2 เหตุการณ์การสังหารอันโหดหู่ของมนุษยชาติของโลก

1. {การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยนาซีเยอรมัน} สัญญาลักษณ์ธงชาติของนาซี   หัวหน้าพรรคนาซี อดอลป์ ฮิลเลอร์ ประวัติ -  ประวัติ ศาสตร์ยุโรปโบราณมีปรากฎว่าชนชาติยิวคือ   ชนหมู่น้อยชั้นต่ำระดับทาสแรงงาน    ทำให้ถูกดูแคลนและกลั่นแกล้งเรื่อยมา    แต่กระนั้นความเคร่งครัดศรัทธาที่มีต่อศาสนายิวได้กลายเป็นสิ่งเหนี่ยวรั้ง ชนชาติและเป็นโล่ต้านชะตากรรมอยู่เสมอ   เมื่อยุโรปเข้าสู่ยุคคริสต์ศาสนาเรืองอำนาจ   ชาวยิวในยุโรปกลับยิ่งถูกเกลียดชังมากยิ่งขึ้น   ด้วยการถูกประนามว่า คนยิวคือผู้ทรยศ ยิวคือ "ผู้สังหารพระคริสต์" กระแสความเกลียดชังต่อต้านคนยิว [anti-Semitism] ไหลซึมผ่านกาลเวลามาตลอดประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตัวสร้างกระแสการเกลียด “ ยิว” จนนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว ต่อมาจนมาถึงศตวรรษที่19 ประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง  Adolph Hitler  (1898-1945) ผู้นำพรรคนาซีเริ่มแผนรณรงค์ต่อต้านคนยิวอย่างเป็นระบบ เริ่มด้วยการนิยามคำว่า  " คนยิว" ตามสายพันธุ์ อันเป็นการโหมโรงของกฎหมายและคำสั่งต่อต้านคนยิวโดยเฉพาะที่จะมีตามมาอีกนับ ไม่ถ้วน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 Adolph Hitler ได้เริ่มเคลื่อนย้ายชาวยิวไปแออัดรวมกันอยู่ในเขตที่เรียกว่า"ghetto"  [เก็ตโต้] มีการสร้างกำแพงและล้อมรั้วลวดหนามแน่นหนา กลายเป็นเขตสลัมจากผลทางการเมืองที่มีสภาพแร้นแค้นอัตคัด  ถูกจำกัดสิทธิ์ในทุกด้าน  สินค้าที่ผ่านตลาดมืดเข้ามาในเขตกักกันมีราคาสูงลิบลิ่ว ต่อมาถูกเรียกว่า  "death  camp"  หรือ "ค่ายมรณะ" เหล่านี้ เป็นค่ายที่ถูกสร้างขึ้นบนแผ่นดินประเทศโปแลนด์ในระหว่างถูกยึดครอง    มีห้องที่ทำขึ้นพิเศษสำหรับรมแก๊สพิษเพื่อการสังหารโดยที่เหยื่อจะไม่ทราบ ล่วงหน้าเลย  ทหาร นาซีจะนำตัวผู้ถูกกักกันไปยังห้องที่มีลักษณะคล้ายห้องอาบน้ำรวม มีฝักบัวติดไว้ให้อาบ ทุกคนจะได้รับแจ้งว่ากำลังจะถูกทำการชำระล้างเพื่อฆ่าเชื้อโรค  หลังจากเสียชีวิตจากแก๊สพิษหมดแล้ว  ศพจึงถูกนำไปกองเผาในโรงเผาอีกทีหนี่ง    คนยิวที่ยังเหลืออยู่ภายนอก    มักจะมองปล่องควันไฟเหล่านี้ด้วยความสงสัยผสมกับความกลัวโดยที่ไม่ทราบถึง ความตายที่กำลังรออยู่นี้  

เส้นผมของยิวจะถูกโกนออกทุกคน เพื่อนำไปใช้ในการทอเป็นพรม  

 
                                               
 
                                               
 
              เมื่อ สงครามสงบลงในปี  1945 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของนาซีเยอรมนีต่อคนยิวครั้งนี้  ถูกเรียกว่า  Holocaust  ["การเผาผลาญจนสิ้น"] มีผู้ประมาณว่า จำนวนตัวเลขคนตายจากการนี้มีถึงเกือบ  6 ล้านคน ราว 3 ล้านคนถูกฆ่าในค่ายกักกันมรณะ ราว  1.4  ล้านคนถูกยิงตาย  และอีก 6 แสนคนต้องตายเพราะทนสภาพในเขตกักกันไม่ไหว  แม้ ว่าจะมีผู้ตกเป็นเหยื่อในการฆาตกรรมหมู่ด้วยจำนวนที่มากมายเพียงนี้ แต่กว่าที่จะมีความพยายามในการค้นหาหลักฐานและสืบหาความจริงอย่างจริงจังของ เหตุการณ์ Holocaustกลับต้องใช้เวลาถึงเกือบยี่สิบปี   มิเช่นนั้น  เรื่อง นี้อาจจะต้องกลายสภาพไป เหลือเป็นเพียงตำนานที่มิอาจพิสูจน์ได้ว่าจริงเนื่องจากหลักฐานพยานส่วนใหญ่ มักจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของพยานชาวยิวที่สามารถเอาชีวิตรอดพ้นมาได้เท่านั้น
 

สภาพของชาวยิวในค่ายกักกัน buchenwald

                                                 

 

                เหตุการณ์นี้เป็นการกระทำที่มองมนุษย์ว่ามีค่าต่ำกว่า โดยพวกยิวถูกฆ่าอย่างเหี้ยมโหดทารุณ ซึ่งเป็นการกระทำที่เหมือนมิใช่มนุษย์  เหตุการณ์ นี้เมื่อได้เปิดเผยออกสู่สาธารณชน สร้างความสะเทือนใจอย่างมากจนนำไปสู่การออกปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน คุ้มครอง ส่งเสริม สิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มนุษย์ทุกคนมีได้อย่างเท่าเทียมกันและเสมอภาคกัน โดยที่คนอื่นไม่สามารถจะมาละเมิดได้

              ในสมัยนั้นในความคิดของ ชาวนาซี คิดว่า ชาวยิว ไม่ใช่มนุษย์จึงได้กระทำการเช่นนี้   แล้วหลังจากนั้นจึงได้มีการ เรียกร้องและพูดถึงเรื่องของ "สิทธิมนุษยชน" และแผนการที่จะล้มล้าง ผู้นำนาซี ด้วย

 

ให้นักโทษโกนผมกันเอง เปลื้องผ้าของผู้มาใหม่ สภาพไม่ต่างจากสัตว์ เปลือยกายต่อหน้าทหาร 

 

                                          

                                          

                                            

แม้กระทั่งเด็กๆก็ยัง ....

                                                                  

ยิงซ้ำให้แน่ใจว่าตายจริง

                                            

                                   

                                            

 

จำนวนผู้เสียชีวิต

              จำนวนที่แน่นอนของผู้ที่เสียชีวิตจากน้ำมือของนาซีอาจจะไม่มีใครล่วงรู้ แต่เชื่อว่ามีจำนวนผู้เคราะห์ร้าย ดังนี้

 5-6 ล้านคน เป็นชาวยิว ซึ่งประกอบด้วยชาวโปแลนด์ที่เป็นยิว 3 ล้านคน

 1.8-1.9 ล้านคน เป็นชาวคริสเตียนและผู้คนที่ไม่ใช่ชาวยิว แต่ต่อต้านพรรคนาซีและถูกนาซียึดครอง

 200,000-800,000 คน เป็นชาวโรมันและชาวยิปซี

 200,000-300,000 คน เป็นผู้ที่ไม่มีประโยชน์ในการใช้แรงงาน

 80,000-200,000 คน เป็นผู้ที่มาจากสมาคมของยุโรปที่ต่อต้านการกระทำของพรรคนาซี

 100,000 คน เป็นผู้ที่นับถือลัทธิคอมมิวนิสต์

 

10,000-25,000 เป็นพวกรักร่วมเพศ

 2,500-5,000 เป็นชาวคริสเตียน นิกายพยานของพระยโฮวา (Jehovah's Witnesses)

 


             รู ล ฮิลเบิร์ก เจ้าของผลงานหนังสือ The Destruction of the European Jews (การสังหารชาวยุโรปเชื้อสายยิว) คาดว่ามีชาวยิวทั้งหมด 5.1 ล้านคนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การล้างชาติพันธุ์ของนาซี จากสถิติกล่าวไว้ว่า มากกว่า 8 แสนคน เสียชีวิตจากบริเวณเกท-โทและความขาดแคลน, 1.4 ล้านคนเสียชีวิตเพราะถูกยิงทิ้งกลางแจ้ง และมากกว่า 2.9 ล้านคน เสียชีวิตอยู่ในค่ายกักกันนั้นเอง ฮิลเบิร์กประมาณการว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตในประเทศโปแลนด์เป็นจำนวนมากกว่า 3 ล้านคน ตัวเลขที่ฮิลเบิร์กนำมาพิจารณานี้ได้มาจากบันทึกเท่าที่หาได้ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

 

___________________________________________________________________________________

_________________________________________________________________________________

2. {การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ช่วงเขมรแดง}

สัญญาลักษณ์ธงชาติของเขมรแดง

 หัวหน้าพรรตเขมรแดง ซาลอธ ซาร์ (พล พต)

ประวัติ - การ สังหารหมู่ชาวกัมพูชาในช่วงที่เขมรแดงเรืองอำนาจ นับเป็นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งรุนแรงที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยมีผู้เสียชีวิตเพราะถูกสังหาร อดอยาก และเจ็บป่วย เป็นจำนวน 1.5 ล้าน ถึง 3 ล้านคน และที่น่าสลดใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือบรรดาเหยื่อส่วนใหญ่เป็นคนกัมพูชา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติและร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกันกับผู้สังหาร

            ความ วุ่นวายทางการเมืองในกัมพูชาซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์สะเทือนขวัญ เริ่มขึ้นในปี 2513 เมื่อเจ้าศรีสวัสดิ์ สิริมาตะ กับนายพลลอนนอล ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ ก่อการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจสมเด็จนโรดม สีหนุ และดำเนินการปราบปรามขบวนการคอมมิวนิสต์ใน กัมพูชาอย่างหนักหน่วง แต่ต้องเผชิญปัญหาภายในหลายประการ เช่นการคอรัปชั่น ความแตกแยก และการขาดผู้นำที่เข้มแข็ง รวมทั้งต้องเผชิญหน้ากับการรุกของเวียดนามเหนือ ที่ใช้ยุทธศาสตร์ขยายสงครามเข้ามาในดินแดนของกัมพูชา และการที่สมเด็จนโรดมประกาศร่วมมือกับ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ หรือเขมรแดง จัดตั้งรัฐบาลแนวร่วมแห่งชาติ เพื่อต่อต้านกับศรีสวัสดิ์และนายพลลอนนอล ทำให้สามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของกัมพูชาไว้ได้

นักโทษที่กำลังจะโดนสังหาร

                                            

            ต้นปี 2518 กองกำลังแนวร่วมแห่งชาติก็ปิดล้อมกรุงพนมเปญ และตัดเส้นทางลำเลียงอาหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ พอถึงวันที่ 17 เมษายน 2518 ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวกัมพูชากอง กำลังดังกล่าวก็เข้ายึดพนมเปญ และปกครองประเทศด้วยสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีนายพอล พต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายเอียง สารี เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ และนายซอน เซน เป็นรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งบรรดาผู้นำเขมรแดงเหล่านี้ล้วนเคยผ่านการศึกษาจากประเทศฝรั่งเศสและเป็น ผู้ที่นิยมคอมมิวนิสต์ จนถึง7สมเด็จนโรดมในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรีปราบปรามมาแล้ว

            แม้ว่าบรรดาผู้นำเขมรแดงจะเป็นกลุ่มที่เรียกกันว่า “ปัญญาชนปารีส” แต่กองกำลังติดอาวุธมาจากชาวไร่ชาวนาในท้องถิ่นที่ห่างไกล ทั้งยากจน ขาดการศึกษา และได้รับความสูญเสียชีวิต ของสมาชิกในครอบครัว และทรัพย์สิน จากการทิ้งระเบิดแบบปูพรมของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามกลางเมือง ดังนั้น สิ่งแรกที่เขมรทำภายหลังการขึ้นครองอำนาจ คือการกวาดต้อนผู้คนจากพนมเปญและเมืองใหญ่ออกไปใช้แรงงานเกษตรในชนบท เพื่อสะดวกในการควบคุมและป้องกัน มิให้ฝ่ายต่อต้านรวมกันติด นอกจากนี้ยังทำการกำจัดบุคคลที่ถือว่าเป็น”ศัตรูทางชนชั้น”อันได้แก่ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ นายทุน นักวิชาการ และปัญญาชน จนสิ้นซาก

ซากศพนักโทษ

                                         

                                       

            เขมรแดงปกครองกัมพูชา เป็นเวลา 4 ปี จาก พ.ศ. 2518-2522และสิ้นสุดลงด้วยการบุกยึดกัมพูชาของกองทัพเวียดนาม ที่ใช้เฮง สัมริน ออกหน้า แต่เขมรแดงก็ยังคงปฎิบัติการต่อต้านเวียดนาม-เฮง สัมริน อย่างต่อเนื่อง ตามแนวชายแดนไทย จนถึง ปี 2539 จึงมีการลงนามในสัญญาสันติภาพ และในเวลาต่อมา ได้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ทำให้สถานการณ์ของกัมพูชากลับคืนสู่ปกติสุขมาจนถึงปัจจุบัน

            แม้ว่าการสังหารชาวกัมพูชาแบบล้างเผ่าพันธุ์ของเขมรแดง จะเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่บรรดาผู้นำของเขมรแดงก็มิได้รับการนำตัวขึ้นสู่การพิจารณาคดีแต่อย่างใด จนหลายคน รวมทั้งนายพอลพ ต เสียชีวิตไปเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วแต่ด้วยแรงกดดันของนานาชาติ ทำให้ทางการกัมพูชาต้องรื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นมาใหม่ในปี 2550 โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน เท่านั้น

                              

ทุ่งสังหารในปัจจุบัน

                                               

         หลังสูญเสียอำนาจ เขมรแดงหนีมาใช้ชายแดนไทยเป็นเขตพักพิงและได้รับความช่วยเหลือจากจีนทำให้ กลุ่มนี้ฟื้นตัวขึ้นอีก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 กองกำลังเขมรแดงนำโดยพล พตยอมให้นักข่าวชาวญี่ปุ่นเข้าไปสัมภาษณ์ได้ คณะนักข่าวญี่ปุ่นจำนวน 8 คนได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เพื่อเดินทางเข้าสู่กัมพูชาที่ชายแดนด้านจังหวัดสุรินทร์ พล พตได้ให้สัมภาษณ์ว่าต้องการร่วมมือกับกัมพูชาทุกฝ่ายเพื่อรวมประเทศและ ปฏิเสธข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คณะนักข่าวชาวญี่ปุ่นเดินทางกลับสู่ประเทศไทยเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เมื่อข่าวนี้เผยแพร่ออกไป ฝ่ายของเฮง สัมรินได้ออกแถลงการณ์โจมตีการพบปะของเขมรแดงกับนักข่าวญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ว่าเป็นความร่วมมือของจีน ญี่ปุ่น ไทยและอาเซียนในการสนับสนุนเขมรแดง

                                          

          เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2525 เขมรแดงเข้าร่วมในรัฐบาลผสมแนวร่วมเขมรสามฝ่ายภายใต้การนำของสีหนุเพื่อต่อต้านเวียดนามและรัฐบาลพนมเปญ และได้เข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีสเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 เขมรแดงร่วมลงนามในข้อตกลงและจัดตั้งพรรคการเมืองคือพรรคสามัคคีแห่งชาติกัมพูชาเพื่อ เตรียมเข้าร่วมการเลือกตั้ง แต่เกิดความหวาดระแวงว่าอาจเป็นกลลวงให้วางอาวุธเพื่อจับตัวไปดำเนินคดีฆ่า ล้างเผ่าพันธุ์ จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยเขมรแดงถอนตัวออกจากการเจรจาสันติภาพ และไม่เข้าร่วมการเลือกตั้ง ไม่ยอมปลดอาวุธและไม่ยอมให้ประชาชนในเขตของตนลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการ เลือกตั้งใน พ.ศ. 2536 จุดยืนของเขมรแดงที่ไม่เข้าร่วมในประบวนการสันติภาพ ตามที่เขียวสัมพันระบุ คือ

ยังมีทหารเวียดนามจำนวนมากในกัมพูชา โดยปลอมตัวเป็นพลเรือน อันแทคร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาลกัมพูชามากกว่าสภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา โดย ไม่สามารถถ่ายโอนอำนาจบริหารในกระทรวงสำคัญคือกลาโหม ต่างประเทศ การคลัง มหาดไทยและข่าวสารจากรัฐบาลพนมเปญได้ และยังไม่พอใจกฏหมายเลือกตั้งที่อนุญาติให้คนที่มีเชื้อชาติเวียดนามที่มี พ่อหรือแม่เกิดในกัมพูชาเข้าร่วมการเลือกตั้งได้ เขมรแดงต้องการยุบเลิกรัฐบาลพนมเปญและให้สภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชาขึ้นมามรอำนาจในการบริหารประเทศก่อนการเลือกตั้ง

        หลังการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้ง เขมรแดงเข้ายึดปราสาทพระวิหารจากฝ่ายของฮุน เซนเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 และขอเปิดการเจรจากับฝ่ายของสีหนุ โดยฝ่ายเขมรแดงยื่นข้อเรียกร้องเข้าร่วมในการบริหารแห่งชาติและตำแหน่งที่ ปรึกษาของรัฐบาลใหม่แลกกับการคืนปราสาทพระวิหารและมอบดินแดนที่ยึดไว้คืนให้ ฝ่ายรัฐบาล สมเด็จสีหนุทรงเห็นด้วยที่จะรับเขมรแดงเข้าร่วมรัฐบาล แต่ฮุน เซนและนโรดม รณฤทธิ์ไม่เห็นด้วย สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาแทรกแซงโดยประกาศจะตัดความช่วยเหลือกัมพูชา หากมีเขมรแดงร่วมรัฐบาล

          รัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาประกาศให้พรรคการเมืองของเขมรแดงเป็นพรรคที่ผิดกฎหมาย เขมรแดงได้ตอบโต้โดยจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลดปล่อยแห่งชาติกัมพูชา ที่จังหวัดไพลินและจังหวัดพระวิหารเขมร แดงพยายามเข้ามามีบทบาทเป็นที่ปรึกษาในรัฐบาลใหม่แต่ก็ยังประกาศต่อต้าน รัฐบาลใหม่ด้วยอาวุธด้วย รัฐบาลพนมเปญส่งกำลังทหารเข้าปราบเขมรแดงใน พ.ศ. 2537 แต่กองกำลังของเขมรแดงยังยันกำลังฝ่ายรัฐบาลไว้ได้ เขมรแดงพยายามตอบโต้รัฐบาลโดยลักพาตัวชาวบ้านเข้าไปเป็นแรงงานเพื่อเตรียม สู้กับฝ่ายรัฐบาล เช่น ในช่วง 24 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เขมรแดงเข้ามาลักพาตัวชาวบ้านในจังหวัดเสียมราฐไป ราว 150 คน เพื่อนำไปซ่อมสร้างถนนและขนอาวุธให้เขมรแดง การรบของเขมรแดงเน้นการรบแบบจรยุทธ์ ส่วนกลยุทธของฝ่ายรัฐบาลคือพยายามขยายนำความเจริญเข้าไปสู่พื้นที่ห่างไกล เพื่อไม่ให้ตกอยู่ใต้อิทธพลของเขมรแดง และพยายามชักนำให้ทหารระดับล่างของเขมรแดงแปรพักตร์มาร่วมกับฝ่ายรัฐบาล โดยใน พ.ศ. 2536 มีทหารเขมรแดงมอบตัวราว 1,000 คนและใน พ.ศ. 2537 มีทหารเขมรแดงในจังหวัดกำปอตมอบตัวอีกประมาณ 150 – 200 คน

        ใน พ.ศ. 2539 เริ่มมีความแตกแยกอย่างรุนแรงในกลุ่มเขมรแดงซึ่งถึงแม้จะต่อสู้กับรัฐบาล ด้วยกำลังทหารได้แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป ความแตกแยกเห็นได้จากการหันมาให้ความร่วมมือกับรัฐบาลพนมเปญของเอียง สารี เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 และจัดตั้งพรรคการเมืองของตัวเองคือขบวนการสหภาพแห่งชาติประชาธิปไตยและ การที่พอล พต สั่งฆ่าซอน เซนและครอบครัวเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ต่อมาใน พ.ศ. 2540 เขียว สัมพันได้แยกตัวออกจากเขมรแดงไปจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองคือพรรคเอกภาพแห่งชาติเขมร เพื่อเข้าร่วมในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541

พิพิธภัณฑ์ยุคเขมรแดง

                                             

        หลังจากการเสียชีวิตของพอล พต เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 กองกำลังเขมรแดงส่วนใหญ่ได้ยอมวางอาวุธ เขียว สัมพัน กับนายเจียยอมจำนนต่อฮุน เซนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 ทำให้เหลือเพียงกองกำลังติดอาวุธจำนวนน้อยของตาม็อกเท่านั้น เขียว สัมพันและตาม็อกประกาศยกเลิกรัฐบาลเฉพาะกาลเพื่อสหภาพแห่งชาติและการปลด ปล่อยแห่งชาติกัมพูชาหลังการเสียชีวิตของพล พต ใน พ.ศ. 2541 ตาม็อกถูกฝ่ายรัฐบาลจับได้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตาม็อกและกังเก็กเอียงที่เป็นผู้บัญชาการคุกต็วล ซแลง ที่ใช้คุมขังนักโทษการเมืองในขณะที่เขมรแดงเรืองอำนาจ ถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

 

Credit: เหตุการณ์ การสังหาร โหด มนุษยชาติ
16 พ.ค. 55 เวลา 05:29 2,938 5 160
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...