เมื่อ'หญิงเทียม'สู้เพื่อสิทธิเท่า'หญิงแท้'

กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าระดับโลกไปทันที และคงจะเป็นหัวข้ออภิปรายไปอีกนาน แม้ว่าชาวบ้านทั่วไปคงยากจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไรกันแน่ นอกจากมองว่าเป็นเรื่องแปลกที่ผู้หญิงคนหนึ่งได้ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อขอมี สิทธิประกวดนางงามจักรวาลเหมือนหญิงงามจากทั่วโลกบ้าง ต่างกันตรงที่ว่าเธอผู้นั้นเป็นหญิงจากการผ่าตัดแปลงเพศ หรืออาจเรียกง่ายๆ ว่า "หญิงเทียม" หรือ "หญิงข้ามเพศ" หรือ "กะเทย"

          หลายคนอาจจะมองตื้นๆ เพียงแค่ว่าการลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิที่จะเข้าประกวดนางงามจักรวาลของ เจนนา ทาลัคโควา นางแบบสาวประเภทสองจากนครแวนคูเวอร์ วัย 23 ปี นั้นเป็นเรื่องอุตริหรือเรื่องวิปริตของคนอยากดัง ในเมื่อสาวประเภทสองนั้นก็มีเวทีการประกวดของตัวเองอยู่แล้วหลายเวที รวมไปถึงเวทีประกวดมิสทิฟฟานี ซึ่งเธอเองก็เคยขึ้นเวทีประกวด "มิสอินเตอร์เนชันแนลควีน 2010” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงละครทิฟฟานี พัทยา ในวันนั้น เธอให้คำนิยามตัวเองว่า ฉันเป็น “ผู้หญิงมีประวัติ” แล้วเหตุใด เธอจึงต้องมารุกรานเวทีประกวดของผู้หญิงแท้ๆ ด้วยเล่า

          หลายคนอาจจะคิดลึกมากขึ้นอีกชั้นว่า เป็นเรื่องการตลาดของกองประกวดนางงามจักรวาลยุคนายโดนัลด์ ทรัมป์ แมวเก้าชีวิตในวงการธุรกิจโลกผู้ล้มแล้วลุกมาหลายครั้ง ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การประกวดนางงามจักรวาลหรือไม่ โดยสมคบคิดกันวางแผนปั้นข่าวขึ้นมาเองเพื่อปลุกกระแสให้โลกหันมาสนใจเวที ประกวดนี้อีกครั้ง หลังจากมีแต่ซบเซาลงตามลำดับเนื่องจากเริ่มมีเวทีประกวดระดับนานาชาติมาก ขึ้น

          แต่หลายคนโดยเฉพาะกลุ่มสิทธิสตรีและสิทธิของเพศที่สามอาจจะมองว่าเป็นการยก ระดับการต่อสู้อีกระดับหนึ่งของพวกเพศที่สามที่ต้องการขยายพื้นที่ในสังคม โลกมากขึ้น นับตั้งแต่เริ่มต่อสู้ให้คนยอมรับความเป็นคนเพศที่สามว่าไม่ใช่พวกวิปริต หรือเบี่ยงเบนทางเพศ แต่เป็นเรื่องปรกติทางธรรม
ชาติที่ว่าโลกนี้ไม่ได้ มีแค่ผู้หญิงและผู้ชายเท่านั้น หากแต่ยังมีคนเพศอื่นอยู่อีกหลายกลุ่มด้วย เพียงแต่ในช่วงแรกสังคมและกฎหมายไม่ยอมรับเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชายรักชาย กลุ่มหญิงรักหญิง และกลุ่มรักได้ทั้งสองเพศ 

          จนกระทั่งปัจจุบัน สังคมตะวันตกหลายประเทศยอมรับสิทธิในการดำรงอยู่ของกลุ่มเพศที่สามมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน

          สุดท้ายหลายคนมองว่าเป็นความสำเร็จอีกครั้งหนึ่งของเครือข่ายสังคมที่สามารถ ปลุกกระแสผ่านนิวมีเดียซึ่งทั้งชื่มชมความกล้าหาญของเธอ และทั้งวิจารณ์ว่าการประกวดนางงามจักรวาลว่าเลือกปฏิบัติ และกีดกันทางเพศ แบบเดียวกับการเหยียดผิวในวงการกีฬาเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ไม่น่าเชื่อว่ามีผู้ร่วมลงชื่อผ่านคำร้องออนไลน์สนับสนุนให้เธอมีสิทธิเข้า ร่วมประกวดนางงามจักรวาลได้กว่า 2.8 หมื่นคน จนสามารถกดดันกองประกวดนางงามจักรวาลให้ยอมกลับมติคืนสิทธิให้เจนนา มีโอกาสเข้าประกวดหากเธอสามารถเอาชนะใจกรรมการได้ครองตำแหน่งมิสยูนิเวิร์ส แคนาดาก่อน 

 

ปลุกกระแสล้มทฤษฎีการก่อเกิดทางธรรมชาติ 

          ข้อถกเถียงทั้งหลายทั้งปวงเริ่มขึ้นเมื่อ เจนนา ทาลัคโควา นางแบบสาวประเภทสองรูปร่างสูงโปร่ง ผมบลอนด์ นัยน์ตาสีฟ้า ถูกกองประกวดมิสยูนิเวิร์สแคนาดาตัดสิทธิ์การประกวดมิสยูนิเวิร์สแคนาดา 2012 ทั้งที่ผ่านการคัดเลือกเป็น 1 ใน 65 สาวงามรอบสุดท้ายเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก่อนจะมีการประกวดรอบสุดท้ายที่นครโตรอนโต ในเดือนพฤษภาคม 

          โดยกองประกวดมิสยูนิเวิร์สแคนาดาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะเธอขาดคุณสมบัติข้อ สำคัญไปข้อหนึ่ง นั่นก็คือเธอไม่ได้เกิดมาเป็นหญิงแท้ หากแต่เป็นผู้ชายที่ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศ โดยเธอได้โกหกคำโตระหว่างกรอกใบสมัครประกวดว่าเกิดมาเป็นหญิง

          ทั้งนี้ ตามกฎของการประกวดมิสยูนิเวิร์สแคนาดาได้กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของสาวงาม ที่จะเข้าประกวดมานานหลายสิบปีโดยไม่มีปัญหาร้องเรียนแต่อย่างใดว่า ผู้ประกวดต้องเป็นผู้หญิงโดยกำเนิด ต้องมีสัญชาติแคนาดา อายุระหว่าง 18-27 ปี ไม่เคยแต่งงาน ไม่เคยตั้งครรภ์ แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศหรือการผ่าตัดเสริมความงามแต่ อย่างใด

          ตอนแรกสาวผมบลอนด์หุ่นสะโอดสะองยอมรับมติของกองประกวดกลายๆ ด้วยการโพสต์ข้อความลงทวิตเตอร์ว่า “ฉันตกรอบ แต่ฉันจะไม่ยอมแพ้ ฉันจะไม่ยอมตกรอบเพราะถูกเลือกปฏิบัติแบบนี้” และหลังจากปรึกษากับทนายหลายคนที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน เธอก็เดินหน้าต่อสู้เพื่อสิทธิของเธอ

          การต่อสู้ของเจนนาเริ่มขึ้นด้วยการตั้งคำถามไปที่กองประกวด รวมไปถึงนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าหากเธอชนะการประกวดที่แคนาดา เธอจะมีสิทธิ์ขึ้นเวทีประกวดนางงามจักรวาลในฐานะตัวแทนแคนาดาหรือไม่ รวมถึงประเด็นบรรทัดฐานของกองประกวด ซึ่งเธอยืนยันว่าต้องตัดคำว่า "เป็นเพศหญิงโดยกำเนิด" ทิ้งไป เนื่องจากการกำหนดคุณสมบัติเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นการเลือกปฏิบัติทางเพศ เจนนาเผยด้วยว่า เธอรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้หญิงตั้งแต่อายุ 4 ขวบ เริ่มใช้ฮอร์โมนตั้งแต่อายุ 14 และผ่านการผ่าตัดแปลงเพศตอนอายุ 19 

          เงื่อนไขของเธอเท่ากับปลุกกระแสให้ล้มทฤษฎีการก่อเกิดทางธรรมชาติหรือเรียก ร้องให้ "หญิงเทียม" มีสิทธิเท่าเทียมกับ"หญิงแท้" หรือ "เพศหญิงโดยกำเนิด" ถือเป็นการยกระดับทฤษฎีการต่อสู้ของกลุ่มสิทธิสตรีที่โด่งดังว่า "ความเป็นหญิงมาจากกระบวนการสร้างผ่านทางสังคม  วัฒนธรรม และการมีอำนาจ"

การตลาด VS อัตลักษณ์ของหญิงแท้

          หลังจากเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกได้ไม่นาน กองประกวดนางงามจักรวาลก็เผยเป็นนัยว่า พร้อมจะผ่อนคลายกฎโดยอาจอนุญาตให้เจนนาเข้าประกวดได้ เนื่องจากหลักฐานทางกฎหมายเรื่องเพศชัดเจน

          นายโดนัลด์ ทรัมป์ เจ้าของลิขสิทธิ์การประกวดนางงามจักรวาลร่วมกับเอ็นบีซี ยูนิเวอร์ซัล ได้ออกแถลงการณ์สั้นๆ ว่า "เจนนาสามารถเข้าประกวดได้ หากเธอได้รับการรับรองด้านเพศสภาพตามกฎหมายของแคนาดา และตามมาตรฐานที่กองประกวดระดับสากลอื่นๆ กำหนดขึ้น"   

          ขณะที่ ไมเคิล ดี.โคเฮน รองประธานและที่ปรึกษาพิเศษของนายทรัมป์ กล่าวว่า “คุณสมบัติ
ความเป็นผู้หญิงของเธอ ได้รับการรับรองตามกฎหมายของแคนาดา และมาตรฐานนานาชาติเรียบร้อยแล้ว”

          การตัดสินใจของนายทรัมป์ครั้งนี้อาจจะกลายเป็นการตัดสินใจครั้งประวัติ ศาสตร์ของวงการประกวดนางงาม ท่ามกลางคำถามว่านี่เป็นการตลาดของนายทรัมป์ใช่หรือไม่ 

          แต่ที่จะเป็นข้อถกเถียงไปอีกนานก็คือหลังจากนี้แล้ว กลุ่มต่อสู้เพื่อสิทธิของเพศที่สามจะฉวยโอกาสยัดเยียดมติที่ว่า "หญิงเทียม" มีสิทธิและโอกาสเท่า "หญิงแท้" หรือ "เพศหญิงโดยกำเนิด"  ให้เป็นบรรทัดฐานสากลที่กองประกวดอื่นๆ จะต้องยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงความต่างด้านสังคม วัฒนธรรม ทัศนคติหรือแม้กระทั่งข้อกฎหมายต่างๆ 

          ถ้าเช่นนั้นแล้ว ตัวตนและอัตลักษณ์ของ "ความเป็นเพศหญิงโดยกำเนิด" จะเป็นเช่นใด มีอะไรต่างไปจาก "หญิงเทียม" หรือไม่และอย่างไร

การเลือกปฏิบัติจริงหรือ

          หลายคนอาจจะสงสัยว่าเจนนาเป็นหัวหอกในการต่อสู้เพื่อลบล้างกฎข้อที่ว่า "ความเป็นเพศหญิงโดยกำเนิด" จริงหรือ โดยชูประเด็นการเลือกปฏิบัติและสิทธิมนุษยชนมาบังหน้า หรือสู้เพื่อตัวเธอเองที่เคยประกาศว่าเกิดมาเพื่อจะประกวดบนเวทีต่างๆ

          เพราะหลังจากกองประกวดที่แคนาดายอมเปลี่ยนคำตัดสินใหม่ยินยอมให้เจนนากลับ ขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สแคนาดาได้ใหม่ แต่เธอยังคงไม่พอใจ แถมยัง "ได้คืบจะเอาศอก" ด้วยการขู่ว่าอาจตัดสินใจฟ้องกองประกวดในเร็วๆ นี้ หากนายทรัมป์ไม่ประกาศจุดยืนสำคัญให้ชัดเจนลงไปในเรื่องคุณสมบัติของสาวงาม ที่เข้าประกวด ซึ่งจะต้องไม่ระบุว่าเป็นเวทีสำหรับ "เพศหญิงโดยกำเนิด" 

          "เจนนาได้ทุ่มเทเวลา ความพยายาม และทุนทรัพย์เต็มที่เพื่อจะมีโอกาสเข้าประกวด โดยเธอไม่เคยหยุดคิดแม้แต่วินาทีเดียว "เพศโดยกำเนิด" ของเธอจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ เธอไม่เคยขอให้นายทรัมป์พิสูจน์ว่าเขาเป็นเพศชายโดยกำเนิดหรือไม่ หรือต้องการพิสูจน์
ความเป็นชายของเขา ในเมื่อตัวเธอเองไม่มีปัญหาอะไรแบบนั้น แล้วทำไมนายทรัมป์ถึงต้องมีปัญหาด้วยเล่า" ทนายคนหนึ่งของเจนนาให้ความเห็น

          ขณะที่เจนนายืนยันว่า เธอต้องการให้นายทรัมป์ฟันธงให้ชัดเจนลงไปเลยว่าจะยกเลิกคุณสม
บัติข้อนี้จนทำให้เธอไม่สามารถเข้าประกวดได้ เพราะไม่ต้องการให้ผู้หญิงคนอื่น ถูกเลือกปฏิบัติเหมือนอย่างเธอ

          "ฉันเป็นผู้หญิง และรู้สึกแย่มากเมื่อการถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าประกวดเพียงเพราะขาด คุณสมบัติที่พวกเขากำหนดขึ้นมาเอง ซึ่งไม่ยุติธรรมเลย ฉันไม่เคยร้องขออภิสิทธิ์ใดๆ แค่อยากร่วมประกวดเท่านั้นเอง"   

          ขณะที่ทนายความอีกคนหนึ่งเผยว่า ทีมกฎหมายจะยื่นคำร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออนตาริโอ ให้ตัดสินว่าการกำหนดคุณสมบัติที่ว่าต้องเป็น "เพศหญิงโดยกำเนิด" นั้นอาจจะขัดกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนของแคนาดา

          ด้าน เฮิร์นดอน แกรดดิกค์ โฆษกของกลุ่มพิทักษ์สิทธิ์คนแปลงเพศ (จีแอลเอเอดี) ให้ความเห็นว่า “กองประกวดนางงามจักรวาลตัดสินใจในสิ่งถูกต้องแล้ว และนี่คือก้าวสำคัญ...และจีแอลเอเอดีอยากจะผลักดันให้กองประกวดยอมรับในตัว ของผู้หญิงทุกประเภท โดยใช้เหตุการณ์นี้เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุนเหล่าคนแปลงเพศด้วย”

1 มิ.ย. 55 เวลา 18:42 6,115 6 310
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...