สัญลักษณ์สำหรับคนที่ชอบเรียนรู้ด้วยตัวเอง
เดี๋ยวนี้มีคนส่วนหนึ่งที่ชอบเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าการเข้าไปเรียนในระบบการศึกษา แต่พวกเค้าไม่เหมือนกับนักศึกษาทั่วไปที่เมื่อจบการศึกษาแล้วจะมีใบปริญญาบัตรเป็นเครื่องยืนยัน แต่คนที่ชอบเรียนรู้ด้วยตัวเองกลับไม่มีหลักฐานใดๆที่แสดงให้เห็นถึงความรู้และความสามารถที่พวกเค้ามีอยู่ ทำให้การสมัครงานในที่ต่างๆเลยเป็นเรื่องยากมาก
แต่เหตุการณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนไปด้วยโครงการที่มีชื่อว่า “Badges for Lifelong Learning” การแข่งขันที่ช่วยสร้างระบบการเรียนรู้และการให้เข็มสัญลักษณ์ดิจิตอล (digital badges) จากการเรียนรู้และการทำธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นหลักฐานใช้ยืนยันว่าพวกเค้ามีทักษะและได้ผ่านการเรียนรู้อะไรมาบ้าง
การแข่งขันครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิ MacArthur , Mozilla, คณะมนุษยศาสตร์, ศิลปศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และคณะ Technology Advanced Collaboratory จาก University of California เพื่อทำให้มั่นใจว่าสัญลักษณ์การเรียนรู้ด้วยตัวเองนี้จะทำให้คนรู้จักและกลายเป็นกระแสหลัก โดยเจ้า digital badges จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา และเป็นหลักฐานยืนยันถึงความรู้และทักษะที่เรียนมาให้กับสังคมได้รับรู้
การแข่งขันครั้งนี้ยังได้รับความร่วมมือจาก NASA, กระทรวงศึกษาธิการของสหรัฐ, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงพลังงานและกองทัพ รวมถึงบริษัทเอกชนอย่างสถานีโทรทัศน์, Microsoft และ Intel ที่ทุกหน่วยงานให้การยอมรับเพื่อพิสูจน์ศักยภาพของคนที่ได้รับ digital badges ในการทำงานจริง
การแข่งขันนี้จะเชิญบุคคลและองค์กรต่างๆมาร่วมมือกัน “สร้างและทดสอบการทำงานของระบบ badge system ที่ใช้งานได้บนเว็บไซต์ การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ช่วงเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายนปีที่แล้ว ทางผู้จัดจะรับข้อเสนอที่เน้น “เนื้อหา,โปรแกรมและกิจกรรมในการเรียนรู้” ที่สามารถใช้ระบบ badge system ได้ ยกตัวอย่างเช่น NASA อาจจะส่งโปรแกรมการเรียนภาคค่ำ หรือการเรียนรู้ open source อย่าง Khan Academy มาร่วมการแข่งขันครั้งนี้ด้วย
ช่วงที่สองจะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมารีวิวแนวความคิดจากช่วงแรก แล้วให้ยื่นข้อเสนอการออกแบบระบบและเทคโนโลยีสนับสนุนที่จะทำให้ระบบทำงานได้จริง ส่วนช่วงที่สามก็จะเป็นการจับคู่ผู้สมัครในช่วงแรกกับผู้เชี่ยวชาญในช่วงที่สองเข้าเป็นทีมเดียวกัน เพื่อให้ทั้งคู่ร่วมมือในการพัฒนา final badge systems หลังจากนั้นก็นำไปนำเสนอกับคณะกรรมการเชี่ยวชาญในงาน Digital Media and Learning Conference ที่จัดขึ้นเดือนมีนาคม 2012 ในซานฟรานซิสโก
ปัจจัยที่นำมาพิจารณาก็คือ คุณภาพการออกแบบและคุณภาพเชิงเทคนิคโดยรวม คณะกรรมการจะให้น้ำหนักกับความเป็นไปได้ของการยอมรับและการเลือกของผู้เรียน,สถาบัน, นายจ้างและสาธารณชน ทีมผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลสูงสุด 200,000$ ในการทำโปรเจคที่พวกเค้าคิดให้กลายเป็นความจริงขึ้นมา
การที่ digital badges จะมาแทนที่ใบปริญญาแบบเดิมได้หรือไม่? ปัจจัยสำคัญที่ตัดสินว่า badges อันไหนนายจ้างยอมรับบ้างอาจจะแตกต่างไปตามแต่ละอาชีพ แต่ถ้าระบบนี้ประสบความสำเร็จในการเป็นหลักฐานการยืนยันวุฒิการศึกษาที่ผ่านทักษะและการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ เด็กๆในยุคต่อไปก็อาจจะเลือกเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านออนไลน์แทนการศึกษาแบบเดิมในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่มีค่าใช้จ่ายสูงก็เป็นได้