2. ไอโอ ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
ไอโอเป็นดวงจันทร์ที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟทั่วทุกพื้นที่ และมันก็ปะทุอยู่ตลอดเวลาด้วย ดังนั้น มันจึงถูกสรุปว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตใด ๆ อยู่บนดาวดวงนี้อย่างแน่นอน เพราะภูเขาไฟบนพื้นผิวดาวจะพ่นลาวาออกมาได้ตลอด ละลายและทำลายล้างทุกอย่างบนพื้นผิว ไม่เพียงเท่านั้น มันยังได้ชื่อว่าเป็นภูเขาไฟแห่งอวกาศด้วย เพราะการปะทุของภูเขาไฟอาจสูงถึง 300 กิโลเมตรเลยทีเดียวเชียว
ไอโอ ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
3. ยูโรปา ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
ยูโรปาเป็นดวงจันทร์ที่มีพื้นผิวราบเรียบที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ทุกดวงในระบบสุริยะ ซึ่งนั่นเป็นเพราะพื้นผิวของมันมีมหาสมุทรเป็นผืนแผ่นเดียวกันและมีเปลือกน้ำแข็งปกคลุมทั่วพื้นผิว มีน้ำอยู่ภายใต้พื้นผิวมากกว่าโลกถึง 2-3 เท่า และแน่นอนว่ามันมีแนวโน้มว่าจะมีสิ่งมีชีวิตใต้พื้นผิวด้วย นับว่าเป็นดวงจันทร์อีกดวงที่น่าสนใจน่าติดตามดูต่อไปมากเลยล่ะ
ยูโรปา ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
4. ไทรทัน ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
ไทรทัน เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน มันน่าสนใจตรงที่เป็นดาวอีกดวงที่มีก๊าซไนโตรเจนนอกเหนือจากโลกและดวงจันทร์ไททันที่ได้นำเสนอเรื่องราวไปแล้วข้างต้น และน่าสนใจอีกครั้งตรงที่เป็นดวงจันทร์ภูเขาไฟน้ำแข็งดวงเดียวในระบบสุริยะ และเป็นดาวที่เย็นที่สุดในระบบสุริยะด้วย สภาพภูมิประเทศของมันเป็นหุบเหว และอุณหภูมิที่ต่ำก็ทำให้มันมีน้ำแข็งบนพื้นผิว และมีภูเขาไฟน้ำแข็งที่พ่นน้ำพุแรงดันสูงขึ้นฟ้า แถมมีลักษณะดาวแวววาวจากหินแข็งบนพื้นผิว จึงนับเป็นดวงจันทร์ที่สวยงามดวงหนึ่งในระบบสุริยะ
ไทรทัน ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
5. เอนเซลาดัส ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
เอนเซลาดัส มีความแปลกประหลาดตรงที่มันเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีอิทธิพลทางเคมีต่อดาวเคราะห์แม่ นั่นก็คือดาวเสาร์ มันจะพ่นไอน้ำออกมาสู่ดาวเสาร์ตลอดเวลา ทำให้ไอน้ำที่มันพ่นออกมานั้นก่อรูปเป็นเมฆรัศมีล้อมรอบดาวเสาร์ เป็นหนึ่งในหลายปฏิกิริยาที่ทำให้ดาวเสาร์มีวงแหวนล้อมรอบนั่นเอง
เอนเซลาดัส ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
6. เอพะมีธีอูส และเจนัส ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
เอพะมีธีอูส และเจนัส เป็นดวงจันทร์คู่ที่เดินทางไปพร้อม ๆ กันรอบดาวเสาร์ แน่นอนว่ามันมีวงโคจรที่แทบจะไม่ต่างกันเลย ใช้เวลาโคจรรอบดาวเสาร์ 0.69 วัน แต่ถึงมันจะโคจรไปพร้อม ๆ กันเหมือนดาวแฝดอย่างนั้น มันก็ยังมีระยะทางโคจรใกล้-ห่างไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา โดยระยะทางที่มันใกล้กันที่สุดอยู่ที่ 9,970 กิโลเมตร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ครั้งหนึ่งมันคงเคยเป็นดาวดวงเดียวกันเป็นแน่
เอพะมีธีอูส และเจนัส ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
7. แดคทิล ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยไอดา
แม้ว่าไอดาจะเป็นเพียงดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ แต่ไม่น่าเชื่อว่ามันมีดวงจันทร์บริวารด้วย นั่นก็คือ แดคทิล ซึ่งนับว่าเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น
แดคทิล ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยไอดา
8. คาลลิสโต ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
คาลลิสโตเป็นดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสที่อยู่ห่างดาวพฤหัสมากที่สุด และจัดเป็นดวงจันทร์ที่มีหลุมมีปล่องมากที่สุดในระบบสุริยะ แต่น่าแปลกที่มันไม่มีกิจกรรมทางธรณีวิทยาบนดาวเลย รูปร่างลักษณะพื้นผิวของมันไม่เคยเปลี่ยนมากว่า 4 พันล้านปีแล้ว
คาลลิสโต ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
9. มิรันดา ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
มิรันดาเป็นดวงจันทร์ที่หน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ที่สุดในระบบสุริยะ มันมีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เห็น พื้นผิวเต็มไปด้วยหุบเหว หินผามากมาย และมันยังเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ที่มีภูมิประเทศหลากหลายที่สุดในระบบสุริยะ
มิรันดา ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
10. แกนีมีด ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
แกนีมีดเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับดวงจันทร์ของโลกมาก มีสนามแม่เหล็กสูงมากอย่างที่ดวงจันทร์ดวงอื่นไม่มี และความจริงแล้ว แกนีมีดดวงนี้ก็สร้างความสับสนกับวงการดาราศาสตร์ว่ามันควรจะเป็นดวงจันทร์ หรือดาวเคราะห์กันแน่ เพราะมันโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แต่ดันโคจรรอบดาวพฤหัสบดีด้วยซะนี่ มันก็เลยถูกจัดเป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีไปซะเลย
แกนีมีด ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี