พระราชประวัติ พระสมเด็จ พุฒาจารย์(โต) พรมรังษี ตอนจบ

                                                  พระราชประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรมรังสี

 

จุดไต้เข้าจวน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ นั้น มีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ ปี ๑๐ วันเท่านั้น ยังทรงพระเยาว์นัก จึงต้องมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) อัครมหาเสนาบดี ผู้ใหญ่ในขณะนั้น เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

วันหนึ่งเจ้าประคุณสมเด็จก็จุดไต้ลูกใหญ่เข้าไปหาสมเด็จเจ้าพระยาในจวนของท่าน ยามกลางวันแสก ๆ อีกเช่นเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยาจึงถามว่า มีประสงค์อันใดหรือ จึงถือไต้เข้ามาหากระผมเช่นนี้

เจ้าประคุณสมเด็จตอบไม่อ้อมค้อมเลยว่า "อาตมภาพได้ยินว่า ทุกวันนี้แผ่นดินมืดมัวนักด้วยมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบว่าเท็จจริงจะเป็นประการใด ถ้าเป็นความจริงแล้วไซร้ อาตมภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเขาเสียสักครั้งหนึ่งเถิด"

สมเด็จเจ้าพระยา อึ้งไปนิดหนึ่งก่อนจะตอบว่า "ขอพระคุณเจ้าอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่ฉะนี้ จะไม่ให้แผ่นดินนั้นมืดมัวหล่นลงไป ด้วยจะไม่มีผู้ใดแย่งแผ่นดินไปได้เป็นอันขาด"

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จบอกว่า เพื่อความสบายใจ ให้สมเด็จเจ้าพระยาไปสาบานตัวต่อพระแก้วมรกตในวัดพระแก้ว ภายหลังต่อมาท่านผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นข้าราชการผู้หนึ่ง ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีส่วนผลักดันให้การบริหารราชการแผ่นดินก้าวเข้าสู่ยุคใหม่

สร้างพระสร้างวัด

 

 

 

ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ที่ดินในเขตอำเภอไชโย แขวงอ่างทอง เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๘ ว่า ๗ นิ้ว สูง ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนประทับนั่ง ปางมารวิชัย ถวายพระนามว่า พระมหาพุทธนันท์ และสร้างวัดไว้ ณ ที่นั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงถิ่นกำเนิดของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โยมบิดาและโยมมารดาพบกัน) โดยตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดเกตุไชโย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตประทับตราแผ่นดินและตราพระราชบัญญัติวิสุงคามสีมา ถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เพื่อสร้างวัดเกตุไชโย อุทิศกุศลแก่โยมบิดา และสนองพระคุณโยมมารดาที่ทุกข์ทรมานอุ้มครรภ์และคลอด ตลอดจนกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูสั่งสอน สอนเดิน ณ ตำบลแห่งนี้

ช่วงปลายชีวิตของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ท่านเดินทางไปหลายแห่งทั่วประเทศ และสร้างอนุสรณ์ไว้ เช่น

๑. พระพุทธรูปนอนใหญ่ที่วัดสะตือ ต. ท่าหลวง อ. ท่าเรือ จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน องค์พระยาว ๑ เส้น ๖ วา สูง ๘ วา ฐานยาว ๑ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๔ วา ๒ ศอก สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓

๒. พระพุทธรูปนั่งที่วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จังหวัดพระนคร เป็นพระก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ วา ๓ ศอก

๓. พระพุทธรูปที่วัดกลาง ต. คลอดข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ทำด้วยอิฐถือปูน สูง ๖ วาเศษ เล่ากันว่า สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นป่ารกชัฏ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้เอาเงินตราเก่า ๆ มีค่าโปรยเข้าไปในป่า ชาวบ้านย่านนั้นร่วมกันถางป่าจนราบเรียบเตียนโล่ง เพื่อหาเงินดังกล่าว จึงสามารถสร้างพระพุทธรูปยืนองค์นี้ได้ ต่อมาได้กลายเป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดในที่สุด

๔. เจดีย์วัดละครทำ ที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นเจดีย์นอน ๒ องค์ หันฐานเข้าหากัน ห่างกันประมาณ ๒ ศอก ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก องค์ด้านใต้ถูกรื้อทำลายไปนานแล้ว องค์ด้านเหนือก็แทบจะไม่เป็นรูปร่างเสียแล้ว เนื่องจากถูกคนขุดค้นหากรุพระสมเด็จ

๕. รูปปั้นแทนโยมตาและโยมแม่ สร้างกุฏิ ๒ หลัง อยู่ด้านทิศใต้ของวัดอินทรวิหาร ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดเท่ากัน กว้าง ๑ วา ยาววาครึ่ง ปั้นรูปแทนโยมตาเป็นรูปพระสงฆ์นั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว อยู่กุฏิหลังซ้าย ส่วนแทนโยมมารดาปั้นเป็นรูปภิกษุนั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๓ นิ้ว ประดิษฐานอยู่กุฏิหลังขวา

๖. หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ที่ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูง ๑๖ วาเศษ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างได้ประมาณ ๙ วาเศษ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพเสียก่อน ต่อมาหลวงปู่แดงได้ก่อสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์

สร้างพระสมเด็จ

 

 

 

โดยที่เจ้าประคุณสมเด็จ ท่านเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระยิ่งนัก กอปรด้วยพระเมตตาบารมีสูงยิ่ง เมื่อท่านเจริญชนมายุแก่กล้าเป็นพระมหาเถระแห่งยุคสมัยแล้ว ก็ได้ปรารภเหตุว่า มหาเถระแต่ปางก่อนนั้น มักจะนิยมสร้างพระพิมพ์จำนวนมาก บรรจุลงไว้ในปูชนียสถานต่าง ๆ เพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนคนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชาเป็นการเจริญพุทธานุสติ ปรารภเหตุดังกล่าวนี้ เจ้าประคุณสมเด็จ จึงได้ลงมือสร้างพระพิมพ์รุ่นแรกขึ้นมีจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ เป็นพระสมเด็จรุ่นแรกที่เรียกกันว่า "ทรง ๓ ชั้น"

ต่อมาเจ้าประคุณได้สร้างรุ่นสองขึ้นอีก ที่เรียกกันว่า "ทรง ๗ ชั้น" เพื่อนำไปบรรจุไว้ที่วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง อันเป็นวัดที่ระลึกถึงโยมมารดาของท่าน แต่รุ่นนี้สร้างไม่ครบจำนวน สมเด็จได้บอกแก่นายเทศ ช่างแกะสลักพระ บ้านอยู่หลังตลาดบ้านขมิ้นติด ๆ กับวัดระฆังฯ ว่า รุ่นนี้คงจะทำไม่ครบจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ตามที่ตั้งใจไว้เสียแล้ว เพราะคงจะถึงแก่มรณภาพลงเสียก่อน เนื่องจากสังขารสูงวัยมากแล้ว ท่านจึงให้เอาพระคะแนนร้อยคะแนนพัน จากการสร้างรุ่นแรกเอามาบรรจบรวมกัน แล้วนำไปบรรจุไว้ที่วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง ตามที่ตั้งใจไว้จนครบบริบูรณ์

พระสมเด็จองค์แท้เป็นอย่างไร

 

 

 

ผู้ชำนาญการเฉพาะพระเครื่องสมเด็จกล่าวไว้ว่า พระสมเด็จองค์แท้จริงนั้น หมายถึงพระที่สมเด็จโตท่านสร้างไว้ สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๕ เท่านั้น ส่วนชุดอื่น ๆ ที่ใช้ผงสมเด็จมาผสม หรือกระทำพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณสมเด็จมาประทับทรงระหว่างปลุกเสก คงได้ชื่อเพียง "พระตระกูลสมเด็จ" หรือ "แบบสมเด็จ" เท่านั้น

เฉพาะกรุที่ทำโดยเอาผงสมเด็จไปผสมนั้น ยืนยันกันว่ามีเพียง ๓ กรุเท่านั้น คือ

๑. กรุวัดใหม่อมตรส กรุนี้มีประวัติเล่าไว้ว่า "เสมียนตราเจิม" บิดาของพระอักษรสมบัติ บ้านอยู่ตำบลบางขุนพรหม ได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่หนึ่งองค์ขึ้นที่วัดนั้น เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิธาตุสกุลวงศ์ ประสงค์จะสร้างพระสมเด็จบรรจุไว้ในพระเจดีย์นี้ด้วย จึงไปขอผงจากเจ้าประคุณสมเด็จได้มาครึ่งบาตร ประกอบพิธีสร้างที่วัดอินทรวิหาร ต่อหน้าเจ้าประคุณสมเด็จ ซึ่งเสมียนตราเจิมได้นิมนต์เจ้าประคุณให้มาฉันเพลในงานนี้ด้วย

๒. กรุวัดพลับ มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ทราบนามฉายา อยู่ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เข้าใจว่าจะเป็นเพื่อนสหธรรมิกของเจ้าประคุณสมเด็จนั่นเอง ได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ได้ว่านยาชนิดต่าง ๆ มามากมาย กลับมาแล้วก็มีความคิดจะสร้างพระพิมพ์ขึ้นเช่นกัน จึงไปขอผงพระจากเจ้าประคุณสมเด็จ แต่ได้มาเพียงเล็กน้อย นำมาผสมกันสร้างเป็นพระพิมพ์เนื้อแข็ง สีขาวนั่งขัดสมาธิ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีทั้งพิมพ์พระนอน และพิมพ์ ๒ หน้า แต่เป็นกรุที่หายากมาก ปัจจุบันนี้แทบจะหาดูกันไม่ได้เสียแล้วฃ

๓. กรุพระสมเด็จปิลันธน์ กรุนี้มีคำเล่าบอกของเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง จันทโชโต) ศิษย์ก้นกุฏิของเจ้าประคุณสมเด็จ เล่าไว้ว่า

หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพน เมื่อขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธุปบาทปิลันธน์" และยังสถิตอยู่ ณ วัดระฆังฯ ได้ทรงขอผงพระจากเจ้าประคุณสมเด็จ นำไปผสมกับผงดำของท่านสร้างเสร็จแล้ว ได้นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์มุมพระอุโบสถด้านตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งต่อมาทางคณะกรรมการวัดระฆังฯ ได้ทำการเปิดกรุไปแล้ว

เรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณพระเทพญาณเวที (ละมูล สุตาคโม) วัดระฆังฯ เล่าเสริมว่า ได้ค้นพบพระสมเด็จปิลันธน์อีกกรุหนึ่งบนเพดานหอไตร มีทั้งที่สมบูรณ์และชำรุดจำนวนมาก จึงได้คัดเอาองค์ที่ชำรุดมาปลุกเสกสร้างขึ้นใหม่ โดยประกอบพิธีปลุกเสกในพระอุโบสถวัดระฆังฯ เมื่อ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมรวม ๑๐๘ รูป พระสมเด็จปิลันธน์ ชุดนี้เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งชนิดนั่งองค์เดียวบ้าง ๒ องค์และ ๓ องค์บ้าง นั่งในม่านแหวกเจดีย์ ๒ องค์ สีดำเจือขาว เนื้อเหมือนปูนซิเมนต์

พระสมเด็จแท้มี ๗๓ ชนิด

 

 

 

พระอาจารย์ขวัญ วิสิฐโฐ วัดระฆังฯ อ้างว่า ได้ยินมาจากคำบอกเล่าของเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง) ศิษย์ก้นกุฏิรุ่นแรกของเจ้าประคุณสมเด็จว่า พระสมเด็จซึ่งสร้างจากมือท่านแท้ ๆ นั้น มีรวมอยู่ด้วยกัน ๗๓ ชนิด แต่เท่าที่สืบทราบได้ในปัจจุบันนี้ มีเพียง ๒๙ ชนิดเท่านั้น

เล่ากันมาอีกว่า พระสมเด็จรุ่นแรกสุด ชนิดทรง ๓ ชั้น มี ๓ อย่างคือ สีดำ มีคุณวิเศษทางคงกระพันชาตรีม สีขาว มีกลิ่นหอม แก้โรคภัยต่าง ๆ และสีขาวไม่มีกลิ่น ใช้ทางเมตตามหานิยม ทั้ง ๓ อย่างนี้มีขนาดเดียวกัน คือ กว้าง ๔.๑ ซม. สูง ๖.๑ ซม. โดยนายเทศช่างแกะสลักพระ บ้านอยู่หลังตลาดบ้านขมิ้น เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ให้ และเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จสร้างพระพิมพ์รุ่นแรกนี้สำเร็จลงแล้ว ท่านให้พระองค์แรกแก่ "นางเอี่ยม" แม่ค้าขายน้ำพริกเผาและกุ้งแห้งในตลาดบ้านขมิ้นเป็นคนแรก ซึ่งนางเอี่ยมก็ตำหนิตรง ๆ ว่า มีขนาดใหญ่เกินไป เจ้าประคุณสมเด็จก็ยอมรับว่าจริง แต่บอกว่ารุ่นแรก ๆ นี่ต้องทำให้ใหญ่หน่อย ต่อมาภายหลังเห็นว่าสร้างขนาดใหญ่เปลืองผงมาก จึงได้สร้างขนาดเล็กในเวลาต่อมา

วัสดุที่ใช้สร้างพระ

 

 

 

ท่านเจ้าประคุณพระเทพญาณเวที (ละมูล สุตาคโม) วัดระฆังฯ อ้างคำบอกเล่าจาท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมของเจ้าประคุณสมเด็จอีกต่อหนึ่งว่า

การสร้างพระสมเด็จของเจ้าประคุณนั้น ท่านใช้ปูนขาวเป็นหลัก ผสมด้วยเกสรดอกบัว ขี้ไคลใบเสมา น้ำอ้อย, เนื้อ และ เปลือกกล้วยน้ำละว้า, น้ำมันตั้งอิ้ว, ขี้ธูปในพระอุโบสถ ปูนและดินกรุตามพระเจดีย์เก่า ๆ เศษอาหารและชานหมากที่สมเด็จฉันแล้ว ผงจากใบลานเผา, ว่านวิเศษต่าง ๆ และผงวิเศษในทางแคล้วคลาด และเมตตามหานิยม จากผงดินสอ ซึ่งเจ้าประคุณเขียนอักขระตัวขอมในเวลาลงเลขยันต์ต่าง ๆ

เมื่อเวลาจะสร้างนั้น สมเด็จมีดินสอเหลืองแท่งใหญ่อยู่แท่งหนึ่ง จะให้นายน้อย ซึ่งเป็นง่อยและอาศัยอยู่กับท่านมานานแล้ว เลื่อยดินสอเหลืองออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วลงประสมกับเปลือกกล้วย เจือด้วยน้ำผึ้งบ้าง น้ำอ้อยบ้าง ตำจนละเอียดดีแล้ว จึงให้นายน้อยกับพระธรรมถาวร (ช่วง) ช่วยกันพิมพ์พระลงบนแม่พิมพ์ที่ "ช่างเทศ" เป็นคนแกะให้ใหม่ เป็นแม่พิมพ์ขนาดเล็ก รูปหลังเบี้ยฐาน ๓ ชั้น เสร็จแล้วใส่บาตรไว้เก็บในกุฏิชั้นใน แล้วทำพิธีปลุกเสกวันละ ๓ ครั้ง คือ เช้า กลางวัน และหัวค่ำ จนพอแก่ความต้องการ จึงค่อยเอาออกแจกจ่ายแก่ผู้ประสงค์ต้องการ

ต่อมาพิธีปลุกเสกพระสมเด็จเปลี่ยนแปลงไปบ้างกล่าวคือ สมเด็จได้เอาบาตรพระที่ใส่พระพิมพ์ไว้จนเต็มแล้วนั้นไปตั้งไว้ที่หอสวดมนต์หน้าพระพุทธรูปประธาน แล้ววงสายสิญจน์จากพระประธานไปยังที่บาตรพระ อาราธนาภิกษุทั้งปวงที่มาเจริญพระพุทธมนต์ในระหว่างเข้าพรรษาว่า "ช่วยกันปลุกเสกพระของฉันด้วย" ทำเช่นนี้ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานั้น ครั้นครบกำหนดไตรมาสแล้ว สมเด็จก็เอาพระที่ปลุกเสกครบกระบวนความแล้วไปบรรจุไว้ตามเจดีย์ของวัดต่าง ๆ เช่นวัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) วัดตะไกร ที่แขวงกรุงเก่า, วัดระฆังฯ และวัดไชโยที่จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น

ผู้ช่วยในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น นอกจากท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร (ช่วง) และนายน้อย (ง่อย) ๒ คนที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายคนที่ช่วยกันคือ ๑. พระภิกษุพ่วง ๒. พระภิกษุภู (ต่อมาคือหลวงปู่ภู วัดอินทร์ เกจิอาจารย์ชั้นยอดอีกองค์หนึ่งของเมืองไทย) ๓. พระภิกษุแดง ๔. พระภิกษุโพธิ์ ๕. สามเณรเล็ก และ ๖. หลวงบริรักษ์โรคาพาธ แพทย์หลวงในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้วัดระฆังฯ เวลาว่าง ๆ ก็มักจะช่วยเจ้าประคุณในการสร้างพระพิมพ์ชุดต่าง ๆ อยู่เสมอ

     ลักษณะพระสมเด็จแท้           

พระอาจารย์ขวัญ วิสิฐโฐ วัดระฆัง ฯ อธิบายลักษณะพระสมเด็จเนื้อแท้ไว้ว่า จะต้องมีองค์คุณวิเศษ ๕ ประการ ดังนี้

๑. ดำปนแดงเจือเหลือง หรือเหลืองอ่อนดุจงาช้างและสีอิฐ

๒. มีนำหนักเบากว่าพระพิมพ์อื่น ๆ ทั้งสิ้น

๓. เนื้อละเอียดอ่อน ชื้นคล้ายเปียกน้ำอยู่เสมอ แต่แข็งแกร่ง มีวัตถุเล็ก ๆ สีดำหรือแดง ฝังอยู่กับส่วนหนึ่งส่วนใดของพระทุกองค์

๔. แตกเป็นลายงาช้าง หรือลายสังคโลก

๕. เมื่อหยิบเอาองค์พระขึ้นด้วยอาการสำรวม จะเกิดญาณหยั่งลึกสำนึกรู้ด้วยตัวเองทันทีว่า นี่คือพระสมเด็จเนื้อแท้

เกจิอาจารย์ที่รู้จริงในเรื่องพระสมเด็จอีกท่านหนึ่งคือ พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน แนะนำไว้ว่า พระสมเด็จแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ เนื้อผง. เนื้อกระเบื้อง (ดินเผา), เนื้อชิน (โลหะผสม). เนื้อเงินและเนื้อตะกั่วถ้ำชา

เฉพาะเนื้อผงยังมีแบ่งออกไปอีกเป็น ๑. เนื้อชานหมาก ๒. เนื้อผงใบลาน ๓. เนื้อโป่งเหลือง หรือ เนื้อกล้วยหอม ๔. เนื้อกระยาสารท ๕. เนื้อข้าวสุก ๖. เนื้อปูนน้ำมัน ๗. เนื้อเกสรดอกไม้ ๘. เนื้อหินลับมีดโกน ๙. เนื้อขนมถ้วยฟู ๑๐. เนื้อขนมตุ้บตั้บ ๑๑. เนื้อปูน ๑๒. เนื้อผงแป้งข้าวเหนียว

เรื่องราวของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) ที่น่าสนใจมีอีกมากมาย แต่สิ่งที่ควรแก่การกล่าวถึงคือ จริยาวัตรของท่านเจ้าประคุณ ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่ท่านบรรพชาเป็นสามเณร จนกระทั่งได้รับสถาปนาแต่งตั้งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จมีสัจจะในการประพฤติปฏิบัติเป็นกิจวัตรดังนี้ ไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ตีห้าท่านจะตื่นทันที อาบน้ำชำระกาย แล้วสวดมนต์นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมง เวลา ๐๖.๐๐ น. ออกบิณฑบาต แม้ว่าวังหลวงจะจัดอาหารมาถวาย ท่านก็จะออกบิณฑบาตเพื่อโปรดสัตว์ตามรอยพระสมณโคดม แล้วกลับมาตักน้ำใส่ตุ่มถึงจะฉันอาหาร ปกติท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะฉันอาหารเพียงมื้อเดียว เว้นแต่ติดนิมนต์ไปฉันบ้านญาติโยม เวลา ๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น. เป็นเวลสำหรับราชการกิจนิมนต์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้ถวายคำแนะนำราชกิจบางประการที่พระเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษา โดยฝากมาพร้อมปิ่นโตอาหารที่นำถวายจากพระราชวังทุกวัน

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จอยู่เบื้องหลังการช่วยเหลือค้ำชูประเทศชาติ โดยเฉพาะเรื่องเอกราชของชาติในยุคที่ฝรั่งล่าเมืองขึ้น ซึ่งดำเนินนโยบายขอปันที่ดินบางส่วนของสยามไว้ใช้สอย หากไม่ให้ก็จะได้อ้างเป็นเหตุรุกรานประเทศสยาม และยึดเป็นเมืองขึ้นเหมือนที่กระทำกับประเทศต่าง ๆ มา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จถวายข้อคิดว่า "หากเรายกส่วนหนึ่งส่วนใดของแผ่นดินสยามให้เขาแล้ว เขายกไปได้ก็ไม่ควรให้ แต่ถ้ายกให้เขา โดยที่เขาเอาไปไม่ได้ ก็ควรให้ไป เพื่อรักษาแผ่นดินส่วนใหญ่ไว้" ซึ่งคำแนะนำนี้ รัชกาลที่ ๔ ทรงเห็นชอบด้วย ทำให้ประเทศชาติสงบสุขมาจนปัจจุบัน

เลยเวลาจากเที่ยง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะปิดประตูขลุกอยู่ในกุฏิ เล่นและคุยกับสุนัข หรือไม่ก็อ่านหนังสือแต่งตำรา บางทีก็ใช้เวลากดพิมพ์พระเครื่องไปเรื่อย ๆ ถึงเวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นเวลาออกรับแขก มีคนพลุกพล่านขอความช่วยเหลือด้วยเรื่องจิปาถะ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จไม่เคยขัด ท่านมีเมตตาช่วยเหลือเจือจานเสมอ เมื่อมีทางช่วยได้ พอถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. หมดเวลารับแขก ไม่ว่าจะเป็นใคร เจ้านายใหญ่โตแค่ไหน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) จะเชิญออกจากกุฏิหมด จากนั้นท่านก็จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนถึงเวลาสองทุ่ม จากนั้นท่านก็จะทำราชกิจที่ส่งมาปรึกษาจนถึงตีหนึ่งถึงจะเขาจำวัด ในช่วงออกพรรษาถ้างานว่าง ราชกิจมีน้อย ท่านจะออกธุดงค์ยังจังหวัดต่าง ๆ และสร้างปูชนียวัตถุดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

 

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จเคยติดการฉันหมาก แต่พอถึงอายะ ๖๒ ปี ท่านเลิกฉันหมาก แล้วเปลี่ยนจากการจับไม้ตะบันหมากมาเป็นการบริกรรมชักลูกประคำจนถึงอายุ ๘๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จถึงแก่มรณภาพ เมื่อเวลา ๒ ยาม วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ

Credit: http://www.jarun.org/contact-webmaster.html
#นานาสาระ
sekimi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
12 ม.ค. 53 เวลา 00:16 7,851 5 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...