มื้อเย็นอันตราย

มื้อเย็นเป็นมื้ออันตราย เป็นมื้อตายผ่อนส่ง

 

1. ทำอย่างไรจึงจะไม่แก่ และอายุยืน

คำตอบคือ กินสายกลาง  

กินสายกลาง คือ  กินมื้อเช้าและมื้อเที่ยง   +   งดมื้อเย็น

เปรียบตัวเราเป็นรถยนต์   ตื่นเช้ามาต้องเติมน้ำมันก่อน  หรือกินมื้อเช้า  รถจึงจะวิ่งได้  ถึงเที่ยงน้ำมันยังไม่หมด   เติมอีกครั้ง   ถึงเย็นก่อนนอนก็ยังไม่หมดพิสูจน์ได้ดังนี้  

สมมุติกินไข่ลวก 1 ฟองโตๆ  มีไข่แดงหนัก 50 กรัม   ในไข่แดงมีคลอเลสเตอรอล 1 กรัม   ให้พลังงาน 9  แคลอรี่  ฉะนั้น 50 กรัม  ให้พลังงาน 450 แคลอรี่  จะต้องออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานนี้   โดยขี่จักรยานตั้งแรงต้านไว้  1.3  ก.ก..  ความเร็วที่ปั่นบันไดจักรยาน  60  รอบต่อนาที  ขี่อยู่นาน60 นาที  จะเหนื่อยหอบ   เหงื่อไหลท่วมตัว   แต่ใช้พลังงานไปเพียง  300 แคลอรี่    ไข่ใบเดียวใช้ไม่หมด 

ฉะนั้นถ้ากินมื้อเช้า  มื้อเที่ยง  จนถึงเย็น พลังงานยังเหลือแน่นอน ไม่จำเป็นต้องไปเติมอีก เพราะเวลานอนร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือใช้ไปเก็บในที่ต่างๆ  โดย ตับ เป็นผู้ทำงานนี้ ถ้าพลังงานเหลือมาก   การเอาไปเก็บในที่ต่างๆ ก็มากทำให้อ้วน  และแน่นอนถ้าเก็บไม่หมดโดยเฉพาะพวกไขมันตัวโตๆ  จะต้องค้างอยู่ในหลอดเลือด ถ้าค้างสะสมมากเท่าใด รูหลอดเลือดก็จะเล็กลงทุกวัน เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลง อวัยวะทั้งหลายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือแก่เร็วขึ้น ถ้าวันไหนอุดตัน เช่น  ถ้าตันที่สมอง  จะกลายเป็นคนพิการอัมพาตครึ่งซีก   ถ้าอุดตันที่ไต  ต้องล้างไต  เปลี่ยนไต   ถ้าตันที่ขา อาจต้องตัดขาทิ้ง  ถ้าตันที่กล้ามเนื้อหัวใจ   ก็จะไม่มีโอกาสได้สั่งลาใคร   

การกินมื้อเย็นจึงเป็นมื้อที่เร่งกระบวนการเสื่อมถึงเสียชีวิตให้เร็วขึ้นไปอีก มื้อเย็นจึงเป็นมื้ออันตราย  เป็นมื้อตายผ่อนส่ง ยิ่งกินมื้อเย็นมาก ยิ่งผ่อนส่งมาก ตายเร็ว  ถ้าไม่กินมื้อเย็น ก็จะแก่ช้า เสื่อมช้า อายุยืน

การไม่กินอาหารมื้อเย็น เป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะใจตัวเองอย่างมาก ถ้าใครทำได้จะตัดทั้งกิเลส  สุขภาพดี   อายุยืน  และมีสมาธิดี ความมุ่งมั่นสูง ได้ประโยชน์ทั้งกายและใจ  แต่ท่านต้องฝึกกระเพาะให้เกิดความเคยชิน   

 

วิธีฝึกมี 4 วิธี

1. ค่อยๆ ลดปริมาณอาหารมื้อเย็นทีละน้อยๆ  เช่นลดกินข้าวจาก 2 จาน  เหลือ1 1/2 จาน สัก 3-4 เดือน  โดยมีข้อแม้ว่าหลังอาหารเย็น แล้ว ห้ามกินอาหารใดๆ ทั้งนั้นยกเว้นน้ำเปล่า   พอกระเพาะชินแล้วลดเหลือ 1 จาน ต่อไปครึ่งจาน ต่อไปไม่กินข้าวเลยกินแต่กับ   ต่อไปกินผักผลไม้   สุดท้ายงดอาหารเย็น

 

2. ร่นเวลากินอาหารเย็น   เช่นจาก 2 ทุ่มมากิน 1 ทุ่ม  ต่อไปเลื่อนเป็น 6 โมงเย็น  5 โมงเย็น  4 โมงเย็น  สุดท้ายงดอาหารเย็น

 

3. กินเม็ดแมงลักแทนมื้อเย็น  ใช้เม็ดแมงลัก 2  ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยน้ำแกงหรือน้ำเปล่าคนแล้วดื่มทันที   ดื่มน้ำตามอีก 4-5  แก้ว

 

4. กินมังสะวิรัตมื้อเย็น   การกินผักผลไม้ถือว่าเป็นอาหารไม่มีพิษ  ร่างกายจะได้พักไม่ต้องทำลายพิษของอาหารเนื้อสัตว์    พิษที่สะสมไว้ก่อนก็จะถูกตับ ไต กำจัดหมดไปเองได้  ร่างกายมีเวลาถึง 18  ช.ม.  กำจัดพิษที่ติดมากับมื้อเช้า  มื้อเที่ยงได้ทัน

ฉะนั้นการไม่กินอาหารเย็น  จึงเป็นเวลาที่ตับ ไต  จะสามารถกำจัดสารพิษจากอาหารมื้อเช้าและเที่ยงได้หมด  ร่างกายจึงบริสุทธิ์ทุกวัน 

 

2. โรค Attention Deficit Trait   โดย ผศ. ดร. พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th

ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของ Multitasking   หรือไม่ครับ? คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลายๆ อย่างไปในเวลาเดียวกัน  เช่น ในขณะที่กำลังเช็คอีเมล์ทางคอมพิวเตอร์  ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน  หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุม ก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล  และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ข้างหน้า    ในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่า มีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ  และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด  

แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ **Multitasking**  นั้น กลับเป็นสาเหตุประการหนึ่งของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน  ที่เราเรียก **Attention Deficit Trait** หรือ **ADT**   โรคนี้เป็นโรคที่เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ  ในที่ทำงาน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่บังคับให้คนทำงานจะต้องทำงานด้วยความรวดเร็วมากขึ้น  ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอดเวลา   ไม่มีเวลาหรือโอกาสได้สงบพัก

ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบข้างนะครับว่า เป็นโรคนี้หรือไม่?  ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม 2548 ในบทความชื่อ  Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell ซึ่งเป็นจิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้งหลาย  คุณหมอท่านนี้ทำการรักษาอาการ Attention Deficit Disorder หรือ ADD มากว่า 25 ปี และ โรค ADD นี้เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน  เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น

ผู้ที่เป็นโรค ADT นั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น   ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ   ก็จะถูกดึงดูดด้วยงานอย่างอื่น   มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น )  ไม่ค่อยอดทน มีปัญหาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) การจัดลำดับความสำคัญ  และการบริหารเวลา

โรค ADT นี้  มักจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ   การที่มีความ รู้สึกว่ามีงานด่วน   หรือ สิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ  และท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วนเหล่านั้นให้สำเร็จ  จะเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของโรค ADT เพราะเมื่อเรามีงานที่เร่งด่วน  หรือจำเป็นเข้ามาเรื่อยๆ   เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น  อีกทั้งไม่บ่นไม่โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้น  เราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ  และเวลาของเราไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา  ดังนั้นเมื่อเจอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วนขึ้น  เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลา  พยายามทำงานให้เสร็จโดยเร็วการทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆ หนึ่ง (Unfocused)  แต่ในขณะเดียวกัน   บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวาย  ดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรค ADT จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรขึ้น ?  ง่ายๆก็คือ ทำให้สมองเราสูญเสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง  จะส่งผลให้งานที่ออกมาเป็นงานที่เร็วแต่ไม่ลึก  จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลง    การที่สมองเราจะต้องรับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆเพิ่มมากขึ้น   ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลง อีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น

โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับ  เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องการความรวดเร็ว   และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สมองเราจะต้องรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆ   มากขึ้นกว่าเดิม วัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบัน   ก็เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเกิดโรคนี้   โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ  ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเราต้องการความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ เรา มักจะคิดว่า ในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน  ดังนั้น ผู้ที่มีความเร็วมากกว่าจะทำงานได้มากกว่า

ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์  ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด  ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม " ปิดประตู" เพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว    ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง

 

3. ดื่มน้ำน้อยมีผลร้ายที่คุณคิดไม่ถึง

เมื่อเร็วๆ นี้ได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง   ซึ่งลงบทสัมภาษณ์ของดาราสาวสวยระดับนางเอกท่านหนึ่ง เกี่ยวกับร่างกายของเธอที่มีการผิดปกติ เธอมีอาการอุจจาระไม่ออก,  เมนส์ไม่มา  แถมเธอยังเข้าใจว่าการที่เมนส์มาบ้างไม่มาบ้าง แล้วแต่อารมณ์นั้นเป็นเรื่องปกติขอผู้หญิงซะอีก   เธอบอกว่าไม่ชอบดื่มน้ำเพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย  ส่วนใหญ่พวกดาราก็มักเป็นอย่างนี้ เพราะต้องอยู่แต่ ในกองถ่ายจะหาห้องน้ำสะอาดๆยาก   เลยต้องอั้นอุจจาระปัสสาวะเอาไว้  หรือแก้โดยการไม่ดื่มน้ำจะได้ไม่ต้องปัสสาวะ  พฤติกรรมดังกล่าวนี้ไม่ใช่แค่เฉพาะดาราหรอก  มีอีกหลายอาชีพที่เป็นกันอย่างนี้   อาจจะเป็นเพราะภาวะสังคมที่รีบเร่งแข่งขันกัน ท่านที่ทำงานนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์หรือพนักงานทำบัญชีด้วยแล้ว  ไม่ค่อยอยากจะลุกไปเข้าห้องน้ำกัน  กลัวจะเสียเวลาทำงานหรือลืมเข้าห้องน้ำก็มี  พอทำอย่างนี้ไปนานๆ เข้าร่างกายเราก็สร้างความคุ้นเคยว่าไม่ต้องอุจจาระไม่ต้องปัสสาวะกันเลย

โดยร่างกายเข้าใจว่าวิธีการนี้ถูกต้อง  ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำ 70 กว่าเปอร์เซนต์ เลือดเราประกอบด้วยน้ำ 90 กว่าเปอร์เซนต์   กระดูกเราก็ประกอบด้วยน้ำ 22 เปอร์เซ็นต์   ร่างกายเราเสียน้ำวันละ 2 ลิตรเศษ แล้วรับน้ำเข้าไป เพียงพอหรือไม่  ถ้าไม่พอเราก็ถือว่าขาดน้ำ ร่างกายและอวัยวะภายในจะรวนผิดปกติไปหมด เลือดเราจะข้นหนืด  ยากที่หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ  ของร่างกาย หัวใจเองนั่นแหละจะตีบตันเสียก่อน ต้องทำบายพาสกันวุ่นวาย

15 ก.ค. 52 เวลา 12:50 3,624 13 146
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...