เนื้อ ร้องเพลงชาติสยาม ฉบับแรก (ไม่ใช่ฉบับทางการ) ประพันธ์โดย ขุนวิจิตรมาตรา ในปีพ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งมีการห้ามใช้เนื้อร้องนี้เป็นเพลงชาติสยาม เพราะมีคำว่า "ยึดอำนาจ" อยู่ในบทร้อง โดยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในผลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ สมัยที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๔๗๖ หน้า ๕๐๓ มีการระบุชัดเจนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการได้สั่งห้ามนักเรียนร้องเพลงชาติ เพราะมีคำว่า "ยึดอำนาจ" เห็นว่าเป็นคำแสลง ส่วนผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติสยาม คือพระเจนดุริยางค์ และทำนองเพลงชาติสยามนี้ก็ยังคงใช้ทำนองเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงทำนองเพลงชาติไทยทุกวันนี้
เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุด ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. ๒๔๗๖ มีดังนี้:
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา
ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ
ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย
ต่อมา จึงแต่งใหม่โดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) เป็นผู้แต่งทำนอง และขุนวิจิตรมาตรา
(สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง และเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์นี้ก็ได้ปรับเปลี่ยน
บางคำบางส่วนจากฉบับแรกในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ (ฉบับไม่เป็นทางการ) เนื่องจากมีคำว่า "ยึดอำนาจ"
อยู่ในเนื้อร้อง จึงต้องปรับเปลี่ยนและประกวดใหม่และประกาศเป็นเพลงชาติฉบับราชการในราช
กิจจานุเบกษาในปี พ.ศ. 2477 ตามที่ท่านจะได้ฟังในอยู่ตูปนี้
แผ่นดินสยาม นามประเทือง ว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครอง ตั้ง ประเทศเขตต์แดน สง่า
สืบเผ่าไทย ดึกดำบรรพ์ โบราณลงมา
รวมรักษาสามัค คีทวีไทย
บางสมัยศัตรู จู่โจมตี
ไทยพลีชีพ ร่วมรวม รุกไล่
เข้าลุยเลือด หมายมุ่ง ผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณ รอด ตลอดมา
อันดินสยาม คือว่า เนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือ ว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์ คือเจดีย์ ที่เราบูชา
เราจะสามัค คีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศ เอกราชจงดี
ใครย่ำยี เราจะไม่ ละให้
เอาเลือดล้าง ให้สิ้น แผ่นดินของไทย
สถาปนาสยาม ให้เทอดไทย ไชโย
การถือกำเนิดเพลงชาติไทยมีขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ โดยมีหลักฐานยืนยันอยู่ในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๖ หน้า ๕๐๓ (ย่อหน้าสุดท้ายของหน้า ... นายชุณห์) - หน้า ๕๐๕
ขอ ขอบคุณ อาจารย์อานันท์ นาคคง และคุณนวลอนงค์ นาคคง สำหรับการเอื้อเฟื้อร้องประสานเสียงเพลงชาติสยาม เนื้อร้องฉบับแรก (ฉบับไม่เป็นทางการ) นี้
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.t-h-a-i-l-a-n-d.org
และhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=627f2264e2172beb