แม้ว่าสหรัฐฯจะได้มีทหารอยู่ในเวียตนามบ้างแล้ว แต่ภาระกิจของทหารอเมริกันก็เป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น
ในขณะที่ทหารเวียตนามใต้มัวเมากับความเชื่อ สนใจแต่ที่จะกดขี่กันเองและกอบโกยมากการรัษอิสระภาพ
วาระของการนำไปสู่การส่งกำลังรบเข้าสู่สมรภูมิเวียตนาม
(พ.ศ.๒๕๐๔ - ๒๕๐๗)
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔
เดือนมกราคม ๒๕๐๔ - นิคิต้า ครุชเช็ฟว์ ประธานของสหภาพโซเวียตได้ปฏิญาณที่จะให้การสนับสนุนต่อ
"สงครามแห่งการกู้ชาติ" ทั่วโลก คำพูดของเขาได้สร้างความมั่นใจให้กับเวียตนามเหนือขึ้นเป็นอย่างมาก
และได้นำไปสู่การทวีการปฏิบัติการต่อสู้ด้วยการจับอาวุธเพื่อการกอบกู้เอกราชของเวียตนามภายใต้การนำของโฮจิมินห์
วั
นที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๐๔ - จอห์น ฟิตซ์เจอราลด์ เคนเนดี้ ได้รับการสาบานต้นขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่๓๕
ของสหรัฐอเมริกา และได้ประกาศว่า "..เราจะจ่ายค่าทุกรูปแบบและรับผิดชอบต่ออุปสรรค์ทุกรูปแบบ
จะเผชิญกับความยากลำบากทุกรูปแบบ ในการที่จะสนับสนุนมิตร และพร้อมที่จะต่อต้านกับศัตรูใดๆ
เพื่อความอยู่รอดและความสำเร็จของอิสระภาพ" ในทางส่วนตัวประธานาธิบดีไอเซ่นฮาวเออร์ได้บอกกับ
จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ว่า.. "ผมคิดว่าคุณจะต้องส่งกองกำลังทหารเข้าไป" ในเอเซียอาคเนย์
รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีเคนเนดี้นั้น เป็นรัฐบาลที่ขาดประสพการณ์ว่าด้วยกิจการในด้านที่เกี่ยวกับเอเซีย
โรเบิร์ต แม็คนามาร่า รัฐมนตรีกลาโหมวัย๔๔ปีของรัฐบาลเค้ กับนักวางแผนพลเรือนได้ถูกเฟ้นตัวมาจากชุมชนนักวิชาการ
กำลังจะก้าวไปสู่ภารกิจอันสำคัญกับการตัดสินใจทางด้านยุทธการของทำเนียบขาวต่อเหตุการณ์ในเวียตนามในอีกหลายปีต่อมา
ภายใต้การนำของพวกเขา ซึ่ง ถือว่ายังเด็กสำหรับสถานการณ์ทางการเมืองในระดับโลก สหรัฐอเมริกาจะย่างก้าวไปสู่
การทำสงครามแบบจำกัดในความพยายามที่จะหาข้อตกลงทางการเมืองในเวียตนาม โดยที่พวกเขาถูกผูกมันในบทบาท
การทำการรบด้วยกฏหมายของสหรัฐฯเองที่การตัดสินใจแทบทุกอย่างจะต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาฯ
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯก็จะพบกับการต่อต้านจากศัตรูที่จะทุ่มเทได้ทุกอย่างทางการทหารเพื่อที่จะได้มาซึ่งชัยชนะ
โดยที่ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ได้กล่าวว่า "...ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดที่เราจะต้องเสียสละ ไม่ว่ามันจะเป็นการต่อสู้อันยาวนานสักเพียงใด...
จนกว่าเวียตนามจะได้มาซึ่งเอกราชอันสมบูรณ์แบบและเราได้กลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน"
พฤภาคม ๒๕๐๔ - รองประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอหน์สัน ได้เดินทางไปเยือนประธานาธิบดีโหวดินเดียมที่เวียตนามใต้
และได้กล่าวยกย่องผู้นำที่กำลังทำการต่อสู้ของเวียตนามว่าเขาคือ 'วินสตั้น เชอร์ชิงแห่งเอเซีย'
ข้อสังเกต:
ความหลงไหลในตนเองของผู้นำในเอเซียที่ขาดสติ จริยธรรม และ วิสัยทัศน์ ต่อคำเยินยอของผู้นำของประเทศมหาอำนาจ
ได้นำไปสู่การเสื่อมและสูญเสียอำนาจของนายพลเจียงไคเช็คให้กับญี่ปุ่นและ ให้กับเหมาเซตุง แต่ไม่พวกเขาก็ไม่เคยที่จะ
นำเอามันมาใส่ใจแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้...
พฤษภาคม ๒๕๐๔ - ประธานาธิบดีเคนเนดี้ส่งทหารกรีนเบเรต์ที่ปรึกษาพิเศษของอเมริกันจำนวน๔๐๐นายไปยังเวียตนามใต้
เพื่อที่จะทำการฝึกทหารให้กับเวียตนามใต้ด้วยวิธีการสู้กับการรบแบบกองโจรของเวียตกง
ภารกิจของกรีนเบเรต์ต่อมาได้ขยายไปสู่การก่อตั้งกองกำลังป้องกันพิเศษประกอบไปด้วยนักรบชาวเขาที่ทรหดเรียกกันว่า
'มอนแทกนาร์ด' กองรบเหล่านี้ได้ตั้งค่ายอยู่ตามเทือกเขาเพื่อที่จะปราบปรามการแทรกซึมของเวียตนามเหนือ
ช่วงฤดูใบไม้ร่วง - ความขัดแย้งได้แผ่ขยายเมื่อเวียตกงจำนวน๒๖,๐๐๐คนได้ประสพกับความสำเร็จกับการบุกเข้าโจมตี
ในหล่ายแห่ง โหงดินเดียมจึงได้เรียกร้องความช่วยเหลือทางทหารเพิ่มจากประธานิธิบดีเคนเนดี
ตุลาคม ๒๕๐๔ - เพื่อที่จะได้เห็นเหตุการณ์ของความล้มเหลวทางการทหารอย่างใกล้ชิด นายแม็กซ์เวลล์ เทย์เลอ
กับ นายวอลต์ ร๊อสโตว ที่ปรึกษาใกล้ชิดของประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ถูกส่งไปเวียตนาม โดยที่นายแม็กซ์เวลล์ เทย์เลอร์
ได้รายงานต่อประธานาธิบดีเคนเนดี้ว่า "หากว่าเวียตนามไป มันก็จะเป็นการยากที่จะยึดเอเซียอาคเนย์เอาไว้ได้" และ
ได้แนะนำให้สหรัฐฯขยายการส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยเวียตนามโดยแนะนำให้ส่งที่ปรึกษาทางการทหารกับกำลังรบอีก๘,๐๐๐เข้าไปช่วย
แต่ทางฝ่ายรัฐมนตรีกลาโหมโรเบิร์ต แม็คนามาร่า และผู้บัญชาการทหารสูงสุดเชื่อว่าแทนที่่จะส่งทหารไป๘,๐๐๐คน
ควรที่จะส่งไปให้มันเยอะๆเพื่อที่จะได้แสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพด้วยการส่งไปทีเดียวเลยหกกองพลหรือจำนวน๒๐๐,๐๐๐คน
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีเคนเนดี้ไม่เห็นด้วยกับการส่งกองกำลังรบเข้าไปในเวียตนาม
วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๐๔ ในวันครบรอบหกปีของประเทศสาธารณรัฐเวียตนามใต้ ประธานธิบดีเคนเนดี้ได้ส่งจดหมาย
ถึงประธานาธิบดีโหงดินเดียมและปฏิญาณว่า "สหรัฐฯตัดสินใจที่จะให้ความช่วยเหลือต่อเวียตนามในการที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกราช..."
แล้วประธานธิบดีเคนเนดี้ก็ส่งที่ปรึกษาทางการทหารไปเพิ่มพร้อมกับกองบินเฮลิคอปเตอร์เพื่อที่จะพาทหารเวียตนามใต้
ไปลงในสมรภูมิโดยตรง ซึ่งทำให้ทหารอเมริกันข้องเกี่่ยวกับการรบโดยปริยายโดยที่ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้อธิบายถึง
การขยายการปฏิบัติภารกิจของทหารในครั้งนี้ว่า "..เป็นการป้องกันไม่ให้คอมมิวนิสต์เข้ายึดเวียตนามซึ่งตรงกับนโยบาย
ของรัฐบาลสหรัฐฯที่ได้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙๗" และแล้วจำนวนของที่ปรึกษาทางการทหารโดยรัฐบาลเคนเนดี้
ก็ได้เกิน๑๖,๐๐๐คนในที่สุด
ธันวาคม ๒๕๐๔ - กองโจรเวียตกงในขณะนั้นได้ควบคุมใจชนบทของเวียตนามเอาไว้ได้เกือบหมดแล้วและได้เริ่มทำการ
ซุ่มโจมตีกองกำลังทหารของเวียตนามใต้บ่อยครั้งขึ้น ค่าใช้จ่ายของอเมริกันในการบำรุงทหารเวียตนามใต้๒๐๐,๐๐๐คน
และค่าใช้ใช้ทั่วๆไปรวมแล้ววันละหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕
วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๐๕ - ระหว่างที่กำลังปราศัยรายงานผลการปฏิบัติงานของรัฐบาลต่อประชากรของสหรัฐฯ(สเตท ออฟ เดอะ ยูเนี่ยน)
เคนเนดี้ได้กล่าวว่า "ประชากรนั้นในบางวาระของประวัติศาสตร์ก็จะได้รับมอบภาระของการเป็นผู้ปกป้องเสรีภาพอันยิ่งใหญ่
ในวาระที่อันตรายที่สุด นี่คือความโชคดีของเรา..."
ข้อสังเกต:
ประธานาธิบดีเคนเนดี้ เป็นอดีตผู้สื่อข่าวต่างประเทศและเป็นนักเขียน จึงมีความสามารถในการใช้คำพูดในการสื่อที่ดีเยี่ยม
นอกจากนี้แล้ว เขาก็มาจากครอบครัวที่ที่เรียกได้ว่าเป็นชนชั้นศักดินาของอเมริกาที่มีฐานะดี ซึ่งแม้ว่าอเมริกันโดยทั่วไป
จะมีความคิดต่อต้านระบบศักดินาหรือราชบรรลังก์ แต่คนอเมริกันมองครอบครัวนี้เสมือนว่าพวกเขาเป็นราชนิกูลของอเมริกา
วันที่๑๕ มกราคม ๒๕๐๕ - ระหว่างการเปิดให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ถูกถามว่าทหารอเมริกัน
จะมีบทบาทในการออกรบหรือไม่ "ไม่" ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ตอบโดยปราศจากการกล่าวใดๆต่อจากนั้น
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕ - เอ็มเอซีวี หรือ ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการช่วยเหลือทางการทหารต่อเวียตนามได้ถูกตั้งขึ้น
มันเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาแทนที่เอ็มเอเอจี-เวียตนาม หรือ หน่วยที่ปรึกษาช่วยเหลือทางการทหารต่อเวียตนาม
ที่ได้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการทหารของฝรั่งเศสในเวียตนามในปีพ.ศ.๒๔๙๓
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕ - พระราชวังของประธานาธิบดีในกรุงไซง่อนถูกทิ้งระเบิดโดยนักบินเวียตนามใต้สองนาย
ที่ได้ใช้เครื่องบินรบสมัยสงครามโลกครั้งที่สองของอเมริกัน ประธานาธิบดีโหงดินเดียมและน้องนายหนีรอดไปได้
โดยไม่ได้รับบาดเจ็บ เขาได้กล่าวว่าเพราะ"พระผู้เป็นเจ้าได้ให้การคุ้มครอง"
มีนาคม ๒๕๐๕ - ปฏิบัติการซันไรซ์ได้เริ่มขึ้น มันเป็นปฏิบัติการภายใต้คำแนะนำทางยุทธการของที่ปรึกษาชาวอเมริกัน
ที่ได้จัดให้มีการโยกย้ายประชากรที่กระจายกันอยู่ในชนบทออกจากถิ่นกำเนิดให้ไปอยู่ในหมู่บ้านชายแดนทำให้เป็นหมู่บ้าน
ป้องกันตนเอง อย่างไรก็ตาม ภายในระยะเวลาอันสั้น๕๐หมู่บ้านก็ได้ถูกแทรกซึมและยึดอำนาจโดยเวียตกงซึ่งได้ฆ่า
ผู้นำหมู่บ้านเป็นการข่มขวัญ
ยังผลให้โหงดินเดียมได้สั่งให้ทิ้งระเบิดหมู่บ้านที่ต้องสงสัย การทิ้งระเบิดโดยเวียตนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากนักบินอเมริกัน
ซึ่งก็ได้เริ่มลงมือในการทิ้งระเบิดเอง การตายของประชาชนทำให้ความนิยมในตัวของโหงดินเดียมเสือมถอยหนักเข้าไปอีกและ
ได้นำไปสู่กระแสต่อต้านอเมริกันของชาวชนบทซึ่งก็ได้ประณามอเมริกันต่อความคิดโยกย้ายประชากรและการทิ้งระเบิด
พฤษภาคม ๒๕๐๕ - เวียตกงได้ก่อตั้งตัวขึ้นมาเป็นหน่วยขนาดกองพลปฏิบัติการอยู่ในเวียตนามตอนกลาง
พฤษภาคม ๒๕๐๕ - รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯโรเบิร์ต แม็คนามาร่า ได้ไปเยือนเวียตนามและรายงานต่อประธานาธิบดีว่า
"เรากำลังชนะสงคราม"
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ การประกาศเป็นกลางของลาวได้รับการลงนามโดยสหรัฐฯและอีก๑๓ประเทศป้องกันไม่ให้สหรัฐฯ
เข้าไปรุกรานผู้ใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในด้านตะวันออกของลาว
วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๕ - ประธานาธิบดีเคนเนดี้ ได้ลงนามความช่วยเหลือต่างประเทศของปี๒๕๐๕ ซึ่งได้กำหนดเอาไว้ว่า"..
ความช่วยเหลือทางการทหารต่อประเทศซึ่งติดต่อกับโลกคอมมิวนิสต์และภายใต้ความถูกรุกรานโดยตรง"
สิงหาคม ๒๕๐๕ หน่วยปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฯได้ตั้งค่ายขึ้นที่เคซานห์เพื่อที่จะสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหว
ของการแทรกซึมผ่านเส้นทางโฮจิมินห์
พุทธศักราช ๒๕๐๖
วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๐๖ - ข่าวของชัยชนะของเวียตกง๓๕๐คนต่อกองกำลังรบของเวียตนามใต้ที่มีกำลังมากว่า
และอุปกรณ์สงครามที่ดีกว่าจากอเมริกาในการรบกันที่แอป บาค ในการพยายามที่จะบุกเข้ายึดสถานีวิทยุ และ
เจ้าหน้าที่ประจำเฮลิคอปเตอร์ชาวอเมริกันสามนายถูกฆ่า
กองทัพเวียตนามใต้ควบคุมโดยนายทหารที่โหงดินเดียมเป็นผู้เลือกด้วยตนเอง ไม่ใช่เพราะความสามารถ
แต่เพราะพวกเขาจงรักภักดีต่อโหงดินเดียม เขาได้สั่งให้นายทหารของเขาหลีกเลียงการเสียชีวิต หน้าที่หลัก
ของพวกเขาคือปกป้องโหงดินเดียมในกรณีที่มีการปฏิวัติขึ้นในไซง่อน
พฤษภาคม ๒๕๐๖ - การก่อการจราจลของผู้นับถือศาสนาพุทธในเวียตนามใต้หลังจากที่พวกเขาได้ถูกห้าม
ติดธงประดับระหว่างงานฉลองวันประสูตรของพระพุทธเจ้า ในเมืองฮุย เวียตนามใต้ กองกำลังตำรวจ และ
ทหารได้ยิงเข้าใส่พุทธศาสนิกชนผู้ทำการประท้วงยังผลให้ผู้หญิงหนึ่งคนและเด็กอีกแปดคนเสียชีวิต
ความกดดันทางการเมืองได้ทวีขึ้นสำหรับประธานาธิบดีเคนเนดี้ที่จะต้องแยกตัวออกไปจากรัฐบาลกดขี่ประชากร
ที่ปกครองกันภายในครองครัวของโหงดินเดียม ผู้นำของชาวพุทธในไซ่ง่อนได้กล่าวกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯว่า
"พวกคุณเป็นต้นเหตุของปัญหาเพราะพวกคุณสนับสนุนรัฐบาลของโหงดินเดียมและรัฐบาลที่ละเลยของเขา"
มิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๐๖ - การรณรงค์ประท้วงของชาวพุทธได้แผ่ขยาย พระสงฆ์หลายรูปได้ทำการประท้วง
ด้วยการเผาตนเองถึงแก่ความตาย การเผาตนเองของพระสงฆ์ดังกล่าวได้เป็นภาพและข่าวที่ได้สร้างความตื่นตระหนก
ให้กับประชากรของสหรัฐฯรวมทั้งประธานาธิบดีเคนเนดี้เอง
โหงดินเดียมได้ตอบโต้การประท้วงและความไม่สงบของชาวพุทธด้วยการประกาศกฏอัยการศึก
หน่วยปฏิบัติการพิเศษของเวียตนามใต้ซึ่งได้รับการฝึกให้โดยอเมริกันในขณะนั้นได้ตกอยู่ภายใต้
การบัญชาการของโหงดินนูห์น้องชายของโหงดินเดียม ซึ่งมีความชิงชังผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่น
นอกจากโรมัน คาธอลิกเป็นทุนอยู่แล้ว จึงได้ใช้มาตราการเด็ดขาดในการจัดการกับสถานที่พักพิง
ทางใจของชาวพุทธในไซง่อน เมืองฮุ่ย และ ในเมืองอื่นๆ
มันเป็นการบังเอิญที่ครองครัวของประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็เป็นคริสตศาสนิกชนนิกายโรมัน คาธอลิค
มาตราการปราบปรามของโหงดินนูห์ได้สร้างปฏิกริยาต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีโหงดินเดียมขึ้นอย่างกว้างขวาง
ในขณะเดียวกันระหว่างการให้สัมภาษณ์ต่อโทรทัศน์ของอเมริกัน ภรรยาผู้ทรนงของโหวดินนูห์ได้กล่าวอย่างเย็นชา
ถึงการฆ่าตัวตายของพระสงฆ์ว่าเป็นการบาร์บีคิว
เมื่อสถานการณ์ได้ทวีความเลวร้ายขึ้น เจ้าหน้าระดับสูงของสหรัฐฯในทำเนียบขาวได้ทำการหารือกัน
โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การที่จะบังคับให้โหงดินเดียมทำการปฏิรูปทางการเมือง
วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๖ - นายพลตรัน วัน ดอน แห่งกองทัพเวียตนามใต้ผู้ซึ่งนับถือศาสนาพุทธได้ติดต่อกับซีไอเอ
ในไซ่ง่อนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการปฏิบัติยึดอำนาจจากโหงดินเดียม
วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๐๖ - นายเฮ็รรี่ ชาโบต์ ลอดจ์ ฑูตสหรัฐฯประจำเวียตนามคนใหม่ได้เดินทางไปถึงเวียตนามใต้
วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๐๖ - ข้อความจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่ได้ส่งไปให้กับฑูตลอดจ์ได้ถูกตีความว่าเขาควรที่จะ
ส่งเสริมให้มีการยึดอำนาจจากประธานาธิบดีโหงดินเดียม
วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๐๖ - ฑูตลอดจ์ได้เข้าพบประธานาธิบดีโหงดินเดียมเป็นครั้งแรก ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีเคนเนดี้
ฑูตลอดจ์ได้บอกกับโหงดินเดียมให้ปลดน้องชายของเขาอันเป็นที่ชิงชังของประชาชนออกจากตำแหน่ง แต่โหงดินเดียมปฏิเสธ
อย่างทรนงที่จะพูดถึงเรื่องเช่นนี้กับฑูตลอดจ์
วันที่ ๒๖ สิงหาคม - ประธานาธิบดีเคนเนดี้และที่ปรึกษาระดับสูงได้ทำการถกกันอย่างเผ็ดร้อนว่าด้วยสหรัฐฯสมควรหรือไม่
ที่จะสนับสนุนการทำรัฐประหารของทหารต่อโหงดินเดียม
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๖ - ฑูตลอดจ์ได้ส่งสารน์ไปยังกรุงวอชิงตันมีใจความว่า "...ในมุมมองของผม มันไม่ทางที่จะเป็นไปได้
ที่จะชนะสงครามกับการปกครองของโหงดินเดียม" ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ยกให้การตัดสินใจในการแก้ไขสถานการณ์ในไซง่อน
อยู่ในมือของฑูตลอดจ์
อย่างไรก็ตาม แผนการทำรัฐประหารต่อรัฐบาลโหงดินเดียมเกิดมีปัญหาขึ้นเพราะนายทหารเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๐๖ - ระหว่างการให้สัมภาษณ์ต่อวอลเตอร์ ครองไคต์ นักข่าวอาวุโสของโทรทัศน์ของอเมริกัน
ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้บรรยายถึงโหงดินเดียมว่า "ขาดการสัมผัสกับประชาชน" และได้กล่าวเสริมว่ารัฐบาลของเวียตนาม
อาจจะได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้ง "กับการเปลี่ยนนโยบายหรือการเปลี่ยนแปลงทางตัวบุคคล"
ประธานาธิบดีเคนเนดี้ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า.."หากว่าเราถอนกำลังทหารออกจากเวียตนามใต้ คอมมิวนิสต์ก็จะเข้ามาครองครองเวียตนามให้
และอีกในไม่ช้า ประเทศไทย กัมพูชา ลาว และ มาเลย์เซียก็จะต้องไปด้วย..."
วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๐๖ - ประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ส่งสารน์ที่สร้างความสับสนให้กับฑูตลอดจ์มีใจความว่า..
"ไม่ควรที่จะเริ่มการใดๆที่จะส่งเสริมให้มีการทำรัฐประหาร" แต่ฑูตลอดจ์ก็ควรที่จะ"เฟ้นหาบุคคล และ
สร้างความสัมพันธ์ต่อแนวโน้มของการเปลี่ยนผู้นำต่อเมื่อมองเห็น"
วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๐๖ - ฑูตลอดจ์ได้แจ้งไปยังประธานาธิบดีเคนเนดี้ว่า การทำรัฐประหารต่อรัฐบาลของโหงดินเดียมกำลังจะมีขึ้นมาอีกแล้ว
กลุ่มนายพลผู้ก่อการกบฏนำโดย ดวง วัน 'บิ๊ก' มินห์ ก่อนอื่นได้ขอการยืนจากสหรัฐฯต่อการที่จะให้การสนับสนุนเวียตนามใต้
หลังจากที่โหงเดินเดียมพ้นตำแหน่งไปแล้ว และสหรัฐฯจะไม่ยุ่งเกียวกับการปฏิวัติ
ซีไอเอในไซง่อนได้รับคับสั่งให้ส่งสัญญาณต่อนายทหารเวียตนามใต้ที่จะการยึดอำนาจว่าสหรัฐฯจะไม่ยุ่งเกียวกับการ
ขับไล่ประธานาธิบดีโหงดินเดียม
วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๖ - ภายใต้ความวิตกว่าความสัมพันธ์ต่อประชากรจะได้รับความกระทบกระเทือนหากว่าการปฎิวัติ
ไม่ประสพกับความสำเร็จ ทำเนียบขาวได้ขอคำยืนยันจากฑูตลอดจ์ว่าการปฏิวัติจะประสพความสำเร็จ
วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๐๖ - ฑูตลอดจ์รายงานเกี่ยวกับการปฏิวัติว่า "อย่างไม่ต้องสงสัย"
วันที่ ๒๙ สิงหาคม - ทำเนียบขาวเกิดความหวั่นวิตกเพิ่มขึ้นมาและได้สั่งให้ฑูตลอดจ์เลื่อนการปฏิวัติออกไป
โดยที่ฑูตลอดจ์ได้ตอบไปว่า จะหยุดได้ก็โดยการหักหลังผู้ที่ต่อต้านโหงดินเดียมเท่านั้น
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ - ฑูตลอดจ์ หรือ นายเฮ็นรี่ ชาโบต์ ลอดจ์ ได้เข้าพบกับประธานาธิบดีโหงดินเดียมตามปกติ
ที่พระราชวังของประธานาธิบดีจาก๑๐โมงเช้าถึงเที่ยงวัน และก็ได้เดินทางกลับ
เวลา๑๓:๓๐น ระหว่างเวลาที่เรียกว่า 'ซิเอสต้า ไทม์' การปฏิวัติก็ได้เริ่มขึ้นโดยที่กองกำลังทหารได้ยกขบวนเข้าอย่างอึกทึก
เข้าสู่ไซง่อนร้อมล้อมพระราชวังเอาไว้ และก็ได้ทำการเข้ายึดกองบัญชาการของกรมตำรวจเอาไว้
โหงดินเดียมกับโหงดินนูห์ถูกกักอยู่ภายในพระราชวังและได้ปฏิเสธที่จะยอมมอบตัว โหงดินเดียมได้โทรศัพท์เจรจาต่อรอง
กับนายพลหัวหน้าคณะปฏิวัติแต่ไม่ประสพกับความสำเร็จ
โหวดินเดียมจึงได้โทรไปหาฑูตลอดจ์และถามว่า"...ท่าทีของสหรัฐฯเป็นอย่างไร?"
ฑูตลอดจ์จึงได้ตอบไปว่า "...มันเป็นเวลาตีสี่สามสิบที่กรุงวอชิงตัน และ รัฐบาลสหรัฐฯ
ไม่อาจที่จะให้ความเห็นได้" แล้วฑูตลอดจ์ก็ได้กล่าวถึงความห่วงใยในความปลอดภัยของโหงดินเดียม
แต่โหงดินเดียมกลับตอบไปว่า "ผมกำลังจะทำการรักษาความสงบ"
เวลา ๒๐:๐๐น โหงดินเดียมและโหงดินนูห์ ได้หลบหนีออกไปจากพระราชวังสู่ที่หลบซ่อนได้โดยไม่มีใครรู้
ไปอยู่ในบ้านของเศรษฐีนักธุรกิจชาวจีนในชนบท
วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ เวลา๐๓:๐๐น หนึ่งในที่ปรึกษาของโหงดินเดียมได้ทรยศต่อเขาโดยได้บอกที่หลบซ่อนของเขา
ต่อนายพลผู้ก่อการปฏิวัติ การตามล่าโหงดินเดียมและโหงดินนูห์จึงได้เริ่มขึ้น โหงดินเดียมเมื่อรู้ตัวว่าเข้าตาจนจึงได้โทรศัพท์
ไปต่อรองกับนายพลหัวหน้าคณะปฏิวัติว่าจะขอมอบตัวในโบสถ์คาธอลิค
โหงดินเดียม และ โหงดินนูห์ ได้ถูกนายทหารจากกองกำลังของคณะปฏิวัติจับกุมตัวใส่หลังรถบรรทุกขนส่งกำลังพลของทหาร
และได้ถูกสังหารระหว่างทางกลับเข้าสู่ไซง่อน
ที่ทำเนียบขาว การประชุมได้ถูกข่าวการตายของโหงดินเดียมขัดจังหวะ จากปากคำของผู้ร่วมอยู่ในที่ประชุม
สีหน้าของประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้ถอดสีขาวซีดและได้ขออนุญาติออกไปจากที่ประชุม ต่อมาได้มีการพบบทความ
ในบันทึกส่วนตัวของประธานาธิบดีเคนเนดี้มีใจความว่า.. "ผมรู้สึกว่าเราจะต้องรับผิดชอบกับมันเป็นอันมาก"
ในกรุงไซง่อนเฉลิมฉลองการสิ้นอำนาจของรัฐบาลโหงดินเดียม แต่การปฏิวัติก็ได้นำไปสู่การต่อสู้ชิงอำนาจกัน
ทั้งระหว่างรัฐบาลทหารและพลเรือนที่ต่างก็ต้องการที่จะยึดอำนาจในเวียตนามใต้ และได้ทำให้ความอยู่รอดของประเทศ
ขึ้นอยู่กับบทบาทของสหรัฐฯ
เวียตกงได้ฉวยโอกาสของความไม่สงบทางการเมืองในการแผ่อำนาจต่อประชากรของเวียตนามใต้ในชนบท
จนกระทั่งยึดอำนาจเอาไว้ได้เกือบ๔๐เปอร์เซ็นต์
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ - ประธานาธิบดีเคนเนดี้ถูกลอบสังหารในเมืองดาลลัส เท็กซัส ลินดอน บี. จอห์นสัน
ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่๓๖ของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่๔ของสหรัฐฯ
ที่จะต้องรับภาระกับการเมืองและการทหารของเวียตนาม และ เขาก็ไปผู้ที่จะได้เห็นการทวีความรุนแรงขึ้นของสงคราม
ในขณะที่ได้ใช้นโยบายหลายๆด้านซึ่งเป็นนโยบายที่มาจากคณะที่ปรึกษาของประธานาธิบดีเคนเนดี้
วันที ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ - ระหว่างการประชุมกับฑูตลอดจ์ในกรุงวอชิงตัน ประธานาธิบดีจอห์นสันได้ประกาศว่า
เขาจะไม่ยอมที่จะ"สูญเสียเวียตนาม"
ในตอนสิ้นปี พ.ศ.๒๕๐๖นี้ สหรัฐฯมีที่ปรึกษาทางทหาร๑๖,๓๐๐คน อยู่ในเวียตนามใต้ซึ่งได้รับความช่วยเหลือ
เป็นเงิน๕๐๐ล้านเหรียญสหรัฐฯในปีพ.ศ.๒๕๐๖
(เอาไว้จัดตอนที่๒ของส่วนนี้มาให้อ่านกันก่อน แล้วจะคั่นด้วยความเคลื่อนไหวในไทย
ก่อนที่จะส่งทหารอเมริกันเข้าป่า ซึ่ง ความจริงแล้วจะต้องเป็นตอนต่อไป...)