อีกหน่อยเราจะใช้หอยทากแทนแบตเตอรี่

 

 

 

 

 

อีกหน่อยเราจะใช้หอยทากแทนแบตเตอรี่

 

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามคิดค้นแบตเตอรี่ที่สามารถให้พลังงานได้โดยอาศัยกระบวนการเมตาบอลิซึมตามธรรมชาติของสัตว์ หนึ่งในตัวอย่างของงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จก็คือ ผลงานของทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Clarkson University และ Ben-Gurion University of the Negev ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ Evgeny Katz ถ้าใครสนใจก็เข้าไปอ่านเอกสารงานวิจัยได้ใน Journal of the American Chemical Society

พวกเค้าได้ติดตั้งเซลล์พลังงานชีวภาพลงไปในตัวของหอยทากที่มีชีวิต มันสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากกลูโคสในกระแสเลือดของหอยทาก เมื่อขั้วไฟฟ้าของเซลล์พลังงานชีวภาพนี้ต่อกับวงจรภายนอก มันก็จะสร้างพลังงานได้ระหว่าง 7.45 และ 0.16 ไมโครวัตต์ (เปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ที่ใช้กับนาฬิกาจะให้พลังงาน 1 ไมโครวัตต์)

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ก็มีนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มนึงที่ประสบความสำเร็จในการฝังเซลล์พลังงานชีวภาพกับแมลง แต่ข้อเสียก็คือ ช่วงชีวิตของแมลงมีระยะเวลาที่สั้นมาก ซึ่งทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานแค่ 2-3 สัปดาห์เท่านั้น ในขณะที่หอยทากสามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าได้นานกว่าเป็นเวลาหลายเดือน แต่โชคร้ายที่การผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ กระแสไฟที่ได้จะตกลงถึง 80 % เมื่อผ่าน 45 นาทีแรกไปแล้ว นั่นหมายความว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องหาวิธีที่สร้างหรือเก็บไฟฟ้าให้ดีกว่านี้ และทางนักวิทยาศาสตร์ได้เตรียมนำวิธีนี้ไปทดลองใช้กับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น กุ้งล็อบสเตอร์

งานวิจัยชิ้นนี้มีประโยชน์ ก็คือ นำไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ติดตามหรือเก็บข้อมูลที่สามารถใช้งานได้นานขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ เช่น มันอาจจะใช้เป็นอุปกรณ์การแพทย์ฝังไปในร่างกายของมนุษย์โดยใช้พลังงานจากความร้อนในร่างกายหรือพลังงานจลน์ เป็นต้นค่ะ

 

Credit: http://dailygizmo.tv/tag/clarkson-university/
17 มี.ค. 55 เวลา 14:06 5,826 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...