เชื่อหรือไม่ ในเมืองไทยมีผู้ถูกตัดสินจำคุกนานถึง ๑๔๑,๐๗๘ ปี

 

เป็นคดีที่มีการตัดสินจำคุกเป็นเวลานานที่สุดในประวัติศาตร์ชาติไทย ......

คดีดังกล่าวเป็นคดีความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงจากการระดมเงินจากประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2520 ถึงปี 2528 โดยการระดมเงินจากประชาชนในรูปการเล่นแชร์น้ำมัน และ มีประชาชนเสียหายตกเป็นเหยื่อของความโลภ หลายหมื่นคน
 

 

คดีแชร์ชม้อย หรือคดี นางชม้อย ทิพย์โส คดีนี้กล่าวหา นางชม้อย ทิพย์โส หรือประเสริฐศรี หรือที่ประชาชนเรียกติดปากว่า แม่ชม้อย กับพวกรวม 10 คน ผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และ ฝ่าฝืนพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน 

คดีดังกล่าวเป็นคดีความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงจากการระดมเงินจากประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2520-2528 โดยการระดมเงินจากประชาชนในรูปการเล่นแชร์น้ำมัน ซึ่งนางชม้อย ทิพย์โส ได้คิดค้นขึ้น มีผู้เสียหายจำนวน 13,248 คน รวมให้กู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 23,519 ครั้ง ทำสัญญากู้ยืมทั้งสิ้น 23,519 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,043,997,795 บาท และผู้เสียหายที่ให้กู้ยืมเงินภายหลังพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ประกาศใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2528) เป็นผู้เสียหายจำนวน 2,983 คน รวมให้กู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 3,641 ครั้ง ทำสัญญากู้ยืมทั้งสิ้น 3,641 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 510,584,645 บาท 

พฤติการณ์

 


นางชม้อย ทิพย์โส ได้คิดค้นวิธีการหลอกลวงประชาชนขึ้นโดยอ้างว่า ดำเนินกิจการค้าน้ำมันทั้งในและนอกประเทศ โดยจัดตั้งบริษัทค้าน้ำมันชื่อ บริษัท ปิโตเลียม แอนด์ มารีน เซอร์วิส จำกัด ทำการค้าน้ำมันทุกชนิด มีเรือเดินทะเลสำหรับขนส่งน้ำมันทั้งในและนอกประเทศ ได้ชักชวนประชาชนให้มาเล่นแชร์น้ำมัน โดยวิธีการรับกู้ยืมเงินจากประชาชนและให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงเป็นรายเดือน โดยกำหนดวิธีการรับกู้ยืมเงินเป็นคันรถบรรทุกน้ำมันคันรถละ 160,500 บาท ให้ผลตอบแทนเดือนละ 12,000 บาท หรือร้อยละ 6.5 ต่อเดือน หรือร้อยละ 78 ต่อปี และในเดือนธันวาคมของทุกปีจะหักเงินไว้ร้อยละ 4 ของผลประโยชน์ที่ได้รับในรอบปี เพื่อเก็บภาษีการค้าและหักค่าเด็กปั้มไว้อีกเดือนละ 100 บาท ตามจำนวนเดือนที่นำเงินมาให้กู้ยืมโดยจะออกหลักฐานไว้ให้เป็นสัญญากู้ยืมเงินตามแบบที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด หรือบางรายจะออกหลักฐานให้เป็นเช็ค โดยผู้ให้กู้ยืมสามารถเรียกคืนเงินต้นเมื่อใดก็ได้และจะกลับมาให้กู้ยืมอีกก็ได้ในเงื่อนไขเดิม 

นางชม้อย ทิพย์โสได้จ่ายผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ตรงตามเวลาที่ นัดหมายทุกเดือน นอกจากนั้นในรายที่จะถอนเงินต้น ก็สามารถถอนได้ทุกราย อีกทั้งนางชม้อยยังทำงานอยู่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยอีกด้วย ทำให้หลงเชื่อนำเงินไปให้ผู้ต้องการกู้ยืมโดยมีผู้ถูกหลอกลวงกว่าหมื่นรายและวงเงินหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 10,000,000,000 บาท ในช่วงแรกผู้ให้กู้ยืมอยู่ในหมู่ผู้ที่มีฐานะการเงินดี แต่ต่อมาได้แพร่หลายออกไปรวมทั้งประชาชนในต่างจังหวัดก็นิยมและได้แพร่หลายลงไปถึงประชาชนผู้มีฐานะการเงินไม่ดีก็สามารถเล่นได้ โดยแบ่งเล่นเป็นล้อคือ หนึ่งในสี่ของจำนวนเงินต่อคันรถน้ำมัน 

มีประชาชนและผู้เสีย-หายในคดีนี้จำนวน 13,248 คน หลงเชื่อ ซึ่งต่างคนต่างให้กู้ยืมเงินไป 23,519 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,043,997,795 บาท และได้ทำหนังสือสัญญากู้ไว้จำนวน 23,519 ฉบับ เพื่อเป็นหลักฐาน 

 

 

 

 

ผลการพิจารณาคดีของศาลอาญา


คดีนางชม้อย ทิพย์โส ได้ใช้เวลาสืบพยานในศาลเป็นเวลาประมาณ 4 ปี จนศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเมื่อ 27 กรกฎาคม 2532 ศาลอาญาจึงได้พิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก 83 รวม 23,519 กระทง ฐานฉ้อโกงประชาชนตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4,5,12 รวม 3,641 กระทง เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้เรียงกระทงลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป โดยจำคุกจำเลยทั้งแปด ฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก กระทงละ 5 ปี รวม 23,519 กระทง จำคุกคนละ 117,595 ปี ฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามพระราชกำหนดการกูยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4,5,12 กระทงละ 10 ปี รวม 3,641 กระทง จำคุกคนละ 36,410 ปี รวมจำคุกคนละ 154,005 ปี 

แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงความผิดแล้ว คงจำคุกทั้งสิ้นคนละ 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (2) ที่แก้ไขแล้ว และให้จำเลยทั้งแปดคนร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงประชาชน รวมจำนวน 4,043,997,795 บาท แก่ผู้เสียหายแต่ละคนตามบัญชีท้ายฟ้องหมายเลย 1 และ ร่วมกันคืนเงินกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน รวมจำนวน 510,584,645 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แก่ผู้เสียหายแต่ละคนตามบัญชีท้ายฟ้องหมายเลข 2 นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะคืนเงินเสร็จคดี ดังกล่าวได้ถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์ ซึ่งเมื่อมีคำพิพากษาแล้วทรัพย์สินของนางชม้อยฯ กับพวกได้ถูกเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้เสียหายในคดี 

แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงคงจำคุกทั้งสิ้นคนละ 20 ปี เพราะประมวลกฎหมายอาญาให้จำคุกไม่เกิน 20 ปี และให้นางชม้อย กับพวกร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงด้วย นางชม้อย จำคุกอยู่ในเรือนจำเพียง 7 ปี 11 เดือน 5 วัน เพราะได้รับการลดลงโทษ 2 ครั้ง และพ้นโทษเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2536 

Credit: www.atcloud.com ,วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ,
21 ม.ค. 53 เวลา 23:13 11,664 5 128
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...