ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

หลัง จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสรับสั่งแนะแนวทางการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงอยู่ สมควรที่พวกเราได้ทบทวนพระราชกระแสกันอีกสักครั้ง เพื่อให้พวกเราได้ “ใจดี สู้เสือ” กัน ต่อไป เพื่อนำให้ตัวเราและชาติบ้านเมืองได้ผ่านมรสุมร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะ นี้ ด้วยสติที่มั่นคง ปัญญาที่เฉียบแหลม และด้วยความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทยให้ยึดมั่นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและยึดมั่นวิถีชีวิตไทย อันนำมาสู่พวกเราชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อไปชั่วกาลนาน

 

                              

 

                     ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า๓๐ปีและได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทโดยคำนึงถึงความพอประมาณ

ความมีเหตุผลการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีตลอดจนใช้ความรู้

 

และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตการป้องกันให้รอดพ้น

จากวิกฤตและให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้

กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

และชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนใน

ทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ

ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน  ทางสายกลาง

โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์

ความพอเพียงหมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน  ในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล

กระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวัง

อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและ

การดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้าง

พื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต

 

และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน

ความเพียรมีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้

สมดุลและ พร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก

ภายนอกได้เป็นอย่างดี

 

  

 

 

 

 

 

   “...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย

         เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย

           ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ

               มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง

                     หมายความว่าพอประมาณ

                    ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก

                         คนเราก็อยู่เป็นสุข...”

 

 

             พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

                                 ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑                                                                                                   

 

Credit: เต้ย และเว็บต่างๆ
30 มิ.ย. 55 เวลา 00:00 5,952 3 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...