ทหารมะกันฆ่าหมู่พลเรือนอัฟกัน 16 ศพ กระเทาะสัมพันธ์วอชิงตัน-คาบูลร้าวลึก

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - “ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” คง

อธิบายถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอัฟกานิสถานในขณะนี้ได้

เป็นอย่างดี ขณะที่เหตุการณ์ประท้วงรุนแรงหลังจากกรณีทหารอเมริกัน ณ ฐาน

ทัพบาแกรม เผาทำลายคัมภีร์อัลกุรอานอันศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลาม ซึ่งสร้าง

กระแสความโกรธแค้นให้กับชาวอัฟกัน ยังไม่ทันจะจางหายไป ประเด็นใหม่ก็เกิด

ขึ้น เมื่อทหารอเมริกันนายหนึ่งบุกกราดยิงพลเรือนอัฟกันถึงบ้านของพวกเขา ส่ง

ผลให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 16 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นผู้หญิง กับเด็ก โศก

นาฏกรรมนี้เป็นเสมือนการราดน้ำมันใส่กองไฟ ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสอง

ฝ่ายยิ่งเลวร้ายลง
ในเช้ามืดวันอาทิตย์ (11) ที่ผ่านมา ทหารอเมริกันอันธพาลนายหนึ่ง ได้เดินออกจากค่าย

ของเขาในจังหวัดกันดาฮาร์ ทางตอนใต้ของประเทศ ก่อนบุกเข้าไปในบ้าน 3 หลัง กราด

ยิงชาวบ้านถึงในที่อยู่ของพวกเขา สังหารผู้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น 16 ราย และยังมีผู้ได้รับบาด

เจ็บอีกหลายคน โดยผลร้ายที่ตามมาจากเหตุสลดนี้ ยิ่งไปตอกย้ำความไม่ไว้วางใจกัน

และอาการหมดแรงของทั้งสหรัฐฯ และอัฟกานิสถาน ในสงครามอันยืดเยื้อยาวนานกว่า 10

ปี ที่ถูกมองว่าเป็นสาเหตุของความสูญเสียมากขึ้นเรื่อยๆ
       
        ทางด้านอัฟกานิสถาน มีเพียงเสียงแสดงความโกรธเกรี้ยวจากประธานาธิบดีฮามิด

คาร์ไซ ต่อกรณีกราดยิงดังกล่าว โดยประณามว่าการกระทำอุกอาจนี้คือ การฆาตกรรม และ

เป็นการก่อการร้ายที่ไม่อาจอภัยได้ ทว่า ยังไม่ปรากฏกระแสความไม่พอใจของผู้คน ที่หลั่ง

ไหลออกมาตามท้องถนน เหมือนเช่นกรณีเผาพรระคัมภีร์อัลกรุอาน ในเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง

จุดชนวนการประท้วงต่อต้านสหรัฐฯ ที่เต็มไปด้วยความรุนแรงนานหลายสัปดาห์ และทำมี

ผู้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 40 ราย
       
        สำหรับสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรสำคัญในยุโรป การสังหารหมู่ครั้งนี้น่าจะยิ่งสร้าง

ความเบื่อหน่ายต่อสงครามที่นับว่ายาวนานที่สุดของอเมริกา และเพิ่มความต้องการถอน

ทหารกลับประเทศโดยเร็วที่สุด ตามที่ปรากฏในผลโพลหลายสำนัก อย่างไรก็ดี โอบามา

ได้เตือนถึงการรีบเร่งถอนกองกำลังออกมา โดยว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องให้แน่ใจว่า ทหาร

สหรัฐฯ จะไม่อยู่ในอัฟกานิสถานนานเกินกว่าที่จำเป็น

ประเด็นสำคัญ กรณีของทหารอเมริกันรายนี้อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาเพื่อจัดทำข้อ

ตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระยะยาว ซึ่งจะเป็นสัญญาที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง

ทั้งสองฝ่าย ภายหลังที่กองทหารสู้รบของกองกำลังสนับสนุนความมั่นคงระหว่างประเทศ

หรือไอซาฟ ที่นำโดยสหรัฐฯ ถอนออกไปจากอัฟกานิสถานในปี 2014 ตามกำหนดเดิม

โดยครอบคลุมถึงฐานะทางกฎหมายของทหารสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในประเทศนี้ภายหลังจาก

นั้น เพื่อช่วยเหลือคาบูลทั้งในด้านข่าวกรอง, แสนยานุภาพทางอากาศ, และการส่งกำลัง

บำรุง ในการสู้รบกับพวกผู้ก่อความไม่สงบในประเทศ
       
        อัฟกานิสถานได้วางเงื่อนไขการเจรจาเบื้องต้น โดยเรียกร้องให้กองกำลังสหรัฐฯ อยู่

ภายใต้อำนาจตุลาการของศาลอัฟกานิสถาน ซึ่งแม้สหรัฐฯ จะไม่เคยยินยอมตามเงื่อนไข

นั้น แต่เหตุสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นนั้นอาจยิ่งไปส่งเสริมเงื่อนไขอื่นๆ ที่ใหญ่กว่า เช่น ข้อ

ห้ามไม่ให้กองกำลังไอซาฟปฏิบัติการโจมตีในเวลากลางคืน ซึ่งคาร์ไซตำหนิว่าคร่าชีวิต

พลเรือนไปเป็นจำนวนมาก โดยก่อนหน้านี้ วอชิงตันก็เคยต้องยกเลิกความพยายามที่จะ

ทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เช่นนี้กับอิรัก และถอนทหารทั้งหมดออกไป โดยไม่

เหลือกองกำลังตั้งประจำอยู่เลย หลังจากไม่สามารถทำให้แบกแดดยินยอมให้ทหาร

อเมริกันได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นต่อกฎหมายของอิรักได้
       
        ขณะที่คาร์ไซก็เตรียมตัวเจอปัญหาหนักหลังปี 2014 ไม่เพียงแค่การสู้รบปรบมือกับ

กลุ่มตอลิบาน แต่ยังรวมถึงชาวเผ่าเจ้าของดินแดน ซึ่งเคยทำให้ประเทศตกอยู่ในสภาพ

สงครามกลางเมืองมาแล้วช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 หลังสหภาพโซเวียตถอนกำลังออกไป

จากที่ยึดครองมาร่วม 10 ปี ส่วนสหรัฐฯ ก็คงอยากรักษาฐานที่มั่นของตนในอัฟกานิสถาน

ซึ่งอยู่ติดกับอิหร่านไว้ และเพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศนี้ถูกใช้เป็นแหล่งกบดานของเครือ

ข่ายอัลกออิดะห์อีก จึงน่าจะเป็นคำถามที่ว่าใครต้องการใครมากกว่า เมื่อ “สงครามดี” ตาม

ที่นักวิชาการตะวันตกเรียกการส่งทหารอเมริกันเข้าไปโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน ซึ่งให้ที่พัก

พิงแก่อุซามะห์ บินลาดิน หลังวินาศกรรม 911 นั้น กลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์

สัญญาณของความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างทั้งสองฝ่ายที่นับวันจะยิ่งเลวร้ายลงนั้น ก็คือ

การที่นาโตได้ถอนเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาออกจากกระทรวงต่างๆ ในรัฐบาลคาบูล หลังจากมี

เจ้าหน้าที่ชาวสหรัฐฯ ถูกยิงเสียชีวิตภายในกระทรวงมหาดไทยอัฟกานิสถาน หลังการ

ประท้วงประเด็นการเผาอัลกุรอานทะลุจุดเดือด ทว่า ในเหตุการณ์กราดยิงนี้ เหยื่อกลับ

เป็นพลเรือน ที่รวมทั้งผู้หญิง เด็ก และคนชรา ซึ่งถูกสังหารโดยทหารอเมริกัน ผู้แบกรับ

ภาระการทำสงคราม
       
        เหตุสังหารหมู่ครั้งนี้ ที่เหยื่อเป็นเพียงเด็กตัวเล็กๆ ถูกยิงอย่างเหี้ยมโหด ในขณะที่

พวกเขากำลังนอนหลับ ก่อให้เกิดทั้งความเศร้าโศก ระคนโกรธแค้น อันสั่งสมมาจาก

ความขุ่นเคืองในกรณีเผาพระคัมภีร์อัลกรุอาน ที่เพิ่งจะเริ่มสงบลง เมื่อวอชิงตันยอมลงนาม

ในข้อตกลงส่งมอบอำนาจการควบคุมเรือนจำบาแกรม อันเป็นที่คุมขังนักโทษกลุ่ม

อัลกออิดะห์และตอลิบันนับร้อยคนให้แก่ทางการคาบูล กลายเป็นรอยร้าวที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น

ในความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งนับวันจะขยายวงกว้าง และลึกลงไป จนอาจจะ

ส่งผลให้สถานการณ์ในอัฟกานิสถานยิ่งยากที่จะควบคุม.





 

Credit: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000034408
17 มี.ค. 55 เวลา 12:08 2,138 2 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...