สงครามเวียตนาม: ที่มาและสาเหต...(ต่อจากตอนทีแล้ว)

ความจริงแล้ว จากตอนที่แล้วจนถึงตอนจบของตอนนี้ เป็นสงครามที่เรียกว่า 'สงครามอินโดจีนครั้งที่๑'
ซึ่งเป็นการสู้รบกันระหว่างกองกำหลังกู้เอกราชของเวียตมินห์กับฝรั่งเศส โดยที่อเมริกันเป็นเพียงที่ปรึกษา
และมีเจ้าหน้าที่สังเกตการณ์อยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น


สนามบินเดียนเบียนฟูของฝรั่งเศสที่ได้ถูกเวียตมินห์ถล่มด้วยปืนใหญ่ ปิดล้อม และ บุกเข้ายึดได้ในปีพ.ศ.๒๔๙๗

แต่เนื่องจากความกดดันทางการเมืองภายในประเทศของสหรัฐฯว่าด้วยการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ที่ทำให้พรรคการเมืองและนักการเมืองของสหรัฐฯได้หันไปใช้นโยบายไม้แข็งต่อประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์
และมันก็ได้เป็นสาเหตุที่ได้นำสหรัฐฯเข้าไปสู่สงครามอินโดจีนครั้งที่๒ หรือ ที่รู้จักกันในนามของ 'สงครามเวียตนาม'

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ในตอนที่ผ่านมาและตอนต่อไปนี้ จะทำให้เราเข้าใจความเป็นมาของ
สงครามเวียตนามได้กระจ่างขึ้น



ต่อจากตอนที่แล้ว...

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔

วันที่๓๑ มกราคม ๒๔๙๔ - ทหารเวียตมินห์๒๐,๐๐๐คนภายใต้การนำของนายพลโวเหวียนเกี๊ยบได้เริ่มทำการ
บุกเข้าโจมตีค่ายของทหารฝรั่งเศสบริเวณปากแม่น้ำแดง(จากฮานอยไปถึงอ่าวตังเกี๋ย) การสู้รบในสมรภูมิที่เปิด
ในพื้นที่โล่งเป็นการรบที่ใหม่สำทหารเวียตมินห์ทำให้ถูกฝ่ายฝรั่งเศสภายใต้การนำของนายพลญอณ เดอ ลาตแตร ถล่มย่อยยับ
กองกำลังเวียตมินห์เสียชีวิต๖,๐๐๐คนและฝรั่งเศสได้บุกเข้าตีเมืองวินห์เยนใกล้กับกรุงฮานอยทำให้นายพลเกี๊ยบต้องถอนกำลังล่าถอย

วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๙๔ - กำลังของนายพลโวเหวียนเกี๊ยบได้ตั้งเป้าหมายที่จะบุกเข้าตีเมืองเมาเคใกล้ๆกับไฮฟอง
แต่ต้องถอนกังกลังอีกเพราะถูกฝรั่งเศสยิงถล่มจากเรือรบและการทิ้งระเบิดจากเครืองบิน ซึ่งนายพลเกี๊ยบได้เสียกำลังรบไปอีก๓,๐๐๐คน

วันที่ ๒๙ พฤษภาคม - วันที่ ๑๘ มิถุนายน - นายพลเกี๊ยบได้พยายามที่จะตีแนวรบหรือเส้นเขตแดนที่เรียกว่าเดอ ลาตแตรอีกครั้ง
ในครั้งนี้ที่บริเวณแม่น้ำเดย์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฮานอย แต่กองกำลังของฝรั่งเศสมีกองหนุนทั้งจากเรือปืนและเครื่องบิน
ทำให้นายพลเกี๊ยบพ่ายแพ้อีกและทำให้เสียทหารไปอีกประมาณ๑๐,๐๐๐คนและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก
แต่ฝ่ายฝรั่งเศสก็ได้รับความสูญเสียที่ใหญ่หลวง เพราะนายทหารของฝรั่งเศสชื่อเบอร์นาร์ด เดอ ลาตแตร์
ซึ่งเป็นลูกชายคนเดียวของนายพลญอณ เดอ ลาตแตร ได้เสียชีวิตในสมรภูมิในการปะทะกันครั้งนี้

วันที่ ๙ มิถุนายน - นายพลเกี๊ยบได้เริ่มถอนกำลังเวียตมินห์ออกจากปากแม่น้ำแดง

เดือนกันยายน ๒๔๙๔ - นายพลเดอ ลาตแตรได้เดินทางไปยังกรุงวอชิงตันเพื่อขอความช่วยเหลือจากเพนตากอน

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ - กองกำลังของฝรั่งเศสของนายพลเดอ ลาตแตรได้เชื่อมตัวกันที่เมืองฮัวบินห์
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฮานอยในความพยายามที่จะล่อให้นายพลเกี๊ยบนำกองกำลังออกมารบในสมรภูมิใหญ่

วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน - นายพลเดอ ลาตแตรซึ่งป่วยเป็นมะเร็งกำเริบได้ถูกนายพลราอูล ซาลานเข้าไปรับตำแหน่งแทน
นายพลเดอ ลาตแตรได้ถึงแก่กรรมที่ปารีสในอีกสองเดือนต่อมาหลังจากที่ได้รับการเลือนยศให้เป็นนายจอมพล

วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๙๔ - นายพลเกี๊ยบได้เริ่มปฏิบัติการตอบโต้อย่างรัดกุมด้วยการเข้าโจมตีค่ายของทหารฝรั่งเศส
ที่เมืองทูวูบนชายฝั่งแม่น้ำดำ นายพลเกี๊ยบในขณะนั้นได้เริ่มหลีกเลี่ยงการปะทะกันในรูปแบบของการรบสามัญ
และหันไปใช้การรบแบบกองโจร(ของคอมมิวนิสต์จีน)แทน วัตถุประสงค์ของเขาคือการตัดเส้นทางส่งสะเบียงของฝรั่งเศส

ในตอนสิ้นปีพ.ศ.๒๔๙๔ ยอดการเสียชีวิตของทหารฝรั่งเศสในเวียตนามมากกว่า๙๐,๐๐๐คน



พุทธศักราช ๒๔๘๕

วัน ที ๑๒ มกราคม ๒๔๙๕ - เส้นทางส่งสะเบียงของฝรั่งเศสที่เมืองฮัวบินห์เรียบแนวแม่น้ำดำได้ถูกตัดขาด และเส้นทางสายอานานิคม๖ก็ได้ถูกตัดขาดไปอีกด้วย

วันที่ ๒๒-๒๖ กุมภาพันธ์ - ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากฮัวบินห์กลับไปยังเส้นเขตุแดนเดอ ลาตแตร จากการช่วยเหลือ
ของปืนใหญ่๓๐,๐๐๐นัด และการสู้รบกันแบบประจันบานได้ทำให้การเสียชีวิตของแต่ละฝ่ายประมาณฝ่ายละ๕,๐๐๐คน

วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๙๕ - นายพลเกี๊ยบพยายามที่จะล่อให้ทหารฝรั่งเศสออกจากมาจากเส้นเขตุแดนเดอ ลาตแตร
ด้วยการเข้าโจมตีบริเวณเทือกเขาฟาน ซี พาน ซึ่งอยู่ระหว่างแม่น้ำแดงกับแม่น้ำดำ

วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๙๕ - กองกำลังฝรั่งเศสตอบโต้ความเคลื่อนไหวของนายพลเกี๊ยบด้วยการใช้ปฏิบัติการลอร์เรน
โดยได้ตั้งเป้าหมายไปยังคลังต่างๆของเวียตมินห์ในบริเวณเวียตบาค แต่นายพลเกี๊ยบก็ฉลาดกว่าและรู้ทัน
จึงได้ปล่อยให้ฝรั่งเศสเข้ายึดในขณะที่กองกำลังของนายพลเกี๊ยบรักษาตำแหน่งบริเวณเทือกเขาเอาไว้

วันที่ ๑๔-๑๗ พฤศจิกายน - ฝรั่งเศสยกเลิกปฏิบัติการลอร์เรนและถอนกำลังมุ่งหน้ากลับไปยังเส้นเขตุแดนเดอ ลาตแตร
แต่ต้องต่อสู้กับกองกำลังของเวียตมินห์ที่ดักซุ่มอยู่




ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖

วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๔๙๖ ดไวท์ ดี. ไอเซ่นฮาวเออร์ อดีตนายพลห้าดาวและผู้บัญชาการทหารของฝ่ายพันธมิตร
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้สาบานต้นขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่๓๔ของสหรัฐฯ

ระหว่างการดำรงค์ตำแหน่งประธานาธิบดีของดไวท์ ไอเซ่นฮาวเออร์ เขาได้เพิ่มความช่วยเหลือให้กับทหารฝรั่งเศสในเวียตนาม
ขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันไม่ให้คอมมิวนิสต์เวียตนามได้รับชัยชนะ ที่ปรึกษาทางการทหารได้เริ่มติดตามไปกับ
การส่งสะเบียงและอุปการณ์สงครามเข้าไปยังเวียตนาม โดยที่ทางประธานาธิบดีไอเซนฮาวเออร์
ได้ให้เหตุผลต่อการส่งความช่วยเหลือต่อฝรั่งเศสไอเซ่นฮาเวอร์ได้อ้างต่อประชากรของสหรัฐฯโดยการอ้างถึง
ทฤษฎี'ผลกระทบโดมีโน่' โดยได้กล่าวว่า 'ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในเวียตนามจะนำไปสู่การตกเป็นประเทศ
คอมมิวนิสต์ของประเทศอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง..' และทฤษฎีผลกระทบโดมีโน่นี้ก็ได้ถูกประธานาธิบดีคนต่อๆมาของสหรัฐฯ
นำไปใช้ในการพาตัวเองตกหลุมลึกเข้าไปในเวียตนาม


วันที่ ๕ มีนาคม ๒๔๙๖ - โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียตถึงแก่กรรม และ นิคิต้า ครุชเชฟว์ ผู้นำที่มีสไตล์การพูด
ที่โผงผางครงไปตรงมาได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ

วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๔๙๖ - การสู้รบในสงครามเกาหลีได้ยุติลงโดยการเซ็นสัญญาแบ่งเขตุแดนที่เส้นขนานที่๓๘
โดยแบ่งเป็นคอมมิวนิสต์ในตอนเหนือและเป็นประชาธิปไตยในตอนใต้

การเซ็นสัญญาที่เกาหลีได้นำไปสู่ความรู้สึกของสังคมนานาชาติว่าอาจเป็นแบบอย่างของการแก้ปัญหาที่ได้กำลังเกิดขึ้นในเวียตนามได้


วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ - กองกำลังฝรั่งเศสภายใต้การนำของผู้บัญชาการคนใหม่ นายพลอ็องรี นาวาร์เร
ได้เริ่มใช้ปฏิบัติการค๊าสโตร
โดยการสร้างหลุมกำบังรอบนอกเพื่อป้องกันสนามบินขนาดเล็กในย่านห่างไกลในหุบของป่าลึกที่เดียนเบียนฟูทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียตนาม

ในขณะเดียวกัน นายพลโวเหวียนเกี๊ยบก็ได้เริ่มสะสมกองกำลังรบของเวียตมินห์และกองทหารปืนใหญ่ในบริเวณนั้น
และก็ได้เริ่มมีความรู้สึกว่าเขาจะสามารถทำการรบขั้นแตกหักกับกองกำลังของฝรั่งเศสได้
กองกำลังของนายพลเกี๊ยบได้ลากปืนใหญ่โฮวิทเซอร์สจำนวน๒๐๐กระบอกขึ้นปตั้งไว้ตามยอดเขาเพื่อที่จะใช้
ถล่มฐานบินของฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสก็รู้ถึงวัตถุประสงค์ของนายพลเกี๊ยบดี จึงได้สะสมกองกำลังของฝ่ายตนเอง
และก็ได้เตรียมปืนใหญ่เอาไว้รอรับมือ แต่ทางฝรั่งเศสได้คาดคะเนย์ผิดถึงจำนวนของกำลังรบและความแข็งแกร่งที่แท้จริงของเวียตมินห์



พุทธศักราช ๒๔๙๗
วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๙๗ - กองกำลังรบของเวียตมินห์ภายใต้การนำของนายพลเกี๊ยบที่มีความเป็นต่อทหารฝรั่งเศสถึง๕ต่อ๑
หรือประมาณ๕๐,๐๐๐คน ก็ได้เริ่มการถล่มใส่ฐานกำลังของฝรั่งเศสที่ป้องกันฐานบินเดียนเบียนฟูอยู่บริเวณชายเขา

ปืนใหญ่ของฝ่ายนายพลเกี๊ยบได้ถล่มและปิดสนามบินแห่งเดียวของฝรั่งเศสได้สำเร็จ และได้บังคับให้ฝรั่งเศส
ต้องใช้วิธีส่งสะเบียงและกำลังเสริมด้วยการเสี่ยงอันตรายผ่านการใช้ร่ม ซึ่งถึงบ้างไม่ถึงบ้างและที่ไม่ถึงก็ได้ตกเป็นของเวียตมินห์

เมื่อปิดสนามบินได้แล้ว กองกำลังของนายพลเกี๊ยบก็ค่อยๆเริ่มขุดอุโมงมุ่งหน้าไปยังสนามบินและต่อมาก็ขุดคูล้อมรอบฐานบินเอาไว้


วันที่๓๐มีนาคม - วันที่๑พฤษภาคม ทหารฝรังเศส๑๐,๐๐๐คนถูกกองกำลัง๔๕,๐๐๐คนของเวียตมินห์ปิดล้อมทำให้ขาดน้ำและยารักษาโรค

ฝรั่งเศสได้ทำการร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากอเมริกันเพื่อที่จะให้เข้าไปช่วย
อเมริกันกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับสถานการณ์นี้เพราะความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทหารครั้งยกทัพไปบุกเยอรมัน
รวมทั้งข้อตกลงที่พ็อทสดาม ที่ได้ยืนยันสนับสนุนการยึดเวียตนามลาวและกัมพูชากลับไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
นอกจากนี้แล้ว ประชากรของฝรั่งเศสที่ใหญ่ที่สุดนอกฝรั่งเศสก็คือในสหรัฐฯ(ประมาณสิบล้านคนในขณะนั้น)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของอเมริกันจึงได้พิจารณาแผ่นการเลือกสามทาง.. คือ
๑.ส่งกองกำลังรบของอเมริกันไปช่วยทหารฝรั่งเศสออกมา
๒.ใช้เครื่องบินบี-๒๙ เข้าไปทิ้งระเบิด หรือ
๓.ใช้แท็คติค อาวุธอตอมิค (ระเบิดนิวเคลียร์)

อย่าง ไรก็ตาม ประธานาธิบดีไฮเซ่นฮาวเออร์ ได้ปฏิเสธที่จะใช้การทิ้งระเบิดหรือใช้อาวุธนิวเคลียร์หลังจากที่อังกฤษได้ ต่อต้านข้อเลือกทั้งสองข้อนี้
และประธานาธิบดีไอเซนฮาวเออร์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการที่จะส่งกองกำลังทหารของสหรัฐฯเข้าไปช่วยทหารฝรั่งเศสออกมา
เพราะตัวเองเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารและรู้ดีว่าภูมิประเทศของเดียนเบียนฟูจะนำไปสู่การสูญเสียทหารเป็นจำนวนมาก


วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๗ เวลา๑๗:๓๐น - ทหารฝรั่งเศส ๑๐,๐๐๐คน จึงจำต้องยอมแพ้ให้กับทหารเวียตมินห์ประมาณ๘,๐๐๐คน
ทหารฝรั่งเศสจำนวน๑,๕๐๐คนได้เสียชีวิต ทหารฝรั่งเศสที่เหลือได้ถูกสั่งให้เดินถึง๖๐วันไปยังค่ายเชลย
ที่อยู่ห่างออกไป๘๐๐กิโลเมตร ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งได้เสียชีวิตระหว่างการเดินทางหรือระหว่างอยู่ในการควบคุม

วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๙๗ - การประชุมเจนีวาว่าด้วยกรณีอินโดจีนได้เริ่มขึ้น โดยได้มีสหรัฐฯ อังกฤษ
จีน สหภาพโซเวียต ฝั่งเศส เวียตนาม(ผู้แทนของเวียตมินห์และรัฐบาลเบ๋าได๋ กัมพูชา และ ลาว)
เข้าร่วมเพื่อการหารือข้อตกลงสำหรับเอเซียอาคเนย์

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๗ - สนธิสัญญาเจนีวาได้มีมัติให้แบ่งเวียตนามออกเป็นสองส่วนที่เส้นขนานที่๑๗
โดยให้คอมมิวนิสต์ของโฮจิมินห์ครอบครองฝั่งเหนือและรัฐบาลเบ๋าได๋ได้รับสิทธิในการครอบครองฝั่งใต้
โดยที่สนธิสัญญาดังกล่าวยังได้ระบุว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งรวมทั่วประเทศขึ้นภายในสองปีเพื่อที่จะนำไปสู่การรวมประเทศ
สหรัฐฯได้คัดค้านเกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อการรวมประเทศเพราะรู้ดีว่าฝ่ายโฮจิมินห์หรือคอมมิวนิสต์จะเป็นฝ่ายชนะ

เดือนตุลาคม ๒๔๙๗ - หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกจากฮานอยแล้ว โฮจิมินห์ได้กลับสู่เวียตนาม
หลังจากที่ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในป่าถึงแปดปี และได้เข้ารับอำนาจในเวียตนามเหนือ

ทางฝ่ายใต้ เบ๋าได๋ได้ตั้งโหงดินเดียมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทางสหรัฐฯในขณะนั้นได้ตั้งความหวัง
ของการต่อต้านคอมมิวนิสต์เอาไว้ที่โหงวดินเดียมสำหรับประเทศประชาธิปไตยเวียตนามใต้
แต่โหงวดินเดียมเองก็ได้คาดการเอาไว้ว่ามันจะมีสงครามเกิดขึ้นมาอีกในอนาคตของเวียตนาม

โหวงดินเดียมนั้น เป็นชาวเวียตนามที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมัน คาธอลิค ในดินแดนที่ประชากรส่วนใหญ่
เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ เขาจึงได้ส่งเสริมให้ชาวเวียตนามที่อาศัยอยู่ในตอนเหนือที่เป็นคาธอลิคอพยพ
ลงใต้เกือบหนึ่งล้านคนได้ย้ายสู่เวียตนามใต้

ในขณะเดียวกันชาวเวียตนามจากใต้ประมาณ๙๐,๐๐๐คนก็ได้อพยพขึ้นเหนือ แต่อีกประมาณ๑๐,๐๐๐คน
ได้ถูกสั่งให้อยู่ข้างหลังในเวียตนามใต้อย่างเงียบๆเพื่อเป็นสายให้กับเวียตนามเหนือ


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๘

มกราคม ๒๔๙๘ - การขนส่งความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯได้ไปถึงเวียตนามใต้ สหรัฐฯก็ยังได้
ทำการฝึกทหารให้กับเวียตนามใต้อีกด้วย

พฤษภาคม ๒๔๙๘ -นายกรัฐมนตรีโหงวดินเดียมได้ใช้มาตรการอันแข็งกร้าวและเด็ดขาดในการปราบปราม
องค์กรอาชญากรรมบินห์ ซูเย็น ที่ได้ทำธุระกิจคาสิโน สถานโสเภนี และ โรงฝิ่น อยู่ในไซง่อน

กรกฎาคม ๒๔๙๘ โฮจิมินห์เดินทางไปเยือนมอสโควและตกลงที่จะรับความช่วยเหลือจากโซเวียต

วันที่๒๓ตุลาคม๒๔๙๘ เบ๋าได๋ได้ถูกขับไล่ออกจากอำนาจโดยโหงวดินเดียม ซึ่งโหงวดินเดียมได้รับความช่วยเหลือ
ให้เข้ายึดอำนาจโดยนาวาอากาศโทเอ็ดเวิร์ด จี. แลนสเดลผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของหน่วยสืบราชการลับ(ซีไอเอ)

วันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๔๙๘ - สาธารณรัฐเวียตนามใต้ได้สถาปนาโหงวดินเดียมขึ้นเป็นประธานาธิบดี
ในขณะที่ในอเมริกา ประธานาธิบดีไอเซ่นฮาวเออร์ได้กล่าวสนับสนุนรัฐบาลใหม่ของเวียตนาม
และได้เสนอที่จะให้ความสนับสนุนทางการทหาร

โหงวดินเดียมได้แต่งตั้งตำแหน่งที่สำคัญของรัฐบาลให้กับเพื่อนฝูงและญาติพี่น้องรวมทั้งโหงดินหนูน้องชายของเขาเอง
ให้ดำรงค์ตำแหน่งประธานที่ปรึกษา ซึ่งวิธีการปกครองของโหงดินเดียมแบบกุมอำนาจได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองที่ตามมาอย่างมากมาย
แม้ ว่าที่ปรึกษาชาวอเมริกันของเขาจะได้พยายามแนะนำให้ใช้ประชาธิปไตยแบบ อเมริกันด้วยการออกไปเยี่ยมประชากรตามต่างจังหวัดเพื่อสร้างแรงสนับสนุนแต่ เขาก็ไม่ยอมที่จะทำตาม

ธันวาคม ๒๔๙๘ - ในเวียตนามเหนือการปฏิรูปที่ดินโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้นำไปสู่การนำเจ้าของที่ดินไปขึ้นศาลประชาชน
และได้มีนายทุนนับพันได้ถูกประหารชีวิตหรือไม่ก็ถูกส่งไปทำงานหนักในค่ายแรงงานในช่วงของการล้างอุดมการณ์ของโฮจิมินห์ในช่วงนี้

ในทางใต้ ประธานาธิบดีโหงดินเดียมได้ให้รางวัลต่อผู้ที่สนับสนุนชาวคาธอลิคด้วยการยกที่ดินที่ยึดมาจากชาวนาที่นับถือศาสนาพุทธให้
ซึ่งก่อให้เกิดความแค้นเคืองและหมดศรัทธาจากชาวพุทธที่เคยสนับสนุนเขา นอกจากนี้แล้วเขาก็ยังคงปล่อยให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่ๆ
ครองความเป็นเจ้าของอยู่เช่นเดิมทำให้ชาวนาที่หวังว่าการจัดสรรที่ดินใหม่จะเกิดขึ้นต้องประสพกับความผิดหวัง




ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙


มกราคม ๒๔๙๙ รัฐบาลของโหงดินเดียมได้ใช้การจัดการกับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นเวียตมินห์อย่างรุนแรง
ผู้ถูกจับกุมไม่ได้รับตัวแทนทางกฏหมายและถูกลากตัวไปสอบสวนต่อหน้าคณะกรรมการรักษาความปรอดภัย
โดยที่ผู้ต้องสงสัยเป็นจำนวนมากได้ถูกทรมารและสังหารและบังหน้าด้วยการออกข่าวว่าถูงยิงระหว่างพยายามหลบหนีเจ้าพนักงาน


วันที่๒๘เมษายน๒๔๙๙ - ทหารฝรั่งเศสคนสุดท้ายเดินทางออกจากเวียตนาม สำนักงานข้าหลวงใหญ่อินโดจีนได้ถูกปิดลง


กรกฎาคม ๒๔๙๙ - วันเลือกตั้งทั่วประเทศที่ได้ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญาเจนีวาได้ผ่านไป โหงดินเดียม
ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้ง

พฤศจิกายน ๒๔๙๙ - การประท้วงของชาวนาเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในฮานอยได้นำไปสู่การเสียชีวิต๖,๐๐๐คน หรือ ไม่ก็ส่งลงเวียตนามใต้





ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐

มกราคม ๒๕๐๐ - สหภาพโซเวียตได้ยื่นข้อเสนอให้มีการแบ่งเวียตนามเหนือและใต้ออกอย่างถาวร
พร้อมกับให้มีผู้แทนของประเทศทั้งสองอยู่ในสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ สหรัฐฯคัดค้านข้อเสนอ และ
ไม่ต้องการที่จะรับรองรัฐบาลของคอมมิวนิสต์เวียตนามเหนือ

.
วันที่ ๘-๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๐ - โหวดินเดียมได้เดินทางไปเยือนวอชิงตัน ซึ่งประธานาธิบดีไอเซ่นฮาวเออร์ได้เรียกเขาว่า
'บุรุษมหัศจรรย์' แห่งเอเซียและยืนยันการให้ความสนับสนุนของสหรัฐฯ โดยที่ประธานาธิบดีไอเซ่นฮาวเออร์ได้กล่าวว่า
'ค่าของการปกป้องเสรีภาพ ของการปกป้องอเมริกา ต้องจ่ายในหลากหลายรูปแบบในสถานที่ต่างๆ
ความช่วยเหลือทางด้านการทหารและทางด้านเศรษฐกิจซึ่งกำลังเป็นสิ่งที่ต้องการในเวียตนามในขณะนี้'

ตุลาคม ๒๕๐๐ - กองโจรเวียตมินห์ได้เริ่มขยายการก่อการร้ายในเวียตนามใต้รวมทั้งการวางระเบิดและการลอบสังหาร
ซึ่งถึงตอนสิ้นปีได้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเวียตนามใต้ถูกสังหารไป๔๐๐คน





ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑

มิถุนายน ๒๕๐๑ - การก่อตั้งโครงสร้างของฝ่ายปฏิบัติการของคอมมิวนิสต์จำนวน ๓๗ กองร้อยในบริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำโขงได้ถูกจัดให้มีขึ้น




สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง

ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒.

มีนาคม ๒๕๐๒ - การปฏิวัติจับอาวุธได้เริ่มขึ้นโดยที่โฮจิมินห์ได้ประกาศว่าสงครามประชาชนจะมีขึ้น
จนกว่าที่เขาจะได้เป็นผู้นำของเวียตนามทั้งประเทศ พรรคการเมืองของเขาได้มีคำสั่งออกไปว่าต่อไปนี้
จะมีการต่อสู้ทางการทหารขึ้น และนี่คือจุดเริ่มต้นของสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง


พฤษภาคม ๒๕๐๒ - เวียตนามเหนือได้ก่อตั้งสำนักงานศูนย์ปฏิบัติการในเวียตนามใต้ เพื่อที่จะดูแลควบคุม
กิจกรรมสงครามที่กำลังจะเข้ามาในเวียตนามใต้และการสร้างเส้นทางโฮจิมินห์ก็ได้เริ่มขึ้น

กรกฎาคม ๒๕๐๒ - กองกำลังของกองโจรเวียตมินห์๔,๐๐๐คนที่เกิดในเวียตนามใต้ได้ถูกส่งกลับเข้าไป
จากเวียตนามเหนือเพื่อที่จะเจาะเวียตนามใต้

วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒ - ที่ปรึกษาทางการทหารของอเมริกันสองนาย คือ พันตรีเดล บุ๊ยส์ และ
จ่าสิบเอกเช็สเตอร์ โอวนานด์ ถูกลอบสังหารและเชื่อกันวาเป็นการกระทำของกองโจรเวียตมินห์ในเวียตนามใต้
นับว่าเป็นทหารอเมริกันสองคนแรกที่ได้เสียชีวิตในสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือ สงครามที่ชาวอเมริกัน
จะได้รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า "สงครามเวียตนาม"




ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓

เมษยน ๒๕๐๓ - ได้มีการเกณร์ทหารกันขึ้นในเวียตนามเหนือ โดยที่วาระของการเป็นทหาร 'ไม่มีกำหนดวันปลดประจำการ'
 
พฤศจิกายน ๒๕๐๓ - การปฏิวัติล้มอำนาจของโหงดินเดียมโดยนายทหารเวียตนามที่ไม่พอใจรัฐบาล
ประสพกับความล้มเหลวและได้รับการลงโทษอย่างหนัก รวมทั้งทุกคนที่ถูกมองว่าเป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาล
มีคนกว่า๕๐,๐๐๐ถูกจับโดยตำรวจที่ควบคุมโดยน้องชายของประธานาธิบดีโหวดินเดียมซึ่งคนที่ไม่มีความผิดเป็นจำนวนมาก
ก็ได้ถูกทารุณและสังหาร ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้นำไปสู่การเสื่อมศรัทธาของประชาชนต่อรัฐบาลของโหงดินเดียม

ประชาชนนับพันที่เกรงว่าจะถูกลงโทษได้พากันหลบหนีเข้าเวียตนามเหนือ ซึ่ง โฮจิมินห์ก็ได้ส่งพวกเขาบางคนกลับ
ไปเวียตนามใต้โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแทรกซึมของกองทัพประชาชนในภายหลัง

กองโจรของโฮจิมินห์ได้แทรกซึมเข้าไปในชนบทของเวียตนามใต้ในขณะที่ทำงานเพื่อการบ่อนทำลายรัฐบาลของโหงดินเดียม

วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๓ - กองทัพปลดแอกแห่งชาติสนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฮานอยได้รับการก่อตั้งขึ้นในเวียตนามใต้
 

ข้อสังเกต:
จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาข้างต้นจนจบของสงครามอินโดจีนครั้งที่๑นี้ จะเห็นได้ว่า ก่อนที่ทหารอเมริกันจะเข้าไปมีบทบาท
ในเวียตนามซึ่งก็เป็นบทบาทที่จำกัดเพราะกฏหมายของสหรัฐฯห้ามไม่ให้ทหารอเมริกันออกรบเพียงแต่เป็นที่ปรึกษา
ให้กับทหารเวียตนามเท่านั้น และ ก่อนที่กำลังรบของอเมริกันจะได้ถูกส่งเข้าไปในเวียตนามนั้น ในความเป็นจริงแล้ว
เวียตกงก็ได้วางกำลังและข่ายงานเอาไว้ในเวียตนามใต้ และบริเวณชายแดนของ ลาว และ กัมพูชา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว...




ตอนต่อไปจะเป็นตอนเริ่มต้นของสงครามอินโดจีนครึ้งที่๒ หรือ ที่เราเรียกกันว่า'สงครามเวียตนาม'...

Credit: http://www.thailandsusu.com/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...