six sense หรือสัมผัสที่ 6

                                                 The  six sense

 

 

เป็นหัวข้อหนึ่งที่ ดร.โรเบิร์ต แชนนี่ ผู้ก่อตั้งสถาบันแอสตารา ได้บรรยายให้ฟัง

- สัมผัสที่ 6 เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ในตัวเอง เพียงแต่ใครจะมีมากน้อยกว่ากัน
เท่านั้น ผู้ที่มีมาก มักจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้
หากมีการฝึกบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ

- การปลุกสัมผัสที่ 6 ในตัวเองให้ตื่นขึ้นมาทำงานนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่
ยาก ในอดีตที่ผ่านมา บางคนฝันและมองเห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นลักษณะ
เทวดาสังหรณ์ หรือได้ตาทิพย์ หูทิพย์ สามารถส่งจิตไปในสถานที่ต่างๆ ได้ แม้กระทั่ง
ภพภูมิอื่น มิติอื่น เป็นต้น

- ถ้าสัมผัสที่ 6 ได้รับการพัฒนามากขึ้น มนุษย์จะสามารถสื่อสารกันได้
โดยทาง “โทรจิต” ความริเริ่มต่างๆ ความทรงจำต่างๆ จะดีมากขึ้น สามารถจะ
ติดต่อสื่อสารกับสิ่งที่มีชีวิตในภพภูมิอื่นได้มากขึ้น เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของ
บรรดาเทพและเทวดามากขึ้น และสามารถเดินทางไกลได้ด้วยจิต

- สัมผัสที่ 6 ซึ่งพัฒนาแล้ว จะทำให้เราสามารถได้ยินสี ได้ยินคลื่นแสง
มองเห็นคลื่นเสียง (หูได้ยินสี และคลื่นแสง ส่วนตามองเห็นคลื่นเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่
แตกต่างจากสัมผัสปกติทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน)

- สัมผัสที่ 6 หลังจากพัฒนาได้ระดับแล้ว จะมองเห็นเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน
และอนาคตได้ จะทำให้เราค้นพบชีวิตในภพภูมิต่างๆ มากมาย สามารถแลกเปลี่ยน
ความรู้สึกจากคน ไปสู่สัตว์เลี้ยง พืช หรือแร่ธาตุต่างๆ ได้

- การใช้สัมผัสที่ 6 ควรให้กายเนื้ออยู่ในสภาพที่นิ่ง และจิตก็ต้องนิ่ง
เพื่อให้สัมผัสที่ 6 ทำงานโดยการใช้พลังจิต (การเพ่งกระแสจิต) ซึ่งทุกคนฝึกฝนได้

- การกำหนดจิตถามแล้ว “รู้” ถูกต้อง แสดงว่า ตัวเราเกิด “ญาณทัศนะ”
แล้ว ซึ่งในเบื้องต้น ญาณทัศนะนี้ อยู่กึ่งกลางระหว่างจิตใจของมนุษย์กับ จิตใจของ
พวกเทพเทวา

- การพัฒนาสัมผัสที่ 6 และญาณทัศนะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สรุปมี 3
ปัจจัย คือ
1. ความเงียบสงบนิ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก
2. การควบคุมลมหายใจ พยายามหายใจให้ลึกและยาวเสมอ
3. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้มองเห็น หรือต้องการทำให้รู้และเข้าใจ

- สิ่งที่เกิดจากความรู้ภายในสมอง หรือภายในจิตใจของเรา จะมีความสำคัญ
มากกว่า สิ่งที่เราพบเห็นด้วยตาและหูตามปกติของเรา
เราสามารถใช้สัมผัสที่ 6 มาช่วยให้เกิดแรงดลบันดาลใจในเรื่องต่างๆ ได้
นำมาใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ในลักษณะเหมือน
ใช้จักระ 6 เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกเนื้อหาที่สำคัญในหนังสือว่า ควรอ่านหน้า
ไหน ช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้อง ช่วยในการตัดสินใจซื้อสิ่งของต่างๆ
ฯลฯ เป็นต้น
บางครั้งคำพูดที่ออกมาจากปาก 3 คำ ก็มีความหมายต่างกันมาก เช่น คำว่า
“ผมรักคุณ” ซึ่งอาจมีความหมายว่า

- ผมรักทรัพย์สินต่างๆ ของคุณ อยากได้มาเป็นของผมทุกอย่าง

- ผมรักคุณเท่าที่ผมรักคนอื่นๆ ในโลก

- ผมรักคุณและมีความปรารถนาได้ตัวคุณเป็นสมบัติส่วนตัวของผม

- ผมรักคุณเหมือนแม่

- ผมรักคุณเหมือนน้องสาว

- ผมรักคุณ ผมเสียสละสิ่งต่างๆ ของผมให้คุณได้ ฯลฯ

- ญาณหยั่งรู้ มีลักษณะเหมือนเด็ก เมื่อเกิดญาณหยั่งรู้แล้ว เราควรทำ
ตามที่ที่เราหยั่งรู้ ก็จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราปฏิเสธสิ่งที่เราหยั่ง
รู้ ก็จะเป็นการปิดกั้นญาณหยั่งรู้ของเรา อย่างน่าเสียหายยิ่ง สรุป
1. เราต้องเปิดใจ และยอมรับในญาณหยั่งรู้ของเราเอง
2. เราต้องการญาณหยั่งรู้ให้เกิดขึ้นเมื่อไร สามารถที่จะกำหนดได้
3. ควรกำหนดให้เกิดการหยั่งรู้ให้ได้ในตัวของเรา

- การฝึกให้เกิดญาณหยั่งรู้ง่ายๆ เช่น เมื่อมีโทรศัพท์ดังขึ้น ให้ตั้งจิตให้
สงบ และให้คิดว่าใครโทรมา ผู้ที่โทรมาเขาต้องการอะไร เขามีความสุข หรือมี
ความทุกข์ แรกๆ อาจคิดไม่ออก แต่ทำบ่อยๆ ก็จะคิดออก และถูกต้อง ซึ่งทำ
บ่อยๆ ก็จะทำให้ขีดความสามารถของเรารู้วาระจิตของผู้อื่นได้ง่ายมากขึ้น
หรือ อาจฝึกกับจดหมายที่เราได้รับแต่ละฉบับ นำจดหมายมาวางบนฝ่ามือ
แล้วประกบมือ ให้คิดว่าเป็นจดหมายของใคร เขาเขียนมาต้องการอะไร

- ให้คิดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องคิดซ้ำ ให้ความเงียบบอกแก่เราเอง

- อย่าลืมฝึกหายใจเข้า-ออก ยาวๆ ลึกๆ ให้ลมหายใจอัดลงไปถึงท้องน้อย

- สร้างมโนภาพ หรือนิมิตให้เกิดขึ้น เช่น ส่งกุหลาบไปให้คนที่เราต้องการส่ง

ต้องนิ่งเงียบ นึกถึงดอกกุหลาบ แล้วส่งภาพดอกกุหลาบไปให้คนที่เราต้องการให้ไปถึง ซึ่ง
อาจเกิดผลสำเร็จได้ไม่ยาก หากทดลองทำบ่อยๆ

- จะทำอะไรก็ตาม ไม่ต้องกลัวที่จะขอร้องให้คนอื่นช่วยเหลือ หากเรามีสัมผัส
ที่ 6 หรือญาณหยั่งรู้แล้ว เราจะได้รับพลังต่างๆ เข้ามาในร่างกายของเรามากขึ้น
สุขภาพของเราจะแข็งแรงและกระตุ้นให้จักระทำงาน ทำการรักษาโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น

- ข้ออ้างที่ว่า เราทำไม่ได้ เพราะครอบครัวไม่สนับสนุน เจ้านายไม่ให้ทำ ตัวเอง
ไม่มีความพร้อมเพราะจิตไม่สงบ ควรตัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ถ้าตัวเราจะทำจริงๆ ย่อมมี
เวลาและมีโอกาสทำได้ แต่อยู่ที่จิตใจของเราเองว่า เราต้องการได้ญาณหยั่งรู้
หรือไม่เท่านั้น

- ในช่วงเวลาใดที่เราต้องการพลังในร่างกายของเรา จะเป็นเวลาใดก็ตาม
ตัวเราสามารถบอกร่างกายของเราได้ เช่น ดร.แชนนี่ ซึ่งมีอายุ 95 ปีต้องบรรยายเวลา
13.00 – 17.00 น. ได้สั่งร่างกายให้มีความพร้อมในการบรรยาย โดยการตั้งใจจริงด้วย
อารมณ์ที่ต้องการให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง เมื่อเราพูดซ้ำๆ ในสิ่งที่เรา
ปรารถนา เราก็จะได้สิ่งที่ต้องการนั้นได้ (คล้ายกับการสะกดจิตตัวเอง เป็นการพร่ำ
บอกตัวเองบ่อยๆ ก็จะเกิดผลตามการบอกบ่อยๆ เหมือนกับการสั่งจิตใต้สำนึก
แบบหนึ่ง)
*****************************************************************************************
สัมผัสที่ 6 (six sense) สัมผัสธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

สัมผัสที่ 6 (six sense) ฟังดูเหมือนไม่ธรรมดา ใครมีซิกเซ็นส์เขาถือว่าคนนั้นมีความสามารถพิเศษไม่ธรรมดาเลย แต่ความเป็นจริงแล้ว สัมผัสที่ 6 ก็คือ อายตนะที่ 6 คือใจที่ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ เรียกว่า ธรรมารมณ์ อายตนะ แปลว่า เครื่องสืบต่อ มีอยู่ทั้งหมด 6 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจนี่เอง

ในการเจริญสติ เราต้องรอบรู้ในกองสังขารที่มาจากการสัมผัสทั้ง 6 ช่องทางนี้ให้ละเอียดรอบด้าน กิเลสความหลงความปรุงแต่งไปในอดีต ในอนาคต สุขทุกข์ ล้วนมีจุดก่อกำเนิดเกิดเป็นอัตตาตัวตนมาจากการหลงไม่รู้เท่าทันในการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางกายและทางใจนี้ทั้งสิ้น จึงมีคำกล่าวว่า หากไม่รู้จักทุกข์จะวางทุกข์ได้อย่างไร หากไม่รู้จักสังขาร (ความปรุงแต่ง) จะวางสังขารได้อย่างไร

หากจะตั้งหน้าตั้งตาวางอย่างเดียว อะไรเกิดขึ้น เกิดดับอย่างไรไม่รู้จักต้นตอของการเกิดการดับของกิเลสความอยากเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นการวางที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างสูงเราละจากโลกนี้ไป เราก็ไปได้แค่พรหมโลกเท่านั้นเอง ทั้งนี้เพราะว่า เรายังหลงอยู่ เรายังไม่เข้าใจว่าเขาเกิดเขาดับขึ้นมาให้เราวางได้อย่างไร เรามาวางกันที่ผลที่ปลายเหตุ ยังไม่รู้จักสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างแท้จริง ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเหตุ และความดับไปแห่งเหตุแห่งธรรมนั้น นั้นหมายความว่า เราต้องรู้ที่ต้นตอและดับเหตุแห่งทุกข์ที่ต้นตอนั้นจึงจะดำเนินสู่หนทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ได้อย่างแท้จริง

อายตนะที่ 6 แท้จริงแล้วมีการทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่เพราะความที่มันเป็นของที่ละเอียดมากเป็นนามธรรมนั้นเอง การจะรู้จักหน้าที่การทำงานของเขาอย่างแท้จริง จึงต้องอาศัยความสงบ มีสติสัมปชัญญะที่ต่อเนื่องและการรู้จักสังเกตจึงจะรับรู้และเข้าใจในหน้าที่ของเขาได้ นั่นหมายความว่า เราต้องรู้จักฝึกสติสัมปชัญญะ หรือฝึกความรู้สึกตัวที่ต่อเนื่องขึ้นมา อาศัยความตั้งมั่นจากความต่อเนื่องตรงนั้น ความจำสภาวะได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้น เราจึงจะได้เห็นได้สัมผัสสภาพที่เป็นธรรมารมณ์ที่แตกต่างออกไปจากเดิมนั้นได้อย่างชัดเจน

การรับรู้ตรงนี้จึงกลายเป็นเรื่องปกติของผู้ฝึกเจริญสติสร้างความรู้สึกตัวจนชำนิชำนาญและรู้จักการสังเกตได้ดีแล้วนั่นเอง

สรุปแล้ว สัมผัสที่ 6 ของเราทุกคนเขาทำงานของเขาอยู่ตลอดเวลาเป็นปกตินั่นแหละ เราเองต่างหากที่ไม่มีสติสัมปชัญญะพอที่จะไปรู้สึกรับรู้ตรงนั้นเองต่างหาก เราไม่ปกติเอง เพราะจิตเราไม่ตั้งมั่น สติเราไม่ต่อเนื่องพอ เราขาดการสังเกต ขาดการน้อมเข้ามาดูกายดูใจของตนเอง เรามีแต่หลงส่งจิตออกนอก หลงความคิดความปรุงแต่ง จินตนาการไปต่าง ๆ นานา ไม่มีเวลาให้กับจิตกับใจตัวเองจริง ๆ เลยสักที จนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว แล้วเราก็กลับไปมองคนที่เขามีสติสัมปชัญญะ สามารถสัมผัสรับรู้ธรรมารมณ์เหล่านี้ได้อย่างต่อเนื่องเป็นปกติว่า เป็นคนที่มีความสามารถพิเศษ ไม่ธรรมดา หรือเป็นคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดานั่นเอง

Credit: www.mongkoldham.com และhttp://wimuttidhamma.blogspot.com/2009/01/6-six-sense.html
#นานาสาระ
sekimi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
13 ม.ค. 53 เวลา 20:36 22,848 14 106
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...