2435 : รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง คือ มหาดไทย,ยุติธรรม,กลาโหม,นครบาล,วัง,เกษตราธิราช,ต่างประเทศ,พระคลัง,ยุทธนาธิการ,ธรรมการ,โยธาธิการ และกระทรวงมุรธาธร
2436 : วันสถาปนา กรมอัยการ สังกัดกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นนักกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2465 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้โอนกรมนี้ไปขึ้นกระทรวงมหาดไทย
2441 : จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบก พระองค์เจ้าจิรประวัติดำรงตำแหน่งเป็น เสนาธิการทหารบกพระองค์แรกในกองทัพไทย
2445 : รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโรงรับจำนำขึ้น หลังจากนั้น นายเล็ก โทณะวณิก ได้ขอตั้งโรงรับจำนำขึ้น ในนามฮั่วเสง อยู่ที่ถนนพาหุรัด โรงรับจำนำนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2448 : รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศเลิกทาส และตราพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ห้ามมิให้คนเกิดในรัชกาลของพระองค์เป็นทาสอีก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
2455 : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น
2456: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจัดตั้ง "คลังออมสิน" ขึ้น ในสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อให้คลังออมสินเป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารออมสิน
2459 : รัชกาลที่ 6 ทรงจัดตั้งกองอาสาสมัครน้ำขึ้นเพื่อเป็นกำลังทางน้ำของไทย ดำเนินการป้องกันประเทศ ร่วมกับกองกำลังทางบกของกองอาสาสมัครเสือป่า
2463 : มีพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้อัตราเวลาทั่วราชอาณาจักรไทยเป็น 7 ชั่วโมง ก่อนเวลาในเมืองกรีนิช แห่งประเทศอังกฤษ
2471 : เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพุทธศักราช 2471 มีผลใช้บังคับ เป็นการจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เป็นมาตรฐาน จึงกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็น "วันข้าราชการพลเรือน" แต่เพิ่งเริ่มมีการจัดงานครั้งแรกในปี พ.ศ.2522
2490 : เปลี่ยนจาก "คลังออมสิน" มาเป็น "ธนาคารออมสิน" และเริ่มดำเนินธุรกิจในรูปธนาคารออมสิน ภายใต้ "พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489" มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลัง
2503 : สหรัฐฯ ส่งดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาดวงแรก ชื่อ TIROS-1