สงครามเวียตนาม: สมรภูมิลาวตอนที่๒...

ทุ่งไหหิน หรือ ลา เปลน เดส์ จาร์(la plaine des jarres) ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงภาคภาษาฝรั่งเศสของลาวในสมัยนั้นได้กล่าวถึงอยู่ บ่อยๆ
ส่วนนักอ่านข่าวของไทยชื่อนายหนหวยผู้ซึ่งเป็นอ่านข่าวภาษาไทยด้วยสำเนียงไทยอิสาน อ่านคำว่าทุ่งไหหินได้หวาดเสียวมาก...







สงครามเวียตนาม: สมรภูมิลาว(ตอนที่๒)

สงครามกลางเมืองของประเทศลาว: ระหว่าง พ.ศ.๒๓๙๖ - พ.ศ.๒๕๑๘

แม้ว่าสงครามเวียตนามโดยทั่วไปแล้วจะได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่าเป็นการสู้รบกันระหว่างเวียตนามเหนือกับสหรัฐฯ
เป็นเวลาประมาณ๑๕ปี คือ ระหว่างพ.ศ.๒๕๐๓ - พ.ศ.๒๕๑๘ ทั้งนี้ก็เพราะช่วงเวลาของการสู้รับกัน
ระหว่างกองกำลังกู้เอกราชเวียตมินห์ของโฮจิมินห์กับกองกำลังของฝรั่งเศส จาก พ.ศ.๒๔๘๘-พ.ศ.๒๕๐๒ นั้น
ได้ถูกจัดให้เป็นสงครามอินโดจีนครั้งที่๑


สำหรับลาวแล้ว การที่ญี่ปุ่นได้เข้าไปแทนที่การปกครองของฝรั่งเศสในลาวกับการที่ญี่ปุ่นประกาศ
ให้ลาวเป็นเอกราชในขณะญี่ปุ่นเองอยู่ในภาวะแพ้สงครามนั้น ได้นำไปสู่การขาดผู้นำและความพร้อมของการลาว
ที่จะยืนบนขาของตนเองได้ในฉบับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่าด้วยกำลังทหารที่จะเข้าไปป้องกันประเทศ
การแยกการปกครองให้อำนาจของทหารที่แยกกันออกไปมีอำนาจอยู่เป็นหย่อมๆเพื่อผลของการปกครองลาว
ทั้งโดยฝรั่งเศสและญี่ปุ่นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด'พาวเวอร์ แว็คคู่ม' ขึ้นในประเทศลาว
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
และ การที่ญี่ปุ่นได้ประกาศให้ลาวเป็นเอกราชในภาวะเช่นนั้น มันไม่ต่างอะไรกันกับโยนประเทศลาวเข้ากองไฟ
ซึ่ง เหตุการณ์ในอีกกว่ายี่สิบปีต่อไปได้แสดงให้เห็น


การแก่งแย่งชิงอำนาจเพื่อการนำไปสู่เงินตราตะวันตกที่มีจำนวนมหาศาลโดยไม่คำนึงถึงอนาคตของชาติ
ได้นำไปสู่การต่อสู้กันภายในและการตกไปสู่การถูกดึงเข้าไปในเป็นสมรภูมิรบอีกสรภูมิหนึ่งซึ่ง
มี ความสำคัญมากต่อเวียตนามเหนือภายใต้การความช่วยเหลือจากจีนและรัสเซีย ในขณะที่รัฐบาลใหม่ของลาวได้รับความช่วยเหลือโดยเฉพาะด้านการเงินจากสหรัฐฯ อย่างไม่อั้นแต่บทบาททางการทหารในการที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ ของรัฐบาลของลาวโดยสหรัฐฯนั้นมีขึ้นตอนที่ซับซ้อนอันสืบเนื่องมาจากกฏหมายขอ สหรัฐฯเองที่นอกจากจะนำไปสู่การเป็นอุปสรรคของการปฏิบัติการทางการทหารแล้ว ก็ยังได้นำไปสู่การคอร์รัปชั่นกันในวงการทหารและรัฐบาลของลาว และได้นำไปสู่ความล้มเหลวทั้งของสหรัฐฯและของรัฐบาลประชาธิปไตยของลาว
หลังการต่อสู่กันเองเป็นเวลาอันยาวนานถึง๒๒ปี...




เวียตนาม เวียตนามเหนือ เวียตนามใต้ เวียตมินห์ เวียตกง:

เวียตนาม - ได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสระหว่างปีพ.ศ.๒๔๒๘-พ.ศ.๒๔๘๔
โดยที่ระหว่างปีพ.ศ.๒๔๘๔ - พ.ศ.๒๔๘๘ เวียตนามได้ตกเป็นของญี่ปุ่น ซึ่งระหว่างอยู่ภายใต้
การปกครองของญี่ปุ่นนี้ การเก็บรวบรวมเสบียงจากชาวเวียตนามของญี่ปุ่นได้ทำให้ประชากร
ของเวียตนามดดอาหารตายไปประมาณหนึ่งล้านคน

เวียตนามเหนือ และ เวียตนามได้ - ประเทศเวียตนามเหนือและเวียตนามใต้ได้ถูกแบ่งออกที่เส้นขนานที่๑๗
วัตถุประสงค์ของการแบ่งเวียตนามออกเป็นสองเขตุนี้เดิมทีมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การแบ่งความรับผิดชอบ
ในการปลดอาวุธของทหารญี่ปุ่นในเวียตนามที่ได้ทำการตกลงกันระหว่างฝ่ายพันธมิตรสงครามโลกครั้งที่สอง
คือฝ่ายคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตและฝ่ายโลกเสรีที่มีออังกฤษและสหรัฐฯ
(โดยมีฝรั่งเศสซึ่งถือวาเป็นส่วนของฝ่ายพันธมิตรได้เข้าไปร้องขอการกลับเข้าไป
ยึดครองอินโดจีนซึ่งก็ได้รับการเห็นด้วยจากสหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ)

การปลดอาวุธของทหารญี่ปุ่นในเวียตนาม: ตามข้อตกลงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ระหว่างสหภาพโซเวียต อังกฤษ และ สหรัฐฯ ที่ได้ทำการลงนามกันที่เมืองพ็อตสดามประเทศเยอรมันนี้นั้น
ได้มีการตกลงกันว่าทหารอังกฤษเป็นฝ่ายรับหน้าที่ในการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเวียตนามส่วนใต้
ในขณะที่สหภาพโซเวียตได้เลือกที่จะให้ทหารจีนทำการปลดอาวุธของทหารญี่ปุ่นในเวียตนามตอนเหนือ

เวียตมินห์ - คือแนวร่วมเพื่อเอกราชของเวียตนามที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมา
จากทางตอนเหนือของเวียตนามในปีพ.ศ.๒๔๘๔ โดยโฮจิมินห์ นักการเมืองชาวเวียตนาม
ผู้มีความเชื่อในลัทธิคอมมิวนิสต์

เวียตกง - คือแนวร่วมเพื่อเอกราชของเวียตนามที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาทางตอนใต้ของเวียตนามภายให้ความสนับสนุนของเวียตมินป์ในปีพ.ศ.๒๕๐๒

เวียตมินห์มีบทบาทสำคัญต่อสงครามกลางเมืองของลาวเพราะนอกจากการที่ลาวจะได้ตั้ง
บัญชีการคลังของประเทศเอาไว้ที่กรุงฮานอยแล้ว พื้นที่ในภาคเหนือของประเทศลาวนั้น
ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเวียตนามซึ่งพื้นที่เหล่านี้ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของเวียตมินห์
ตลอดระยะเวลาของสงครามอินโดจีนที่เวียตมินห์รบกับฝรั่งเศสและ ระหว่างสังครามอินโดจีนครั้งที่สอง
ที่เวียตนามเหนือรบกับสหรัฐฯในนามของเวียตนามใต้ หรือที่เรียกกันว่า 'สงครามเวียนาม'





พ.ศ.๒๔๘๘ เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองของลาว

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลลงซึ่งได้ทำให้การเมืองของลาวตกอยู่ภายใต้ความยุ่งเหยิง
ฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ปกครองลาวแต่ได้ถูกญี่ปุ่นถอดอำนาจต้องการที่จะกลับเข้าไปปกครองลาวใหม่อีกครั้ง
ภาย ใต้การให้สัญญากันกับฝรั่งเศสโดยสหภาพโซเวียต อังกฤษ และ อเมริกัน ที่ที่ได้ทำกันที่เมืองพ็อตสดาม ประเทศเยอรมันระหว่างการวางแผนรองรับการปกครองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ทว่า แม้ว่าญี่ปุ่นจะแพ้สงครามแต่ก็ยังได้ทำการประกาศเอกราชให้กับลาวแม้ว่าฝ่ายที่ปกครองลาวอยู่
มีความยินดีที่จะกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ในขณะที่ผู้นำการทางเมืองและการทหารของลาวในบางส่วน
ทั้งฝ่ายที่ฝักไฝ่การปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์และฝ่ายที่ฝักไฝ่การปกครองในระบอบระชาธิปไตยที่ต้องการให้ลาวได้รับเอกราช

การขาดความเฉียบขาดในการกำหนดทิศทางของฝ่ายที่ได้ถูกจัดตั้งให้กุมอำนาจและความเห็น
ที่ขัดแย้งกันว่าด้วยระบอบของการเมืองของประเทศในอนาคตภายใต้รัฐบาลที่เป็นเอกราช
โดยการประกาศของญี่ปุนทั่งๆที่ตนเองเป็นฝ่ายแพ้สงครามดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น
ได้ให้ความพยายามที่จะกลับไปสู่การมีอำนาจในลาวอีกครั้งของฝรั่งเศสจำต้องทำด้วยการใช้กำลังทหาร
โดยที่ฝรั่งเศสได้ส่งทการเข้าไปจัดฝึกกำลังรบกองโจรเพื่อที่จะยึดอำนาจการปกครองกลับคืนมา
ซึ่งก็ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การต่อสู้เพื่อการครอบครองอำนาจทั้งการเมืองและการทหาร
ภายในประเทศลาวอันยืดเยื้อ


เจ้าเจ้าเพชรราช รัตนะวงศา นายยกรัฐมนตรีของลาวได้ไปเปิดบัญชีคลังเอาไว้กับ
กองการคลังของอินโดจีนในกรุงฮานอยในความพยายามที่จะสร้างเศรษฐกิจที่ทำงาน

พ.ศ. ๒๔๘๘ - กองกำลังของฝรั่งเศสได้ส่งทหารหน่วยพลร่มลงในลาวเพื่อทำการฝึกหน่วยรบกองโจร

ตุลาคม ๒๔๘๘ - ฝ่ายเคลื่อนไหวอนุรักษณ์นิยมที่เรียกตนเองว่า ลาวอิสระ
ได้ทำการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ในบรรดาสมาชิกของลาวอิสระนั้นประกอบไปด้วยเจ้าชาย
ที่ได้รับการศึกษามาจากยุโรป คือ เจ้าเจ้าเพชราช รัตนะวงศา, เจ้าสุวรรณภูมา และ
น้องชายร่วมพระบิดา เจ้าสุภาณุวงศ์ ซึ่งต่อมาเจ้าสุภาณุวงศ์ได้เป็นผู้บัญชาทหารสูงสุด
และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะที่เจ้าสุวรรณภูมาได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย(ของลาว)


ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศของลาวได้เริ่มขึ้นมาในทันทีที่ได้มีการประกาศเอาราช
เริ่มด้วยการลุกฮือกันขึ้นต่อสู้ของชาวเวียตนามในสุวรรณเขตุ เจ้าสุภาณุวงศ์ได้นำกองกำลังรบเข้าไปปราบ
และทำการยึดอาวุธของประชาชน

จากนั้นกองกำลังของเจ้าสุภาณุวงศ์ก็ได้เคลื่อนที่ต่อไปทางเหนือมุ่งหน้าสู่กรุงเวียงจันทร์
ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของส่วนจังหวัด และเจ้าสุภาณุวงศ์ก็ได้รับการสนับสนุนให้ลงนาม
ในร่วมมือทางการทหารกับรัฐบาลที่เพิ่มจะตั้งขึ้นมาใหม่ของเวียตนามเหนือ

ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติทางการทหารของฝรั่งเศสได้ขยายตัวเข้าไปในไทยในความพยายาม
ที่จะผลักดันกองกำลังของจีนที่ได้ถูกส่งเข้าไปปลดอาวุธญี่ปุ่นและได้คุมบางพื้นที่ของลาวอยู่ในขณะนั้น

พฤศจิกายน ๒๔๘๘ - ฝั่งเศสสามารถจัดตั้งกองกำลังสหกองทัพฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ด้วยกองกำลังรบอาวุธเบา
สี่กองพล โดยที่นายทหารระดับผู้บังคับกองถึงผู้บังคับหมู่เป็นทหารชาวฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายรัฐบาลของลาวนั้น ลาวอิสระก็ไม่สามารถที่จะควบคุมกองกำลังทั่วทั้งประเทศลาวได้แต่อย่างใด

กองกำลังอันแข็งแกร่งของเวียตมินห์ควบคุมอำนาจในตอนเหนือของลาว และเวียตมินห์ก็ได้ปฏิเสธ
ที่จะรับความช่วยเหลือจากจีนรวมทั้งจากกองพลที่๙๓ของจีนที่ได้ยึดพื้นที่ตอนใต้ต่อจากเขตุยึดครอง
ของเวียตมินห์ลงไปถึงหลวงพระบาง

กองกำลังที่ฝรั่งเศสได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่ควบคุมอำนาจอยู่ในแขวงสุวรรณเขตและแขวงคำมุ่น
และเจ้าบุญอุ้ม อีกผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุนฝรั่งเศสคุมอำนาจในส่วนที่เหลือของภาคใต้ของลาว

จากสาเหตุข้างต้นนี้ ลาวอิสระจึงไม่สามารถที่จะควบคุมอำนาจในการต่อสู้กับการกลับมาของฝรั่งเศสได้

ฝรั่งเศสได้เจรจาเพื่อการถอนกำลังของทหารจีนออกไปจากลาวก่อนการกลับเข้าไปยึดอำนาจ
ซึ่งก็สามารถทำให้จีนถอนกำลังออกไปได้(จ่ายเงินให้กองทัพจีนกองนี้ของจีนไปเท่าไหร่ไม่มีใครรู้)




พ.ศ.๒๔๘๙ ฝรั่งเศสกลับเข้า แล้วเวียตนามก็มาถึง:

ฝรั่งเศสได้เริ่มทำการกวาดล้างเพื่อการยึดลาวกลับคืนโดยได้จัดกำลังรบออกเป็นหกกองพลอาวุธเบา
ซึ่งได้เสริมกองกำลังรบย่อยของฝรั่งเศสเข้าไปสมทบอีกด้วย

วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๘๙ - เจ้าสุภาณุวงศ์และกองกำลังขนาดใหญ่ของเวียตนามสู้กับสหกองทัพฝรั่งเศสที่สุวรรณเขต
แต่ก็ไม่สามารถที่จะพิชิตฝรั่งเศสที่มีอาวุธที่เหนือกว่าได้  กองทัพลาวอิสระถูกสังหารไป๗๐๐คน
โดยมศพที่นำกลับไปด้วยไม่ได้ทิ้งไว้ในสมรภูมิ๒๕๐ศพและทหารที่ได้รับบาดเจ็บอีก๑๕๐คน

วันที่๒๔เมษายน๒๔๘๙ - ฝรั่งเศสได้ส่งกองพันพลร่มลงล้อมรอบเวียงจันทร์และยึดเวียงจันทร์ได้โดยไม่ได้รับการต้านทานแต่อย่างใด

วันที่๙พฤษภาคม๒๔๘๙ - ฝรั่งเศสได้ใช้การส่งกองพันพลร่มเข้าล้อมหลวงพระบาง
พร้อมกับการส่งกองทหารราบจากเวียงจันทร์ขึ้นเหนือไปสบทบ และก็ได้ขับไล่กองกำลัง
ของเจ้าเพ็ชราช นายกรัฐมนตรีของลาวอิสระออกไปจากประเทศลาว

จากนั้นเพื่อการได้มาซึ่งความสนับสนุนของประชากรฝรั่งเศสก็ได้กระทำในสิ่งที่ญี่ปุ่น จีน
และ ลาวอิสระได้พยายามกันมาในอดีต คือการทูลเชิญพระเจ้าแห่นดินของลาวขึ้นทรงบรรลังก์อีกครั้งหนึ่ง


กันยายน ๒๔๘๙ - ผู้นำของลาวอิสระได้ถูกปราบและได้หลบหนีไปอยู่ที่กรุงเทพฯ
อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดยท้าวโอ อนุรักษณ์ได้หนีไปฮานอยซึ่่งเขาก็ได้ไปสนิทกันกับโฮจิมินห์
ท้าวหนูฮัก พูมสะหวัน นั้น ความจริงแล้วเป็นชาวเวียตนาม ในขณะที่ ไกสร พรมวิหาร เป็นลูกครึ่งลาว-เวียตนาม
สามคนนี้เป็นผู้ที่ได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวขึ้นมาท้าว โอ อนุรักษณ์
เป็นผู้ที่ได้ทำการจัดตั้งปะเทดลาวขึ้นมาที่คอน ควง ในเวียตนาม ไกสร พมวิหารเป็นผู้จัดตั้ง
กองกำลังใหม่ของปะเทดลาว

ในตอนสิ้นปีพ.ศ.๒๔๘๙ มีกองกำลังของเวียตมินห์ประมาณ๕๐๐คนที่ได้ข้ามเข้าไปในลาว




พ.ศ.๒๔๙๗ - พ.ศ.๒๔๙๕ วาระกองการสะสมกองกำลัง:

วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - พระมหากษัตริย์ศรีสว่างวงศ์ ได้ทรงประกาศการเป็นชาตินเอกราช
ภายใต้การปกป้องของกองกำลังสหทัพของฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้ได้นำไปสู่การสร้างรัฐบาลขึ้นมาใหม่
ในอีกหลายปีต่อมารวมถึงการจัดตั้งกองทัพแห่งชาติลาวซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของราชกองทัพลาว

กองทัพใหม่ได้ประสพกับปัญหาอย่างมากมายจากการขาดความเป็นผู้นำ และอาวุธก็ไม่ทันสมัย
ดังนั้น
กองทัพแห่งชาติของลาวจึงประกอบไปด้วยนายทหารของกองรบอาวุธเบาที่เป็นชาวฝรั่งเศส
นายทหารฝั่งเศสก็ยังได้ทำการฝึกกองทหารพลร่มให้กับลาวอีกด้วย

วันที่๒๕ มกราคม ๒๔๙๐ - เวียตมินห์ได้เพิ่มความสนับสนุนในการรณรงค์เพื่อการปฏิวัติ
และกองกำลังรบของพรรคคอมมิวนิสต์ลาวหรือปะเทดลาวก็ได้ประสพกับความสำเร็จ
กับการจัดตั้งกองกำลังรบกองโจรขึ้นมา


ตุลาคม ๒๔๙๒ - ลาวอิสระที่ได้ลี้ภัยออกไปจากลาวก็ได้สลายตัวลงและเจ้าทั้งสามองค์ต่างก็แยกย้ายกันไป
๑. เจ้าเพ็ตสรัฐ รัตนวงศ์ ทรงเลือกที่จะประทับอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งก็เป็นการประทับชั่วคราว
เพราะในที่สุดก็ทรงได้รับคำเชิญให้ทรงกลับเข้ารับตำแหน่งในไวเซอรอยของลาว

๒. เจ้าสุวรรณภูมา ทรงเลือกที่จะกลับไปยังลาวจากการทรงได้รับอภัยโทษโดยทรงมีความเชื่อว่า
อีกในไม่ช้าลาวก็จะเป็นอิสระ และได้ทรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของลาวในปีพ.ศ.๒๔๙๔ถึง๒๔๙๗

๓. เจ้าสุภาณุวงศ์ ซึ่ได้ทรงประทับอยู่ที่หนา ตรางเจ็ดปี ในการประทับอยู่๑๖ปีในเวียตนาม
ได้พบกับโฮจิมินห์ และ ได้แต่งงานกับผู้หญิงเวียตนาม ทรงได้รับความช่วยเหลือจากเวียตมินห์
ในการจัดตั้งกองกำลังกองโจรขึ้นมา


สิงหาคม ๒๔๙๓ - เจ้าสุภาณุวงศ์ได้ร่วมเข้าร่วมกิจกรรมกับเวียตมินห์ที่กองบังคับการในฮานอย
และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นผู้นำของปะเทดลาวพร้อมกันกับพรรคการเมืองลาวฮักสัตย์
ซึ่งการตั้งพรรคการเมืองนี้ขึ้นมานับว่าเป็นการสร้างภาพลวงตาในความพยายามที่จะดึงฝ่ายอื่นๆ
ในลาวเข้าร่วมโดยมีเบื้องหลังของความต้องการที่จะล้างราชบัลลังก์และการขับไล่ฝรั่งเศสออกไปในขณะเดียวกัน

ธันวาคม ๒๔๙๓ - กองกำลังป้องกันตนเองห้าฝ่ายได้ทำการลงนามร่วมกัน
โดยที่สมาชิกประกอบไปด้วย สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เวียตนาม กัมพูชา และ ลาว
มันเป็นความพยายามที่จะให้มีการส่งความช่วยเหลือให้กับกองกำลังของฝรั่งเศส
โดยอเมริกันในการทำการรบของฝรั่งเศสในอินโดจีน

ในปีนี้สถานการณ์ได้เห็นทหารเวียตมินห์อีก ๕,๐๐๐คนได้เข้าไปในลาว





พุทศักรา ๒๔๙๔:

กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ - พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ได้ตัดสินใจที่จะแยกตัวออกเป็นสามหน่วย
ในการให้การนับสนุนการกอบกู้เอกราชในลาว กัมพูชา และ การทำสงครามในเวียตนาม
หน่วยที่ตั้งขึ้นมาใหม่ในลาวนั้นประกอบไปด้วยสมาชิก๒,๐๙๑คนแต่มีคนลาวอยู่เพียง๓๑คน

นอกจากนี้แล้ว ในปีพ.ศ.๒๔๙๔ ปะเทดลาวก็ยังได้มีกองกำลังที่ได้รับการฝึกขึ้นมาจนสามารถที่จะ
เข้าร่วมการปฏิบัติการกับกองกำลังของเวียตมินห์ได้

ตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๔ - กองทัพแห่งชาติของลาว ได้เพิ่มขึ้นมาอีกสองกองพันทหารราบ
และได้เริ่มทำการฝึกหน่วยกฏิบัติการพิเศษ

ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๔ กองทัพแห่งชาติของลาวมีกำลังทหารอยู่ ๕,๐๙๑นาย





พุทธศักราช ๒๔๙๕ อีกหนึ่งปีต่อมา...

ธันวาคม ๒๔๙๕ - กองทัพของราชอาณาจักรลาวได้เติบโตขึ้นโดยมีผู้บังคับการกองพันที่เป็นทหารลาว และผู้บัญชาการกองร้อยอีก๑๗นาย





พ.ศ.๒๔๙๖ - พ.ศ.๒๔๙๗ - เวียตนามบุกเข้าโจมตีครั้งที่๑ และ ฝรั่งเศสแพ้:เมษายน ๒๔๙๖ -
กองทัพประชาชนของเวียตมินห์จำนวน๔๐,๐๐๐คน ภายใต้การนำของนายพล โว เหวียน เกี๊ยบ
ซึ่งประกอบไปด้วยกองกำลัง๒,๐๐๐คนที่นำโดยเจ้าสุภรรณวงศ์ของปะเทดลาวได้บุกเข้าตีตอนเหนือของลาว
วัตถุประสงค์ของกองทัพสองแนวก็คือการบุกเข้ายึดหลวงพระบางและที่ราบสูงของทุ่งไหหิน


ทางฝ่ายรัฐบาลลาวได้ส่งกองกำลัง๑๐,๐๐๐คนของลาวโดยที่มีทหารฝรั่งเศสที่แข็งแกร่งปนอยู่ด้วย๓,๐๐๐คน


วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๙๖ - กองทัพของเวียตนามเหนือประสพกับความสำเร็จในการบุกเข้ายึดพงสาลีและซัมเหนือ
ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนเวียตนามและพื้นที่ราบสูงทุ่งไหหินของลาว แล้วกองทัพของเวียตนามเหนือ
ก็เคลื่อนกำลังออกไปข้างๆปล่อยให้กองกำลังปะเทดลาวของเจ้าสุภาณุวงศ์เข้าไปในเมืองซัมเหนือ

อีกกองกำลังหนึ่งเคลื่อนเข้ามาจากเดียนเบียนฟูซึ่งอยู่ห่างออกไปจากชายแดนลาวไม่ไกลนัก
ได้ถูกพายุมรสุมกับกองกำลังของฝรั่งเศสที่สู้อย่างถวายหัวต้านเอาไว้

การบุกของเวียตนามจึงจำต้องชะงัก เพราะฝรั่งเศสได้ใช้เครื่องบินพลแม่นปืนมาจากมอร็อคโคเข้าไปเสริม


ธันวาคม ๒๔๙๖ - สหกองทัพของฝรั่งเศสในความพยายามที่จะปกป้องลาวจากกองทัพประชาชนของเวียตนามยึดเดียนเบียนฟูเอาไว้ได้



พ.ศ.๒๔๙๗ ยุทธภูมิเดียนเบียนฟู

มกราคม ๒๔๙๗ - กองทัพประชาชนของเวียตนามเหนือได้เข้าโจมตีลาวสองครั้ง
๑. ตะลุยข้ามเข้าไปในลาวถึงท่าแขกชายฝั่งแม่น้ำโขง
๒. อีกกองทัพหนึ่งได้พยายามอีกครั้งกับการเข้ายึดหลวงพระบาง

ความพยายามทั้งสองครั้งไม่ประสพกับความสำเร็จ กองทัพได้ถูกปราบภายในหนึ่งเดือน
ทำให้กองทัพสองกองนี้รวมมือกันบุกเข้าตีเดียนเบียนฟูที่กลายเป็นสมรภูมิอันเลื่องชื่อในอีกสี่เดือนต่อมา

เดียนเบียฟูที่ดูเหมือนว่าจะตั้งอยู่แสนห่างไกลในมุมมองจากเวียตนามใต้ที่กองกำลังของฝรั่งเศสได้ตั้งอยู่นั้น
ความจริงแล้วอยู่ห่างไปจากชายแดนลาวเพียง๑๐กิโลเมตรเศษ และแม้ว่าพื้นที่ในส่วนที่ติดกับชายแดนของลาว
จะเต็มไปด้วยป่ารกและโขดเขาแต่เรือขนาดเล็กก็สามารถที่จะใช้ล่องตามลำน้ำจากเดียนเบียนฟูลง
ลงไปสู่เมืองอู่และล่องต่อตรงไปยังหลวงพระบางได้หรือไม่เขาก็จะข้ามผ่านตรงพื้นที่ราบสูงของลาวลงไปได้

ในขณะที่ทหารของฝรั่งเศสถูกปิดล้อมอยู่ที่เดียนเบียนฟูนั้น ฝรั่งเศสพยายามที่จะขอให้อเมริกัน
เข้าไปช่วยทหารฝรั่งเศสออกมา แต่อเมริกันเห็นว่าภูมิประเทศนั้นเสี่ยงเกินไปสำหรับการส่งกำลังหทาร
หรือ เครืองบินเข้าช่วยทหารฝรั่งเศสออกมา และเนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯจึงไม่อาจ เข้าไปช่วยทหารฝรั่งเศสออกมาได้

กองกำลังของหน่วยรบชาวแม้วของฝรั่งเศสที่ได้ถูกส่งช่วยทหารฝรั่งเศสที่เดียเบียนฟูในขณะนั้น
ซึ่งหนึ่งในจะนวนทหารหนุ่มที่ได้เดินทางโดยทางเท้าเข้าไปก็คือนายพลวังเปา

แต่ เมื่อกองกำลังที่พยายามจะเข้าไปช่วยทหารฝรั่งเศสไม่สามารถที่จะแหวกการตรึง กำลังของเวียตมินห์เข้าไปได้เดียนเบียนฟูจึงตกในมือของเวียตมินต์

ฝรั่งเศสเสียเดียนเบียนฟู ซึ่งนับว่าเป็นการสิ้นสุดสงครามอินโดจีนครั้งที่๑
ฝรั่งเศสได้รับความกดดันให้เจรจาสันติ

วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗ - ข้อตกลงเพื่อการยุติการสู้รบในลาวก็ได้รับการลงนามยุติ
ความพยายามที่จะกลับเข้าไปปกครองลาวของฝรั่งเศส

กันยายน ๒๔๙๖ เวียตนามเหนือได้จัดตั้งฝ่ายสนับสนุนปะเทดลาวขึ้นที่บ้านน้ำเมา
ลึกเข้าไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว

ข้อตกลงหลังการเสียเดียนเบียนฟูของฝรั่งเศสได้เปลี่ยนภูมิศาสตร์ของอินโดจีนไปเป็นอย่างมาก
นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเปลียนแปลงก็คือเวียตนามเหนือในขณะนั้นประสพความสำเร็จ
กับการคุมอำนาจในภาคเหนือของประเทศ และลาวก็ได้เป็นอิสระจากฝรั่งเศส(แต่ไม่ใช่จากเวียตนาม)

ฝรั่งเศสได้ส่งมอบกำลังรบให้กับรัฐบาลใหม่ของลาวแต่ได้รักษาฐานทหารเอาไว้สองแห่ง
เพื่อที่จะให้คำปรึกษาต่อกองทัพของลาว นอกจากนี้แล้ว กองทัพของราชอาณาจักรลาว
ก็ยังได้รับเครื่องบินSaulnier-500จากฝรั่งเศสอีก๙ลำอีกด้วย

เนื่องจากกองกำลังของคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวไม่ได้แสดงท่าทีว่าจะทำการต่อสู้
และกองทัพเพียง๒๕,๐๐๐คนของราชกองทัพของลาวก็ไม่อยู่ในขีดความสามารถ
ที่จะต้านทานกองทัพประชาชนของเวียตนามเหนือได้ ดังนั้น รัฐบาลของลาวในขณะนั้น
จึงได้เชิญกองทัพปะเทดลาวให้เข้าร่วมกับกองทัพแห่งราชอาณาจักรลาวเพื่อเป็นกองทัพแห่งชาติ




(แค่นี้ก่อนละกัน..... )

Credit: http://www.thailandsusu.com/
20 มี.ค. 55 เวลา 10:15 7,697 1 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...