โรคย้ำคิดย้ำทำ
คุณ กำลังย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า หรือแค่เป็นความกังวล ลองมาสำรวจตัวเองกันดูค่ะ เพราะโรคชนิดนี้สามารถเกิดได้ทุกคน อย่าเงเช่นไม่ว่าจะเป็นความย้ำทำเก็บของ
เคยเป็นกันบ้างหรือ เปล่าค่ะ ที่ไม่รู้ไรเป็นไร ไม่ีค่อยมีความมั่นใจ ทำในสิ่งซ้ำๆเสมอ เลือกของอะไรไม่ค่อยถูก ตัดสินใจไม่ได้ โอ๊ย น่ารำคาณชะมัดค่ะ ถ้าคุณกำลังมีภาวะแบบนี้ คุณคเสี่ยงที่จะเป็น โรค ประสาทย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive neurosis) เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยพอสมควร ซึ่งมีอาการย้ำคิด หรือย้ำทำเป็นอาการเด่น อาการย้ำคิด เป็นความคิดที่ผุดเข้ามาในสมองโดยไม่ตั้งใจ และทำให้เกิดความกลัว หรือความกังวล ส่วนอาการย้ำทำ เป็นการกระทำ หรือการคิดเพื่อลดความกลัว หรือความกังวลที่เกิดจากอาการย้ำคิด อาการย้ำคิดย้ำทำบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้ในคนปกติ
คน ที่เป็นโรคประสาทรู้สึกว่าตนไม่มีความสามารถ และทนต่อสภาพความบีบคั้นได้น้อย วิตกกังวล และขี้กลัว ตื่นเต้นมากเกินไป มักจะเอาแต่ใจตนเอง และสนใจตัวเองมากเกินไป ไม่ยืดหยุ่น และขาดความเข้าใจในปัญหาต่างๆ รวมทั้งไม่มีความพอใจ และไม่เป็นสุข มีอารมณ์เครียดได้ง่าย ความย้ำคิดเป็นความคิดที่ผุดขึ้นมา ในสมองโดยไม่ต้องการ ความย้ำทำเป็นการกระทำซ้ำๆ ที่ผู้นั้นอดไม่ได้ที่จะต้องทำแม้ว่าจะดูโง่ๆ ก็ตาม ที่เหมือนโรคประสาทกลัวคือโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำมักเริ่มในช่วงต้นๆ ของวัยผู้ใหญ่แต่ที่ต่างจากโรคประสาทกลัวคือมันพบได้เท่าๆ กันทั้งหญิง และชาย ปัญหานี้มักเกิดในคนที่พิถีพิถันเจ้าระเบียบตลอดเวลาแต่ก็ไม่แน่เสมอไป ความย้ำคิดถึงการกระทำที่เป็นอันตรายมักไม่มีเหตุผล น้อยรายมากที่ผู้ป่วยจะทำตามความคิดนั้น
สาเหตุ
อาการ ย้ำคิดจะมีลักษณะคิดซ้ำๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดอาจเป็นเรื่องแปลก เช่น คิดจะพูดคำหยาบ คิดจะว่าคนอื่น คิดจะทำร้ายคนอื่นโดย ที่ตนเองก็ไม่อยากจะทำเช่นนั้น อยากจะตัดความคิดออกไป ไม่อยากคิดซ้ำๆ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ความคิดมันจะเกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถห้ามได้ ถ้าเป็นมากๆ มักจะกลัวว่าจะทำไปอย่างที่คิดจริงๆ ส่วนอาการย้ำทำ จะมีลักษณะพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ
สาเหตุของอาการย้ำคิดย้ำทำมีรากฐาน สำคัญมาจากความกลัว โดยเรื่องที่ผู้ป่วยมักจะกลัวมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ กลัวโชคร้าย กับกลัวความสกปรก ผู้ที่กลัวโชคร้าย เช่น กลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงโทษทำให้ต้องยกมือไหว้วัดหรือศาลทุกชนิดที่พบเห็น กลัวปิดประตูหน้าต่างไม่เรียบร้อยแล้วขโมยจะขึ้นบ้าน ทำให้ต้องคอยตรวจตราประตูหน้าต่างทั่วบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆ รอบจึงจะเข้านอนได้ ผู้ที่กลัวสกปรก เช่น ล้างมือซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะยังรู้สึกว่าไม่สะอาด อาบน้ำนานมากเพราะกลัวว่าจะล้างสบู่ออกไม่หมด เดินผ่านกองขี้หมาก็ต้องดูรองเท้าซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะกลัวว่าจะเผลอไปเหยียบ มันเข้า
การที่คนเราจะป่วยเป็นโรคประสาทนั้น มักจะต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ที่เป็นตัวสนับสนุนทำให้บุคคลป่วยเป็นโรคประสาท เช่น คนๆ นั้นมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ผิดบิดเบือนไป ประเมินค่าหรือให้ความหมายกับสภาพบีบคั้นจิตใจบางอย่างในลักษณะที่เป็นสิ่ง ที่มีอันตรายหรือคุกคามต่อชีวิตของตนมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น มักจะมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และมีพฤติกรรมปกป้องตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับการคุกคาม และความวิตกกังวล
การรักษา
จิตแพทย์ สามารถรักษาโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำได้ การรักษาส่วนใหญ่ใช้หลักการเดียวกับการรักษาโรคประสาทกลัวแต่มักจะใช้เวลา นานกว่า และมักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล 2-3 สัปดาห์ ตามด้วยการรักษาช่วงสั้นๆ ที่บ้านโดยมีคนในครอบครัวมาช่วยร่วมรักษาด้วย
โปรแกรมที่ออกแบบ เพื่อทำให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคย และกำจัดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำอย่างเป็นระบบตัวต่อตัว ทั้งนี้คนในครอบครัวจำเป็นต้องเข้ามาร่วมมืออย่างใกลัชิดในการรักษาปัญหาย้ำ คิดย้ำทำ การเข้าเผชิญจริงๆ โดยมีคนทำให้ดูก่อน โดยผู้รักษาทำให้ดูก่อนโดยละเอียดแล้วให้ผู้ป่วยทำตามบ้าง มีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ
การทำการรักษาเป็นกลุ่ม โดยเอาผู้ป่วยหลายๆ ราย และครอบครัวมารักษาด้วยกัน เพื่อถกกันถึงความลำบากที่แต่ละคนได้รับมา และวิธีที่พวกเขาใช้แก้ปัญหา ระหว่างการพบกันพวกเขาจะทบทวนความคืบหน้า และหาวิธีในการลดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำที่ยังเหลืออยู่ ญาติๆ มักถูกดึงเข้าไปช่วยผู้ป่วยทำพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้มันเป็นมากขึ้น และวิถีชีวิตของครอบครัว และการเลี้ยงลูกอาจเสียหายมาก พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำที่พบบ่อย ได้แก่ การล้าง และการตรวจตราซ้ำๆ ต่อการเปื้อน หรือสิ่งอันตราย การกังวลเกี่ยวกับผม การชักช้าอย่างมาก และการเก็บสะสมของที่ไม่มีประโยชน์ทุกชนิด
การ รักษาโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำใช้หลักการเดียวกับที่ใช้รักษาโรคประสาทกลัว แต่อาจใช้เวลานานกว่า เพราะอาการย่อยๆ แยกออกไปอาจเกี่ยวพันกับชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ผู้ป่วยอาจได้รับการบอกให้จงใจเข้าเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมย้ำ คิดย้ำทำ และไม่ทำพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำนั้นให้นานที่สุด และหัดทนความไม่สบายที่เกิดขึ้น ต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกี่ยวข้อง และญาติๆ อาจเป็นผู้ช่วยที่มีค่ามากในการจัดการ โดยคอยเฝ้าดูและชมเชยความคืบหน้า และไม่ยอมทำพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำใดๆ ครอบครัวอาจช่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาโดยพบกับครอบครัวอื่นๆ ในกลุ่มแก้ปัญหา