยเรื่องน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ได้อธิบายถึงเรื่องสึนามิ ว่า ทางศูนย์ฯ ได้รับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกัน และไม่ได้นิ่งนอนใจจึงได้ทำการวิเคราะห์ และประเมินความเป็นได้ และความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

กล่าวคือ ในอดีตเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณนี้ประมาณ 7 ครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ.1677, 1781, 1852, 1872, 1915, 1924, 1934 โดยเฉพาะในปี ค.ศ.1781 มีรายงานว่าเหตุการณ์ทำให้ชาวไต้หวันเสียชีวิตกว่า 40,000 คน และ เพชรบุรี โดยมีความสูงคลื่นประมาณ 0.50-1.0 เมตร และจะปะทะเกาะสมุย และเกาะพะงัน ภายในเวลา 16 ชั่วโมง จากนั้นคลื่นยังคงเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เข้าสู่บริเวณอ่าวไทยภายในเวลา 18 ชั่วโมง โดยมีความสูงคลื่นน้อยกว่า 0.50 เมตร ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลจังหวัดตราด ระยอง พัทยา ชลบุรี รวมถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา

แม้ว่าความสูงคลื่นสึนามิจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน แต่คลื่นสึนามิเป็นคลื่นยาวที่มีพลังงานมากกว่าคลื่นชายหาดทั่วไป เปรียบได้กับรถไฟ (คลื่นสึนามิ) กับรถยนต์ (คลื่นทั่วไป) ที่วิ่งมาชนเรา

"วันที่ 22 กรกฎาคม เขาว่าแผ่นดินมันทรุด 40 เมตร แล้วที่รอยเลื่อนฟิลิปปินส์ เขาถึงคาดการณ์ว่ามันจะเกิดปีนี้ เราก็ไม่รู้จะเกิดจริงหรือไม่จริง แต่ถ้ามันเกิดขึ้นมา สงขลา ปัตตานี ปะทะคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความแรงขนาดนี้นี่ขาหักเลยนะ เพราะแรงและเร็วกว่าคลื่นดีเปรสชั่นธรรมดา ต้องหนีขึ้นฝั่งอย่างเดียว คลื่นจะสูงเท่าไหร่เราคำนวณไว้หมดแล้ว ซึ่งจะต้องประกาศเตือนประชาชนให้ทราบ

ในอดีตมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จากคลื่นสึนามิที่ไม่สูงมากนักในต่างประเทศ ดังนั้นจึงเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่หนีขึ้นฝั่ง ประกอบกับความเร็วกระแสน้ำที่มากับคลื่นอาจจะทำให้เรือต่างๆ ที่จอดอยู่เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น จึงต้องเฝ้าติดตามระบบเตือนภัยอย่างใกล้ชิด และหากเกิดขึ้นจริงอย่าว่ายน้ำ หรืออยู่ตามชายฝั่งเป็นอันขาด" เสียงเข้มๆ กล่าวเตือน และยังบอกด้วย ว่า อย่าลืมว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาทุกครั้ง กลไกการเกิดมีความสลับซับซ้อน

?และแม้ว่าปัจจุบันเราไม่สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวในระยะสั้นได้ (น้อยกว่า 1 ปี) แต่เมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเราสามารถพยากรณ์ และเตือนภัยการเกิดคลื่นสึนามิได้ ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวมีความเร็วมากกว่าคลื่นสึนามิ ทำให้สามารถตรวจจับ และวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหว ก่อนที่คลื่นสึนามิจะเดินทางมาถึง อย่างไรก็ตาม ระบบตรวจวัดโดยทุ่นลอย หรือสถานีวัดคลื่นมีความจำเป็นในการยืนยันการเกิดสึนามิได้แม่นยำที่สุด

"ภัยพิบัติจะมาเมื่อเราลืมมัน" ดังนั้นทุกคน ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงต้องเรียนรู้ ฝึกฝน ทบทวนการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ เช่นเดียวกับเหตุการณ์ 22 กรกฎาคม ที่คาดว่าจะเกิดสึนามิ หากเตรียมพร้อมรับมืออย่างเต็มที่แล้ว ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินย่อมมีอย่างแน่นอน แม้ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม

?

Credit: มติชน
17 ก.ค. 52 เวลา 16:08 5,375 17 74
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...