ความจริง ..เกี่ยวกับน้ำคลอโรฟิลล์

ความ จริง!! เกี่ยวกับน้ำคลอโรฟิลล์ ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้าง เกี่ยวกับน้ำคลอโรฟิลล์ มาพักใหญ่ๆ สงสัยอยู่ครามครัน ว่ามันอะไรกัน เพราะเรียนมาทางนี้ (ที่เกี่ยวกับคลอโรฟิลล์) โดยเฉพาะ จากครั้งแรก เดินงานขายของ ก็มีคนขายยื่นใบปลิว โฆษณาน้ำคลอโรฟิลล์มาให้ แถมพูดถึงสรรพคุณอันหลากหลาย ไอ้เราคนฟังก็ ได้แต่อึ้ง โอ้ เป็นไปได้ขนาดนี้กันเลยเหรอ ครั้งต่อๆ มา ห่างกันเป็นเดือน กระแสคลอโรฟิลล์ดังจนฉุดไม่อยู่ สรรพคุณมากมายยังกะกินแล้ว ร่างกายจะแสนสะอาดซะงั้นล่ะ อดรนทนไม่ไหว เขียนสักหน่อยเป็นไร ไหน ๆ ก็เรียนมาทางที่เกี่ยวกับพืชแล้ว ข้อมูลแรก คือการโทรถามเพื่อนที่เป็นหมอ ทางการแพทย์เขามองยังไงเรื่องน้ำคลอโรฟิลล์ จะเขียนอะไรก็ให้มันมีข้อมูลยืนยันได้สักหน่อย เอาล่ะ มาฟังที่เขาโฆษณากันก่อนดีกว่า (ขอยกตัวอย่างมาให้ดู) ขอย้ำ ว่านี่คือการโฆษณา!!!! ประวัติการค้นคว้า ในปี 1961 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Melvin Calvin ได้รับรางวัลโนเบล ในการค้นคว้าความสัมพันธ์ของคลอโรฟิลล์ในใบพืช มีส่วนสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง ในปี 1915 Dr.Richard Wilstatter ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ จากนั้นเพียง 15 ปี Dr.Hans Fisher ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบโครงสร้างของอะตอมเม็ดเลือดแดง (Heme) มีโครงสร้างเหมือนคลอโรฟิลล์ จากงานวิจัยสรุปได้ว่า เมื่อร่างกายได้รับคลอโรฟิลล์บางส่วนของคลอโรฟิลล์จะถูกเปลี่ยนเป็นฮีม ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพิ่มมาขึ้น พลิกไปอีกหน้า ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มปริมาณเลือดให้กับร่างกาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำพาออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ ช่วยขจัดสารพิษในเลือด ตับ และไต ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับสมดุลในร่างกาย ให้ความสดชื่น ผิวพรรณสดใน ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ฯลฯ แล้วคราวนี้เรามาดู ความจริงเกี่ยวกับคลอโรฟิลล์ Richard Willstaetter ค้นพบเม็ดสีหลายชนิดในพืชรวมทั้งสีแดงในเลือดของมนุษย์ จากการริเริ่มงานดังกล่าวทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี คศ 1915 ซึ่งนับว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับคลอโรฟิลล์ จากนั้น Hans Fischer นักชีวเคมีชาวเยอรมัน พบว่า คลอโรฟิล์ดเป็นพิคเมนท์สีเขียวที่พบในพืช และเฮมินเป็นพิคเมนท์สีแดงที่อยู่ในฮีโมโกบิลในเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ จากผลงานดังกล่าวทำให้เขาได้รับรับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี คศ 1930 แต่เสียชีวิตก่อนที่จะสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ได้สำเร็จ ปี คศ 1960 Robert Burns Woodward สามารถสังเคราะห์คลอโรฟิลล์เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นมา จนถึงปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความรู้เกี่ยวกับคลอโรฟิลล์และบทบาทที่ สำคัญในพืช หากต้องการค้นเพิ่มเติม สามารถค้นได้จากเวบไซต์ของผู้ที่ได้รับราววัลโนเบล (ซึ่งไม่รวมงานวิจัยอีกมหาศาลที่ นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้รับรางวัลโนเบลได้เผยแพร่ผลงานไว้) Reference: Chloroplast model from http://www.daviddarling.info/encyclopedia/C/chloroplasts.html คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เป็นเม็ดสีที่พบในพืช ผัก สาหร่ายสีเขียว ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นน้ำตาลกลูโคส โดยต้องทำงานร่วมกับโปรตีนชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในพืช ปกติคลอโรฟิลล์จะอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า คลอโรพลาส (chloroplast) คลอโรฟิลล์มีโครงสร้างโมเลกุลของ porphyrin ซึ่งคล้ายกับ heme ใน hemoglobin ในเลือดของมนุษย์ แต่ก็เป็นเพียงความคล้ายคลึงกันของโมเลกุล โดยอะตอมกลางของคลอโรฟิล์ดจะเป็นแมกนีเซียม ส่วนอะตอมกลางของ heme เป็นเหล็ก คลอโรฟิล์ดจะทำหน้าที่ได้ก็ต้องอยู่ในพืชที่มีชีวิตและทำงานร่วมกับโปรตีน อื่นๆที่อยู่ในเซลล์พืช ทำให้มนุษย์และสัตว์ที่บริโภคผักสีเขียวได้รับสารอาหารแมกนีเซียมไปด้วย และไม่ต้องสงสยว่าเมื่อดื่มคลอโรฟิล์ดเข้าไปจะทำให้คุณมีความสามารถในการ สังเคราะห์แสงได้ เพียงกรดในกระเพาะอาหารก็เพียงพอจะทำให้คลอโรฟิล์ดถูกย่อยไปแล้ว เอาล่ะ มาดูแต่ละประเด็นกัน ช่วยเพิ่มปริมาณเลือดให้กับร่างกาย การวิจัยทางทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์แค่บอกว่าโมเลกุลคล้ายกัน ไม่ได้บอกว่าทำหน้าที่เหมือนกัน เหมือนกับ การที่นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าเหล็กเป็นอะตอมกลางของเม็ดเลือดแดง ก็ไม่ใช่ว่าเราจะกินเหล็ก โดยการแทะ แท่งเหล็กได้ จริงไม๊ ในส่วนร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดงถูกสร้างจากไขกระดูก ดังนั้นการที่กินน้ำคลอโรฟิลล์เข้าไป มันอยู่ในระบบย่อยอาหาร สารอาหารที่ถูกย่อยจะต้องถูกย่อยแล้วดูดซึมผ่านกระแสเลือด ในรูปของน้ำตาลและแร่ธาตุ ส่วนกระแสเลือดเป็นอีกระบบนึง ซึ่งในคลอโรฟิลล์ ไม่มีโมเลกุลของเหล็ก การเพิ่มปริมาณการสร้างเม็ดเลือด ทำได้โดยกินธาตุเหล็ก สังเกตได้จาก เมื่อเราบริจาคเลือด ทางสภากาชาดไทย จะให้ซองวิตามินเม็ดสีแดงๆ ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ (สภากาชาดไทย ไม่ได้แนะนำให้คนบริจาคเลือดกินน้ำคลอโรฟิลล์นี่นา) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำพาออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ อันนี้ก็นึกไม่ออกเหมือนกัน ปกติถ้าร่างกายแข็งแรง ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ ร่างกายจะมีสมดุลของตัวเองอยู่แล้ว การนำพาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เป็นหน้าที่ของปอด และเม็ดเลือดแดง ดังนั้นดูจากความเป็นไปได้ คลอโรฟิลล์ก็ยังไม่เกี่ยวกับขบวนการนี้อยู่ดี ช่วยขจัดสารพิษในเลือด ตับ ไต ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับสมดุลให้กับร่างกาย ให้ความสดชื่น ผิวพรรณสดใส ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น หลาย ๆ ประเด็นตรงนี้ ขออธิบายแบบรวมยอด เท่าที่พอทราบ น้ำคลอโรฟิลล์ที่เขาขายจะเน้นว่าให้ดื่มเป็นจำนวนเท่าไรต่อวัน เช่น 1-2 ลิตร ปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการต่อวัน ทางสาธารณสุขก็บอกไว้จนเป็นที่รู้กัน ว่าควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ซึ่งน้ำ ดื่มเท่าไร ก็ช่วยขจัดพิษและล้าง ทำความสะอาดร่างกายได้มาก ทำให้ระบบขับถ่ายไหลเวียนดี แน่นอนว่าทำให้สมดุลของร่างกายดีขึ้น แล้วร่างกายจะสดชื่นขึ้นไหม นึกถึงเวลาร้อนๆ แล้วเราได้ดื่มน้ำเย็นๆ มันจะสดชื่นแค่ไหน เมื่อระบบขับถ่ายดี ทั้งทางผิวหนังและทางลำไส้ แน่นอนว่าร่างกายจะมีระบบที่ดี สุขภาพที่ดี ย่อมแสดงออกมาทางผิวหนัง และร่างกาย เหมือนที่เคยได้ยินกันว่า You are what you eat มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ฯลฯ ไม่เคยมีรายงานว่า คลอโรฟิลล์เป็น antibacteria และเสริมภูมิต่างทานให้กับร่างกาย แต่หากมองในมุมที่ว่า เมื่อร่างกายแข็งแรง ทุกระบบของร่างกายทำงานอย่างสมดุลและสอดคล้องกัน ร่างกายย่อมมีความสามารถในการต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นหมายถึง ร่างกายมีความสามารถที่จะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดีด้วย เอาล่ะ อ่านมากันจนตาแฉะ ไม่รุจะงงไหม แต่คนเขียนเริ่มตาลาย หากจะหาน้ำคลอโรฟิลล์กินล่ะก็ น้ำใบบัวบกก็มีค่ะ ทำกินเองง่ายๆ ผักสด ผลไม้สด สีเขียวๆ ได้ใยอาหารและวิตามินอีกด้วย สรุปว่ารักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย และรับประทานผักและผลไม้เยอะ ๆ ร่างกายก็จะแข็งแรงค่ะ ที่สำคัญ จิตใจที่ดีอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง ถ้าจิตใจดี ร่างกายดี คงไม่ต้องถามหายาวิเศษจากไหน

Credit: nw
6 ก.ค. 55 เวลา 21:29 4,749 9 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...