สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดย นายชนากานต์ สันติคุณาภรณ์ เจ้าหน้าที่
สารสนเทศดาราศาสตร์ กล่าวว่า ช่วงหัวค่ำของวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา เกิดดาว
พฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ และดาวเคียงเดือน โดยดาวพฤหัสบดีและดาวศุกร์จะเข้าใกล้กัน
ในมุมปรากฏมากที่สุดในรอบปี โดยจะเห็นดาวศุกร์ส่องสว่าง เนื่องจากดาวศุกร์อยู่ใกล้
โลกและมีความสว่างมากกว่า สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเป็นมุมประมาณ 40 องศา
และเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ทางด้านซ้ายของดาวศุกร์ ดาวทั้งสองปรากฏเคียงกันจนถึงเวลา
ประมาณ 21.30 น. จากนั้นจึงตกลับขอบฟ้าไปทั้งนี้ นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ เจ้าหน้าที่
สารสนเทศดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมีนาคม
นี้ถือได้ว่าเป็นอีกเดือนหนึ่งที่จะมีปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สวยงามมาให้ได้ชมกันในยาม
ราตรี โดยจะมี 2 ปรากฏการณ์ที่เด่นๆในวันที่ 25-26 มีนาคม 2555 ได้แก่ ปรากฏการณ์
ดาวเคียงเดือน คือ ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี อยู่เคียงดวงจันทร์เสี้ยวบางๆ คล้ายกับ
พระจันทร์ยิ้มที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2551 โดยในวันที่ 25 มีนาคม 2555 จะเห็น
ดวงจันทร์เสี้ยว 3 ค่ำ อยู่ด้านล่าง สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ 25 องศา ถัด
ขึ้นไปประมาณ 6 องศา จะเป็นดาวพฤหัสบดี และถัดไปอีก 15 องศา จะเป็นดาวศุกร์
ส่วนวันที่ 26 มีนาคม 2555 จะเห็นดวงจันทร์เสี้ยว 4 ค่ำ สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตก
ประมาณ 38 องศา อยู่ระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดาวศุกร์ สำหรับปรากฏการณ์ดาว
พฤหัสบดีเคียงดาวศุกร์ และดาวเคียงเดือน สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาค
ของประเทศ