Dollar Diplomacy: การฑูตของแยงกี้ดอลลาร์...

ข่าวลือพร้อมหลักฐานในปัจจุบันก็คืออเมริกาเป็นหนี้จีนอยู่ประมาณ๑.๖แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ
มันเป็นข่าวที่นักการเมืองอเมริกันชอบนำไปใช้ในการโจมตีฝ่ายรัฐบาลหรือนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม

แต่ก็ยังมีคนอเมริกันอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รู้สึกหวั่นไหวกับเรื่องนี้ เพราะพวกเขาเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาลจีน
และได้ถือหลักฐานอย่างเป็นทางการสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่แล้ว...






หลังจากชัยชนะของญี่ปุ่นต่อจีนในปี พ.ศ.๒๔๓๘ และ ต่อรัสเซียอย่างราบคาบในปี พ.ศ.๒๔๔๘
ญี่ปุ่นได้ก้าวไปสู่การเป็นกองกำลังหลักของตะวันออกไกล

ในขณะนั้น อเมริกามีประธานาธิบดีธีโอดอร์ รู๊สเวลท์เป็นผู้นำ ซึ่ง เขาก็ได้สนับสนุนการเป็นอำนาจใหม่ของเอเซียตะวันออก
ของญี่ปุุ่น
ธีโอดอร์ รู๊สเวลท์ เชื่อว่าญี่ปุ่นไม่ได้ก้าวก่ายต่อผลประโยชน์ของอเมริกาในจีน เขามีความเห็นว่าญี่ปุ่นคือกันชนป้องกัน
การขยายอำนาจของรัสเซีย ซึ่งนับว่าเป็นตัวการในการสงวนความสมดุลย์ทางการทหารเอเซีย เป็นการธรรมรงค์นโยบายเปิดประตู(ของจีน)
และ ให้ความมั่นคงต่อเสถียรภาพของจีนชาติด้อยพัฒนาที่เขาไม่ค่อยจะมีความนับถือเท่าใดนัก

ประธานธิบดีรู๊สเวลท์ได้ให้การสนับสนุนต่อญี่ปุ่นระหว่างสงครามกับรัสเซียและเป็นผู้ที่ช่วยในการเจรจาไกล่เกลี่ยสันติ
หลังสงครามระหว่างประเทศทั้งสองในปี พ.ศ.๒๔๔๘


นอกจากนี้แล้ว คลื่นของชาวญี่ปุ่นที่ได้อพยพหลบหนีภาวะสงครามออกจากประเทศไปยังชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา
ก็ได้ยุติลงเพราะสถานการณ์ของญี่ปุ่นได้เริมเข้ารูปเข้ารอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่ญี่ปุ่นได้บุกเข้าไปยึดแมนจูเรีย
เอาไว้ได้ซึ่งหมายความว่ารัสเซียจะขยายอำนาจออกมาไม่ได้ในย่านนั้น

ยิ่งไปกว่านั้น การที่ญี่ปุ่นได้แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถทางทหารโดยการถล่มรัสเซียอย่างราบคาบ ได้แสดงให้เห็นว่า
ญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจของเอเซียอย่างแท้จริง และ อเมริกาในขณะนั้นก็ไม่มีแม้แต่กองกำลังที่เพียงพอต่อการรักษาความปลอดภัย
ของชายฝั่งตะวันตก (คาลิฟอร์เนีย ออรีกอน และ วอชิงตัน) ซึ่งหากว่าอเมริกาจะเสียฟิลิปปีนส์หรือฮาวายให้กับญี่ปุ่นแล้ว
อเมริกาก็ไม่อาจที่จะยึดคืนกลับมาได้ ดังนั้น ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รู๊สเวลท์จึงได้ใช้นโยบายหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับญี่ปุ่น
แต่ก็ได้เริ่มจัดตั้งกองกำลังเพื่อที่ประธานาธิบดีคนต่อไปจะได้มีไว้สำหรับการสนับสนุนนโยบายตะวันออกไกลขึ้นมาเป็นครั้งแรก

ก่อน ที่ประธานาธิบดีธีโอดอร์ รู๊สเวลท์จะออกจากตำแหน่งไปนั้น เขาได้เขียนจดหมายเตือนรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯเอาไว้ว่า...
จีนนั้น เป็นผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่อยู่ในความสนใจของญี่ปุ่น เพราะฉนั้น อเมริกาควรที่จะเกรงใจรัฐบาลของญี่ปุ่น
รวมทั้งควรที่จะดูแลชาวญี่ปุ่นที่อพยพเข้าไปในอเมริกาด้วยความเห็นอกเห็นใจอีกด้วย


ในรัฐบาลยุคต่อมาซึ่งเป็นยุคของประธานาธิบดีท๊าฟท์ กองกำลังสำหรับการสนับสนุนนโยบายเอเซียหรือตะวันออกไกลของอเมริกา
ได้รับการพัฒนาขึ้น และเจ้าหน้าที่อาทิกงศุลของอเมริกาในมุกเด็น แมนจูเรีย ก็เริ่มไม่ประทับใจกับการที่อเมริกา
ได้ถูกอังกฤษ ฝรั่งเศส และ เยอรมันกีดกันในการลงทุน

อังกฤษ ฝรั่งเศส และ เยอรมัน ได้ร่วมกันออกเงินกู้ให้กับรัฐบาลของจีนในการพัฒนาทางรถไฟ กงศุลใหญ่ของอเมริกา
ได้เข้าไปขอมีเอี่ยวแต่ก็ได้ถูกปฏิเสธจากกลุ่มนักลงทุนชาวยุโรป และในสมัยของประธานาธิบดีรู๊สเวลท์นั้น ความพยายาม
ของกงศุลอเมริกันที่จะหาทางให้อเมริกันมีส่วนเข้าไปลงทุนในดินแดนที่เชื่อกันว่าจะเป็นดินแดนที่เฟื่องฟูทางเศรษฐกิจในอนาคต
แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุน

แต่ในสมัยของประธานาธิบดีท๊าฟท์ กองกำลังสนับสนุนนโยบายตะวันออกไกลจากทางฝ่ายกระทรวงกลาโหมก็ไม่ความแข็งแกร่งขึ้น
และการลงทุนทั้งทางด้านเงินกู้และการค้าก็เป็นสิ่งที่ผู้นำของอเมริกันเห็นว่ามีความจำเป็น ดังนั้น ประธานาธิบดีท๊าฟท์ของสหรัฐฯ
จึงได้มีจดหมายอันนอบน้อมไปยังผู้นำของรัฐบาลจีนเพื่อขอเข้าร่วมลงทุนในรูปของการออกเงินกู้ ซึ่งทางรัฐบาลจีนก็ได้รับ
ทำให้สหรัฐอเมริกาได้มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้ของจีน ท่ามกลางความไม่พอใจของอังกฤษ ฝรั่งเศส และ เยอรมัน


หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ก้าวขึ้นไปสู่การเป็นรัฐบาล จีนได้สัญญาที่จะใช้หนี้ให้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ เยอรมัน
แต่ได้ปฏิเสธที่จะใช้หนี้ให้กับอเมริกันโดยอ้างว่าเป็นการตกลงกับรัฐบาลก่อนหน้านี้


ชาวอเมริกันที่เป็นลูกหลายของกลุ่มนักลงทุนออกเงินกู้ให้กับการพัฒนาทางรถไฟบริเวณ แยงซี แวลลี่ย์
ซึ่งต่างก็มีหลักฐานของการเป็นเจ้าหนี้กัยแห่งชาติของจีนที่ได้ถ่ายถอดเป็นมรดกสืบต่อกันมา...



เพราะฉนัน มันเป็นที่น่าสนใจว่าหนี้เก่ากับหนี้ใหม่เหล่านี้เขาจะเคลียร์กันอย่างไร

Credit: http://www.thailandsusu.com/
20 มี.ค. 55 เวลา 10:10 2,122
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...