10 อาชีพเสี่ยงโรคซึมเศร้า ใช่คุณหรือเปล่า

10 อาชีพเสี่ยงโรคซึมเศร้า - ใช่คุณหรือเปล่า???

   

โรคซึมเศร้า เป็น โรคที่ทำให้เกิดการป่วยทางอารมณ์ อาการป่วยนี้สามารถเกิดขึ้นหลังจากมีเรื่องเครียด หรืออาจเป็นได้ทั้งๆที่ไม่มีเรื่องเครียด บางรายอาจมีเรื่องเครียดเพียงเล็กน้อย ผู้ ป่วยจะมีภาวะซึมเศร้า และเปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจนและมีโอกาสฆ่าตัวตายได้ถ้าเป็นมากๆ อย่างไรก็ดีทั้งตัวผู้ป่วยเอง และญาติมักสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติขึ้นแล้ว ในบางรายที่พอมีความรู้มักมารับการรักษาได้ค่อนข้างเร็ว
 

ใน ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ซึ่งเว็บไซต์ เฮลท์ ดอท คอม ได้ทำการสำรวจอาชีพที่มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ ไว้ทั้ง หมด 10 อาชีพ ได้ผลดังนี้ 

1. พยาบาลตามบ้านและผู้ดูแลเด็ก
     คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส กล่าวว่า ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ในการดูแลผู้อื่นเป็นการส่วนตัว อย่างเช่น พยาบาลตามบ้านและผู้ดูแลเด็ก มีแนวโน้มที่จะป่วยด้วยโรคซึมเศร้าสูงมากที่สุด เพราะพวกเขาต้องคอยดูผู้อื่นอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการป้อนอาหาร หรืออาบน้ำ แต่กลับไม่ได้รับคำแสดงความขอบคุณ หรือแสดงความซาบซึ้งใจกลับมา เพราะคนผู้ที่ถูกดูแลมักจะป่วยหรือเด็กเกินไป หรือไม่ก็รู้สึกว่า สิ่งที่พวกเขาทำเป็นหน้าที่ เป็นการทำงานแลกกับเงินอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องขอบคุณแต่อย่างใด

2. พนักงานเสิร์ฟอาหาร
     นั่นเป็นเพราะพนักงานเสิร์ฟจะต้องคอยก้มหน้ารับฟังคำสั่งของทุกคนในร้านตลอด เวลา ไม่ว่าจะเป็นจากลูกค้า จากพ่อครัวและจากพนักงานร้าน ทั้งหมดเพื่อแลกกับเงินค่าจ้างที่ค่อนข้างต่ำ โดยจากการสำรวจพบว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานเสิร์ฟที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง และ 15 เปอร์เซ็นต์ในนั้นเป็นผู้หญิง

     "นี่ เป็นอาชีพที่คนจะรู้สึกขอบคุณพวกเขาน้อยมาก ผู้คนมักแสดงความไม่สุภาพกับพวกเขาทั้งคำพูดและท่าทาง ซึ่งเมื่อคนเราเกิดความรู้สึกเครียดมันก็คงจะเป็นเรื่องยากที่จะมีแรงจูงใจ ในการทำงาน" เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว

3. นักสังคมสงเคราห์
     หลายคนคงรู้สึกประหลาดใจที่นักสังคมสงเคราะห์เป็นอาชีพเสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึมเศร้าสูงในอันดับต้นๆ เพราะเรามักมีภาพของความเป็นผู้ให้และเสียสละของพวกเขาอยู่ในใจ จนลืมคิดไปว่า งานของพวกเขาเป็นงานที่ต้องติดต่อกับผู้คน ซึ่งมีหลายรูปแบบและมีหลายปัญหาให้ต้องแก้ไข

     นักสังคมสังเคราะห์มักต้องทำงานกับคนที่มีปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ จึงจำเป็นต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และหากไม่สามารถตอบสนองความต้องการของคนเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ ก็จะสร้างความผิดหวังให้กับทั้งตัวนักสังคมสงเคราะห์และผู้ต้องการความช่วย เหลือเอง ซึ่งก็จะต้องนำมาซึ่งความเครียดอย่างเลี่ยงไม่ได้

     "เรา มักจะมองว่ามันเป็นงานที่ดี แต่คุณต้องทำงานอย่างหนักและทุ่มเทมาก นักสังคมสงเคราะห์ต้องทำงานกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ มันแทบเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะทำงานแบบผ่านๆ ผมเห็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องเลิกทำงานนี้ไปในเวลาอันรวดเร็วบ่อยมาก" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส กล่าว

4. แพทย์ พยาบาลและนักบำบัดโรคต่างๆ
     ธรรมชาติของการประกอบอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของผู้อื่น อย่าง  แพทย์ พยาบาลและนักบำบัดโรคต่างๆ ก็คือการต้องทำงานโดยแบกรับความหวังหรืออาจจะหมายถึงการมีชีวิตรอดของผู้ อื่นเอาไว้ คงไม่ใช่เรื่องแปลกหากคนเหล่านี้จะรู้สึกเครียดกับงานที่ทำ

     "คุณ ต้องเจอคนป่วย คนตายและต้องเผชิญหน้ากับญาติของพวกเขาทุกวัน มันเหมือนกับว่าโลกทั้งใบมันมีแต่เรื่องเศร้า" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์ส กล่าว

 

 

5. ศิลปินและนักเขียน
     อาชีพศิลปินและนักเขียนดูผิวเผินเหมือนจะเป็นอาชีพที่ปราศจากความเครียด นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้มองไปที่ขั้นตอนการทำงานของพวกเขา ว่ากว่าที่จะมีผลงานออกมาให้เราได้ชื่นชม พวกเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง

    "สิ่ง หนึ่งที่ฉันเห็นมากในกลุ่มศิลปินหรือนักเขียนก็คือ พวกเขามักป่วยด้วยโรคอารมณ์แปรปรวน คนกลุ่มนี้มักไม่รู้และไม่ได้รับการรักษาเรื่องอารมณ์ที่แปรปรวน เพราะความเชื่อที่ว่าศิลปินก็ต้องมีอารมณ์ขึ้นลงเป็นธรรมดา" เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว

 

6. ครู
     พวกเขาต้องทำงานอย่างหนัก นอกจากงานสอนเด็กๆ แล้วก็ยังมีอย่างอื่นให้ต้องทำอีก ซึ่งทำให้หลายๆ ครั้งต้องเอางานกลับไปทำที่บ้าน แค่นึกถึงการต้องรับมือกับลูกศิษย์หลาย 10 คนในแต่วันก็เหนื่อยแล้ว เพราะฉะนั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลก หากครูจะเป็นอาชีพที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าสูง

     "พวก เขามีความกดดันในหลายด้าน ทั้งจากนักเรียน จากผู้ปกครอง จากการพยายามทำตามมาตฐานของโรงเรียน" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์สกล่าว

 

7. เจ้าหน้าที่สนับสนุนการขาย
     เจ้าหน้าที่สนับสนุนการขายมักต้องปวดหัวกับความต้องการที่มากมายของผู้อื่น แต่ตัวเองกลับควบคุมอะไรต่างๆ ได้น้อยมาก พวกเขาเป็นเหมือนหน้าด่านในการรับออร์เดอร์จากลูกค้าทั่วทุกสารทิศ แต่กลับเป็นอันดับล่างสุดในสายงานการขาย

     "ไม่ ต่างอะไรจากถังขยะ พวกเขาไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าต้องเจออะไรในแต่ละวัน แต่พวกเขาต้องทำให้การทำงานของคนอื่นง่ายขึ้น"  เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว


 

 

8. เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง
     เพราะทุกครั้งเราจะเจอพวกเขาก็ต่อเรามีปัญหาหรือมีความผิดพลาดบางอย่างเกิด ขึ้น ซึ่งหมายความว่าเราคาดหวังว่าได้รับคำตอบที่น่าพอใจ หรือต้องการให้ปัญหาที่มีอยู่ละล่วงไปด้วยดี ความคาดหวังของผู้อื่น การต้องทำงานไม่เป็นเวลา ทำให้อาชีพเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงกลายเป็นอาชีพที่มีความเครียดสูง

     "อาชีพ นี้อาจจะมีรายได้สูง แต่พวกเขาก็มักถูกโดดเดี่ยวและในบางครั้งก็อาจจะเป็นอันตรายได้ง่ายได้ด้วย" คริสโตเฟอร์ วิลลาร์ด นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยทัฟต์สกล่าว

 

9. นักบัญชีหรือที่ปรึกษาด้านการเงิน
     แค่ได้ยินชื่อก็มองเห็นความเครียดลอยมาตรงหน้าแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากจะจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ หลังการเกษียณของตัวเอง นั่นหมายความว่าคนที่ประกอบอาชีพนี้ต้องดูแลเงินของคนมากมายมหาศาล

     "คน พวกนี้ต้องดูแลรับผิดชอบกับเงินของคนอื่นๆ มันจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าหากคุณทำงานของลูกค้าหายไป คนพวกนี้มักถูกลูกค้าตะโกนใส่หน้าเป็นประจำ" เดเบอร่าห์ เลกจ์ ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตกล่าว


10. เซลล์
     อาชีพเซลล์เป็นอาชีพที่เต็มไปด้วยความเครียดอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะนอกจากต้องรับมือกับลูกค้ามากมายหลายสไตล์แล้ว พวกเขายังต้องเครียดกับเรื่องยอดขายที่มันหมายถึงเงินค่าคอมมิสชั่นอีกด้วย

     แม้ทั้ง 10 สายงานที่ได้กล่าวไปข้างต้น จะเป็นอาชีพที่มีโอกาสจะป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามากกว่าอาชีพอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้หรือสนใจอยากจะประกอบอาชีพ เหล่านี้ควรจะเปลี่ยนความคิดหรือเปลี่ยนสายงาน


 

     เพียงแค่ทำความเข้าใจว่าอาชีพที่ท่านสนใจหรือทำอยู่นั้น มีความเสี่ยงมากกว่าอาชีพอื่น แล้วหาทางผ่อนคลายความตึงเครียดที่อาจจะต้องเจอในแต่ละวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าลง เพียงเท่านี้ก็พอแล้ว
 

     เพราะหากจะว่ากันจริงๆ คงไม่มีอาชีพไหนที่ไม่มีปัญหาและไม่มีความเครียดอยู่เลย

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน
Credit: ที่นี่ดอดคอม
#อาชีพเสี่ยง
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
26 มี.ค. 55 เวลา 07:11 1,934 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...