นักวิทยาศาสตร์เผยซากฟอสซิลของเต่าเพศผู้และเพศเมียสองตัวซึ่งเสียชีวิตขณะที่พวกมันกำลังมีเซ็กซ์
ฟอสซิ ลดังกล่าว เชื่อว่ามีอายุย้อนไปราว 47 ล้านปีที่แล้ว ถูกค้นพบที่เขตเมสเซล พิต พื้นที่มรดกโลกซึ่งมีความโดดเด่นในด้านบรรพชีวินวิทยา ใกล้กับเมืองดาร์มชตัดท์ ประเทศเยอรมนี เป็นซากฟอสซิลของเต่าเพศผู้และเพศเมีย โดยหางของตัวผู้ถูกสอดเข้าไปใต้หางของตัวเมีย ซึ่งคาดว่าเป็นท่าขณะที่ทั้งสองตัวกำลังร่วมเพศกันอยู่
โดย ในรายงานการศึกษาที่เผยแพร่ในจดหมายข่าวสมาคมวารสารชีววิทยา ระบุว่า นักวิจัยคิดว่าแต่เดิมทีเต่าน่าจะอยู่ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์บริเวณผิวน้ำ ของทะเลสาบ ซึ่งเคยตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ก่อนที่จะจมลงในพื้นดินที่แยกออกเพื่อปลดปล่อยก๊าซจากภูเขาไฟ โดยนับตั้งแต่นั้น เต่าทั้งสองตัว ซึ่งยังคงอยู่ในท่าเดิม ก็ถูกฝังอยู่ใต้ก้นทะเลสาบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นัก วิทยาศาสตร์กล่าวว่า สภาพฟอสซิลเช่นนี้ ปัจจุบันสามารถพบได้ตามทะเลสาบภูเขาไฟบางแห่งในแอฟริกาตะวันออก โดยในทุกๆ 200-300 ปี ทะเลสาบเหล่านั้นก็จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเปิดขวดแชมเปญ และจะสร้างสารพิษที่ทำลายทุกสิ่งรอบตัวมัน
เต่า สายพันธุ์ดังกล่าว เป็นสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์แล้ว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allaeochelys crassesculpta มีขนาดความยาวประมาณ 20 ซม. ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย โดยสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่คือ"เต่าหมูบิน" (Carettochelys insculpta) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในปาปัว นิวกีนี และออสเตรเลีย
ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบซากพืชซากสัตว์จำนวนมาก รวมถึงซากฟอสซิลเต่าซึ่งได้รับการพิสูจน์แน่ชัดแล้วว่าเป็นตัวผู้และตัวเมีย กว่า 9 คู่ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าทางที่ใกล้เคียงกับที่ค้นพบล่าสุด โดยในคู่อื่นพบว่าทั้งสองตัวอยู่ห่างกันไม่เกิน 30 ซม. ซึ่งหากว่าไม่ใช่ อาจเป็นไปได้ว่าเป็นเต่าตัวผู้สองตัวที่กำลังต่อสู้กัน
ทั้ง นี้ ซากฟอสซิลเต่าดังกล่าว ถือเป็นฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังเพียงประเภทเดียว ที่ถูกรักษาไว้ในสภาพที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กัน ขณะที่ในกรณีของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีการพบตัวอย่างซากสัตว์จำนวนมาก โดยเฉพาะแมลงที่ถูกพบในซากอำพันหรือยางไม้