ทำไม ฃ (ขวด) และฅ (คน) จึงหายไปจากภาษาไทยร่วมไขปริศนาที่นี่ !!

พิมพ์ดีดรุ่นแรกของสยาม ที่มีชื่อว่า Smith Premier เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 และถือเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องตัดการใช้พยัญชนะ "ฃ" และ "ฅ" ออกไป และใช้ "ข" และ "ค" แทน เนื่องจากไม่สามารถวางพยัญชนะภาษาไทยทั้งหมดบนแป้นพิมพ์ เครื่อง Smith Premier ได้หมด

 



เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยกำเนิดขึ้นในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ Mr.Edwin Hunter Macfarland หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่เกิดในสยาม ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้เกิดความคิดที่จะสร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๔ และได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อสำรวจว่าจะมีบริษัทใด ที่สนใจผลิตเครื่องพิมพ์ดีดเป็นภาษาไทยบ้าง ซึ่งก็พบว่าบริษัท Smith Premier ในเมือง New York สนใจที่จะร่วมผลิต ดังนั้น Mr.Macfarland จึงได้ร่วมมือกับบริษัท Smith Premier ผลิตต้นแบบเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น โดยได้ร่วมกันออกแบบและวางตำแหน่งตัวอักษรไทยที่จะใช้บนเครื่องพิมพ์ดีดได้ สำเร็จ ลักษณะเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยจาก Smith Premier นั้น เป็นแบบแคร่ตาย (แคร่พิมพ์ไม่เลื่อน) และมีแป้นพิมพ์ ๗ แถว ไม่มีแป้นยกอักษรบน (Shift key) จึงยังไม่สามารถพิมพ์โดยวิธีพิมพ์สัมผัสได้ (Touch Typing)

ต่อ มาในปี พ.ศ.๒๔๓๕ Mr.Macfarland ได้นำเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรกยี่ห้อ Smith Premier เข้ามาถวายรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองพิมพ์และเป็นที่พอพระราชหฤทัยอย่างมาก จึงถือได้ว่ารัชกาลที่ ๕ เป็นนักพิมพ์ดีดไทยพระองค์แรก หลังจากนั้นพระองค์ได้ทรงสั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดดังกล่าวเข้ามาใช้ในราชการ สยามเป็นครั้งแรกจำนวน ๑๗ เครื่อง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๘ Mr.Edwin Macfarland ได้ถึงแก่กรรม กรรมสิทธิ์ในเครื่องพิมพ์ดีด Smith Premier จึงตกแต่ Dr.George Bradley Macfarland (พระอาจวิทยาคม) ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งเป็นผู้สั่งเครื่องพิมพ์ดีดไทย Smith Premier เข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ.๒๔๔๐ โดยวางขายที่ร้านทำฟันของท่านเอง จนถึง พ.ศ.๒๔๔๑ จึงได้ตั้งห้างสมิทพรีเมียร์ขึ้นที่หลังวังบูรพา ซึ่งปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างมากในวงราชการและบริษัทห้างร้าน

 





รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาเข้าชมที่:
www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/smithpremier

Credit: http://www.siamflag.org/
16 มิ.ย. 55 เวลา 22:17 9,959 8 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...