หตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่บ่อยครั้งได้นำไปสู่ความขัดแย้งถึงขั้นทำสงครามนั้น
บางครั้ง มันก็มีสามารถเหตุมาจากการเริ่มต้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ที่อยู่ในวาระของสงคราม
มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเลย และในบางครั้งสาเหตุของความคัดแย้งก็ได้มีการก่อตัวกันมาหลายสิบปี
และยิ่งไปกว่านั้นก็ยังจะมีประเด็นที่แอบแฝงอยอีกด้วย ดังที่เราจะเห็นได้ว่าข่าวคราวของอิหร่าน
กับอเมริกันที่เป็นข่าวเกรียวกราวอยู่ก็เงียบหายไปจากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือ เช่นกรณีของสงครามเวียตนาม
ที่ได้มีจุดเริ่มต้น จุดกลาง และจุดจบ ที่มาจากหลายสิ่งหลายประเด็นและหลายเหตุการณ์...
สงครามเวียตนาม: ที่มาของความขัดแย้ง
เหตุการณ์ระหว่างปีพ.ศ.๒๔๘๘-พ.ศ.๒๕๐๓
พุทธศักราศ ๒๔๘๔
นักกิจกรรมทางการเมืองโฮจิมินห์ได้กลับสู่เวียตนามอย่างเงียบๆจากการลี้ภัย๓๐ปีและได้ก่อตั้งองค์การกู้ชาติอันเป็นที่รู้จักกัน
ในนามของเวียตมินห์(แนวร่วมเอกราชเวียตนาม) หลังจากที่กองกำลังของญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดเวียตนามระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
หน่วยสืบราชการของสหรัฐฯ(OSS) ได้ร่วมมือกันกับโฮจิมินห์และกองรบเวียตมินห์ของเขาเพื่อที่จะเข้าโจมตีกองกำลังของญี่ปุ่น
ในป่าและให้ความช่วยเหลือนักบินของสหรัฐฯ
วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๙ - ท่ามกลางข่าวลือว่าอาจจะถูกอเมริกันบุก ญี่ปุ่นได้บุกเข้าเวียตนามซ่งฝรั่งเศสได้ทำการยึดเป็นอานานิคม
และทำการปกครองอยู่โดยเอกเทศ ญี่ปุ่นเข้ายึดเวียตนามและตั้งให้จักรพรรดิเบ๋าได๊เป็นผู้นำหุ่นเชิด
ในฤดูร้อนของปีนั้น - ได้เกิดภาวะอาหารขาดแคลนขึ้นในฮานอยและบริเวณใกล้เคียงซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การล้มตาย
จากการขาดอาหารของประชากรนับล้านคนของประชากรทั้งหมดประมาณสิบล้าน ภาวะขาดอาหารได้สร้างความปั่นป่วนทางการเมือง
ให้กับเวียตนามทำให้ชาวนารวมตัวกันต่อต้านญี่ปุ่นและสังคมอาณานิคมของฝรั่งเศสในเวียตนาม โฮจิมินห์ได้ใช้โอกาสของความปั่นป่วนนี้
ในการปลุกระดมประชาชนและได้ประสพความสำเร็จกับการขยายความเคลื่อนไหวของเวียตมินห์
เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๘ - หลังจากที่นาซีในเยอรมันประสพกับความพ่ายแพ้ให้กับกลุ่มประเทศพันธมิตรสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว
กลุ่มประเทศพันธมิตรอันประกอบไปด้วย สหรัฐฯ อังกฤษ และ หสหภาพโซเวียตก็ได้จัดให้มีการประชุมขึ้นที่เมืองพ็อตสดาม
ในประเทศเยอรมันเพื่อการวางแผนรับกับสถานการณ์หลังสงคราม ในขณะนั้นเวียตนามได้ถูกมองว่าเป็นเรื่องส่วนน้อยของกรณี
เพื่อการปลดอาวุธของญี่ปุ่นในเวียตนาม ฝ่ายพันธมิตรได้แบ่งเวียตนามของเป็นสองส่วน โดยได้กำหลดให้เส้นขนานที่๑๖
เป็นเขตแบ่งภารกจิของการปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น ซึ่งกองทัพแห่งชาติของจีน(ของรัฐบาลนายพลเจียงไคเช็ค)เป็นฝ่ายปลดอาวุธ
ของญี่ปุ่นทางฝั่งเหนือของเส้นขนานที่๑๖ และ อังกฤษจะเป็นฝ่ายปลดอาวุธของญี่ปุ่นทางตอนใต้ของเน้นขนานดังกล่าว
ระหว่าง การประชุมหารือที่เมืองพ็อทสดามนั้น ผู้แทนของฝรั่งเศสได้เรียกร้องต่อการได้พื้นอาณานิคมในเอเซียอาคเนย์(อินโด จีน)ก่อนสงครามกลับคืน
คำร้องของฝรั่งเศสได้รับการอนุมัติ(โดยสหรัฐฯอังกฤษและรัสเซีย) ซึ่งหมายความว่าหลังการปลดอาวุธของญีปุ่นแล้ว เวียตนาม
ลาว และกัมพูชาจะต้องกลับไปเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง
เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๘ - ญี่ปุ่นได้ประกาศยอมแพ้สงครามโดยไม่มีเงื่อนไข รัฐบาลหุ่นเชิดของจักรพรรดิเบ๋าได๋ถูกตั้ง
ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่หน่วยรบกองโจรเวียตมินห์ของโฮจิมินห์ก็ได้บุกเข้ายึดฮานอยและได้ประกาศตัวขึ้นเป็นรัฐบาล
เดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ - ญี่ปุ่นได้เซ็นสนธิสัญญายอมรับการพ่ายสงครามในอ่าวโตเกียวอย่างเป็นทางการ ซึ่ง
นับว่าเป็นการจบสิ้นสงครามในย่านมหาสมุทรแปซิฟิค
ในวันเดียวกันนั้น โฮจิมินห์ก็ได้ทำการประกาศเอกราชของเวียตนามด้วยการกล่าวอ้างถึบทความของการประกาศเอกราช
ของอเมริกาซึ่งได้ถูกนำมาให้กับโฮจิมินห์โดยฝ่ายสืบราชการรับ(OSS)ของอเมริกา__
"เรามีความเชื่อมั่นในความจริงที่ว่ามนุษย์ทุกคนนั้นได้ถูกสร้างให้เกิดมาทัดเทียมกัน พวกเขาได้รับการเอ็นดูจากผู้ที่สร้าง
กับสิทธิต่างๆที่ไม่แตกต่างกันรวมทั้งชีวิตของพวกเขา อิสระภาพ และ การแสวงหาความสุข สุนทรพจน์อันอัมตะนี้เหมือนกัน
โดยสิ้นเชิงกับการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.๑๗๗๖ มันเป็นความจริงที่จะปฏิเสธไม่ได้"
โฮจิมินห์ได้ประกาศสถาปนาตัวของเขาเองขึ้นเป็นประธานิธิบดีของสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนเวียตนาม
และได้พยายามที่จะแสวงความสนับสนุนจากสหรัฐฯ แต่การเรียกร้องของโฮจิมินห์ได้รับการเฉยเมยจากประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมนของสหรัฐฯ
ซึ่งได้รับปากกับฝรั่งเศสเอาไว้แล้วระหว่างการประชุมที่เมืองพ็อทสดามว่าเวียตนามจะกลับไปเป็นดินแดนอินโดไชน่าของฝรั่งเศส
วันที่๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ - กองกำลังของอังกฤษได้เดินทางไปถึงไซง่อน เวียตนามใต้ เพื่อการควบคุมการปลดอาวุธของทหารญี่ปุ่น
ในเวียตนามเหนือ กองกำลังแห่งชาติของจีนจำนวน๑๐๐,๐๐๐คนที่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยชาวนาที่ยากจนของจีนก็ได้เดินทาง
เข้าถึงฮานอยหลังจากที่ได้ทำการปล้นระดมชาวบ้านของเวียตนามตอนเหนือระหว่างทาง แล้วก็ได้ทำการปล้นในฮานอย
วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ - ในเวียตนามใต้ ทหารฝรั่งเศสจำนวน๑,๔๐๐คนที่ได้รับการปลดปล่อยออกจากค่ายเชลยของญี่ปุ่นโดยกองกำลังของอังกฤษ
ทหารฝรั่งเศสได้เดินทางเข้าไซง่อนแล้วก็ออกล่าเวียตมินห์รวมทั้งฆ่าประชาชนและเด็กโดยมีพลเรือนชาวฝรั่งเศสซึ่งพำนักอยู่ในไซง่อน
ได้ให้ความสนับสนุนและเข้าร่วมกับการล่าสังหารด้วย ซึ่งในขณะนั้นมีชาวฝรั่งเศสทั้งทหารและพลเรือนอยู่ในไซง่อนประมาณ๒๐,๐๐๐คน
วันที่๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๘ - ในไซง่อน กองกำลังเวียตมินห์ประสพกับความสำเร็จในการจัดตั้งกองกำลังและทำการปิดกิจการค้า
ตัดไฟฟ้าและน้ำ ในขณะที่ตามชนบทของไซง่อนสมาชิกขององค์การอาชญากรรมบินห์ ซูเย็นของเวียตนามก็ได้ทำการล้างแค้น
ด้วยการสังหารชาวฝรั่งเศสและลูกครึ่งฝรั่งเศสจำนวน๑๕๐คนรวมทั้งเด็กอีกด้วย
วันที่๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้เกิดมีการเสียชีวิตของอเมริกันคนแรกได้เกิดขึ้นระหว่างเหตุการณ์ไม่สงบในไซง่อน..
พันโท เอ.ปีเตอร์ ดูวี่ย์ ได้ถูกกองโจรเวียตมินห์สังหารเพราะเข้าใจผิดคิดว่าเขาเป็นชาวฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเสียชีวิต
นายพันดูวี่ย์ได้ทำรายงานไปยังเจ้าหน้าที่รัฐบาลของสหรัฐฯถึงสถานการณ์ในเวียตนามโดยลึกและละเอียด และได้แนะนำต่อ
รัฐบาลสหรัฐฯว่าไม่ควรที่จะเข้าไปยุ่งกับสถานการณ์ในเอเซียอาคเนย์
เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ทหารฝรั่งเศส๓๕,๐๐๐คน ภายใต้การนำของนายพลแย็คซ์ ฟิลลิปเป้ เลอเคลิ๊ก ผู้มีประสพการณ์
ในการรบจากสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่สองได้เดินทางไปถึงเวียตนามใต้เพื่อที่จะจัดตั้งการปกครองของฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่
กองกำลังของเวียตมินห์ได้เริ่มการโจมแบบกองโจรใส่ทหารฝรั่งเศสในทันที แต่ทหารฝรั่งเศสก็ประสพกับความสำเร็จในการผลักดัน
กองกำลังของเวียตมินห์ออกไปจากไซง่อน
ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๙ - จีนภายใต้รัฐบาลของนายพลเจียงไคเช็คได้ตกลงที่จะถอนกำลังออกจากเวียตนามเหนือ
และ ยอมรับกับการที่ฝรั่งเศสจะกลับเข้าไปครองอำนาจในเวียตนามเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับดินแดนยึดครองหรือคอนเซสชั่น
ของฝรั่งเศสในเมืองเซียงไฮ้และเมืองท่าอื่นๆของจีน
เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ - โฮจิมินห์ได้ตกลงยอมให้กองกำลังของฝรั่งเศสเดินทางเข้าฮานอยเป็นการชั่วคราวเพื่อแลก
เปลี่ยนกับเอกราชของสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนเวียตนาม กองกำลังของจีนจึงได้เดินทางกลับ
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-เกันยายน ๒๔๘๙ - โฮจิมินห์ได้ทำการต่อรองกับฝรั่งเศสอยู่ประมาณสี่เดือนในความพยายามทีจะให้
ฝรั่งเศสยอมรับการเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์แบบและรวมเวียตนามเข้าด้วยกันแต่ไม่สามารถที่จะได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศส
เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ - เป็นการรักษาหน้าโฮจิมินห์ ข้าหลวงใหญ่อินโดจีรของฝรั่งเศสได้ประกาศการแยกการปกครอง
ของรัฐบาลเวียตนามใต้(สาธารณะรัฐโชชินไชน่า)
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๙ - หลังจากที่ได้มีการปะทะกันอย่างรุ่นแรงหลายครั้งระหว่างกองกำลังเวียตมินห์ของฝรั่งเศส
ทำให้ฝรั่งเศสทิ้งระเบิดฮานอยและได้ทำให้โฮจิมินห์และกองกำลังรบเวียตมินห์ต้องหลบหนีเข้าป่า
วันที่๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙ - ในกรุงฮานอย กองกำลังเวียตมินห์จำนวน ๓๐,๐๐๐คนได้บุกเข้าโจมตีกองกำลังของฝรั่งเศส
ซึ่งนับเป็นการบุกเข้าโจมตีครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกของเวียตมินห์ และได้นำไปสู่การสู้รบการ๘ปีของสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
ผู้บัญชาการกำลังรบของเวียตมินห์ โว เหวียน เกี๊ยบ ได้กล่าวว่า..
"แม้ว่าการต่อสู้จะยาวนานและยากลำบากแต่เหตุผลของเรามีคุณค่าและเราก็จะได้รับชัยชนะในที่สุด.. "
ฝ่ายนายพลอีทรีน วาล์ลุย ผู้บัญชาการกองกำลังของฝรั่งเศสก็ได้กล่าวว่า.. "หากว่าพวกเขาต้องการต่อสู้แล้ว เขาก็จะรับได้"
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐
วันที่ ๗ ตุลาคม - วันที่ ๒๒ ธันวาคม กองกำลังของฝรั่งเศสได้ใช้ปฏิบัติการลีอาอันประกอบด้วยระรอกของการโจมตี
ต่อกองกำลังของเวียตมินห์ใกล้กับชายแดนของประเทศจีน แม้ว่าหทารเวียตมินห์จำนวน๙,๐๐๐คนจะเสียชีวิต
แต่กองกำลังส่วนใหญ่ของเวียตมินห์จำนวน๔๐,๐๐๐คนก็ได้เล็ดลอดระหว่างช่องว่างของกองกำลังฝรั่งเศสออกไปได้
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๒ - ฝรั่งเศสได้แต่ตั้งเบ๋าได๋ขึ้นเป็นผู้นำหุ่นเชิดของเวียตนามใต้
เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๒ - ฝรั่งเศสได้จัดตั้งกองทัพแห่งชาติเวียตนาม(ใต้)ขึ้น
เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๒ - กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมา เซตุง ปราบกองกำลังแห่งชาติของนายพลเจียงไคเช็คได้สำเร็จ
ในการทำสงครามกลางเมืองชิงอำนาจของจีน ชัยชนะของเหมาเซตุงได้จุดประกายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของอเมริกันในส่วนที่
เกี่ยวกับเอเซียอาคเนย์ขึ้นมา และได้นำไปสู่นโยบายของทำเนียบขาวกับการที่จะไม่ยอมให้คอมมิวนิสต์แผ่ขยายเข้าสู่เอเซีย
ประเทศในเอเซียอาคเนย์
ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓
เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ - สาธารณะรัฐประชาชนจีน และ สหภาพโซเวียตรับรองเสถียรภาพของรัฐบาลสาธารณะรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนเวียตนามของโฮจิมินห์ และจีนก็ได้เริ่มส่งที่ปรึกษาทางการทหารและอาวุธทันสมัยให้กับเวียตมินห์รวมทั้ง
ปืนกล ปืนครก ปืนใหญ่และรถบรรทุก ซึ่งส่วนใหญ่ของอาวุธก็เป็นอาวุธของอเมริกันที่ได้ให้ไว้กับกองทัพของเจียงไคเช็คก่อนที่จะ
พ่ายแพ้ให้แก่กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเซตุง การได้มาซึ่งอาวุธใหม่และที่ปรึกษาทางการรบจากจีนได้ทำให้นายพลโว
เหวียนเกี๊ยบเปลี่ยนกองกำลังรบแบบกองโจรของเขาไปสู่กองกำลังรบสามัญซึ่งรวมถึงกองพลทหารราบอาวุธเบาห้ากองพลและอาวุธหนักอีกหนึ่งกองพล
กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ - สหรัฐฯและอังกฤษรับรองรัฐบาลของเบ๋าได๋ในเวียตนามใต้ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปกครองโดยฝรั่งเศส
กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ - เวียตมินห์ได้เริ่มการโจมตีกองกำลังของฝรั่งเศสในเวียตนามเหนือบริเวณที่ติดกับชายแดนจีน
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ - บรรยากาศการเมืองในอเมริกาเป็นยุคที่เรียกกันว่ายุคของแม็คคาธี่อิซึ่ม ซึ่ง
วุฒิสมาชิกโจเซฟ แม็คคาธี่แห่งรัฐวิสคอนซินได้กล่าวประศัยกล่าวหากระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯว่าเลี้ยงคอมมิวนิสต์
เป็นเหตุนำไปสู่แม็คคาธี่อิซึ่มที่ไม่มีนักการเมืองคนใดจะอ่อนข้อให้กับคอมมิวนิสต์
วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๓ - ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน ได้ออกคำสั่งให้กองกำลังทหารราบในเกาหลีขับไล่กองกำลังของเกาหลีเหนือ
ที่ได้บุกเข้ามาในเกาหลีใต้โดยให้ตามมกองกำลังคอมมิวนิสต์เข้าไปในเกาหลีเหนือ ในสารน์ของประธานาธิบดีทรุแมนได้กล่าวว่า..
"กองกำลังรุกรานของเกาหลีเหนืออยู่ภายใต้การหนุนหลังของมอสโควผู้นำแห่งโลกคอมมิวนิสต์"
วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๙๓ - ทหารสหรัฐฯได้เริ่มเข้าไปมีบทบาทในเวียตนาม โดยที่ประธานาธิบดีแฮร์รี่ ทรูแมน
ได้มีคำสั่งให้ความช่วยเหลือทางการทหารต่อฝรั่งเศสเป็นเงิน๑๕ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๔๙๓ - นายพลโวเหวียนเกี๊ยบได้เริ่มเข้าโจมตีค่ายของทหารฝรั่งเศสบริเวณใกล้กับชายแดนจีน
ค่ายของทหารฝรั่งเศสแตกและได้เสียกำลังรบ๖,๐๐๐คนพร้อมคลังให้กับเวียตมินห์
วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๙๓ - สหรัฐฯได้ทำการจัดตั้งที่หน่วยปรึกษาทางการทหาร (MAAG) ขึ้นมาในกรุงไซง่อนเพื่อที่จะ
ให้ความช่วยเหลือต่อทหารฝรั่งเศส
(ทู บี คอนทินูว.....)