รวมภาพคัดสรร "1 ปีแผ่นดินไหวญี่ปุ่น

วันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2555 เวลา 08:10:07 น.

 

Share


หลัง จากบรรจุเถ้ากระดูกของคุณย่าซึ่งเสียชีวิตไว้ในสุสานของครอบครัว ชายผู้หนึ่งซึ่งพยายามกลั้นน้ำตาไว้ ได้เดินหันหลังกลับมา “ดีแล้วที่ในที่สุดคุณย่าก็ได้อยู่ในสุสานนี้ ผมจะพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ช่วยคุ้มครองผมด้วยนะครับ"
 

 

หญิงสาวนั่งร้องไห้อยู่หน้าซากปรักหักพังกอง โต เป็นซากอาคารบ้านเรือน รถรา ต้นไม้ที่หักโค่นและลอยมากับกระแสคลื่นยักษ์ "สึนามิ" ผลต่อเนื่องจากเหตุการณ์ "แผ่นดินไหว" เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 15,800 คน สูญหาย 3,300 คน สร้างความเสียหายให้กับประเทศญี่ปุ่นอย่างใหญ่หลวงในรอบ 56 ปี

 


ภาพหญิงสาวข้างต้น เป็นผลงานชื่อ "หยาดน้ำตา" หรือ "She cries" ของช่างภาพ "หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน (The Asahi Shimbun)"  ที่ได้รับรางวัลระดับโลก ซึ่งขณะนี้ เป็นหนึ่งในภาพคัดสรรที่นำมาจัดแสดงในเมืองไทย ในนิทรรศการชื่อ “ธรณีพิบัติแห่งญี่ปุ่นฝั่งตะวันออก (East Japan Earthquake Press Photo Exhibition)" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์

 


งานนิทรรศการนี้เป็นความร่วมมือของ "หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน" และ "บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น" โดยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งมอบคำขอบคุณจากใจต่อความช่วยเหลืออย่างท่วมท้นของชาว ไทยทุกคน ที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นผ่านพ้นความยากลำบากและกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง

 


ทาคาชิ คาซูยะ กรรมการบริหาร บริษัท อาซาฮี ชิมบุน กล่าวในวันเปิดงานว่า แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เป็นเหตุการณ์ที่คนญี่ปุ่นไม่มีวันลืม ผู้คนมากมายสูญเสียคนในครอบครัว คนห่วงบ้าน แต่กลับบ้านไม่ได้ ซึ่้งคนไทยได้มีส่วนช่วยให้ชาวญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นมาได้

 


หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น หนังสือพิมพ์อาซาฮี ชิมบุน ได้เขียนข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง จากที่มีนักข่าวอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดที่ประสบภัย คือ จ.อิวาเตะ จ.มิยางิ และจ.ฟุกุชิมะ อยู่แล้ว 60 คน ก็ได้มีการส่งนักข่าวไปเพิ่มอีกถึง 20 คน ซึ่งตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีนักข่าวและช่างภาพหมุนเวียนสับเปลี่ยนเพื่อไปถ่ายภาพและบันทึกเรื่องราว ครั้งนี้กว่า 800 คน

 


ภาพที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ได้รับการคัดสรรเพื่อให้เข้ากับนิทรรศการที่แบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้

 


"Zone 1. อะไรเกิดขึ้น ณ เวลานั้น" รวมภาพเหตุการณ์นาทีระทึก จากช่างภาพหนังสือพิมพ์ในพื้นที่ หลายภาพเห็นแล้วถึงกับอึ้ง โดยเฉพาะความโหดร้ายที่เกิดขึ้นจากความสูญเสีย

 

ชื่อภาพ: Tsunami หรือ สึนามิถล่ม : ทุกอย่างราบพนาสูรภายในเวลาเพียง 1 นาทีหลังจากสึนามิถล่ม 

 

 

ชื่อภาพ Destruction หรือ ความพินาศ: เรือและบ้านเรือนในเขตเคะเซนนุมะ จังหวัดมิยางิ ถูกสึนามิกวาดเรียบ

 

 

ชื่อภาพ Snow in early spring หรือ หิมะต้นฤดูใบไม้ผลิ: ย่าน ชิสึงาวะ เขตมินามิซันริคุ จังหวัดมิยางิที่ปกคลุมด้วยหิมะ  โรงพยาบาลชิสึงาวะซึ่งมีคนไข้ 110 คนนั้น มีผู้เสียชีวิต 9 คน และอีก 70 คนสูญหายไปในคลื่นยักษ์โดยไม่รู้ชะตากรรม

 

 

"Zone 2. Fukushima" รวมภาพความเสียหายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ การป้องกันสารกัมมันภาพรังสีที่รั่วไหล

 

 

ชื่อภาพ Screening หรือ ตรวจสอบคัดกรอง: ผู้ อพยพเนื่องจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะไดอิจิ เข้ารับการตรวจสอบกัมมันตภาพรังสี  ทารกที่พ่อแม่มีการปนเปื้อนของกัมมันตภาพรังสีในระดับสูงต้องได้รับการตรวจ คัดกรองอีกครั้งหนึ่ง

 

 

ชื่อภาพ the search หรือ การค้นหา : เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งสวมชุดป้องกันกำลังค้นหาผู้รอดชีวิตในเมืองนามิเอะ จังหวัดฟุกุชิมะ ซึ่งได้รับความเสียหายจากสึนามิ

 


"Zone 3. โศกสลด"  รวมภาพความสูญเสีย การไว้อาลัยต่างๆ

 

ชื่อภาพ Hands in prayer หรือ ร่วมใจกันสวดมนต์ : สี่เดือนหลังเกิดธรณีพิบัติ ผู้คนร่วมใจกันสวดมนต์ขอพรหน้าป้ายหลุมฝังศพซึ่งล้มระเนระนาด


 

ชื่อภาพ Requiem หรือ พิธีส่งวิญญาณ : ห้าเดือนหลังภัยพิบัติ ชายคนหนึ่งกับเด็กน้อยวางดอกไม้และสวดมนต์ในบริเวณที่ได้กำจัดซากปรักหักพังแล้ว

 

ชื่อภาพ Prayer will keep us going หรือ สวดอ้อนวอน : เก้า เดือนหลังธรณีพิบัติ  อนุสรณ์สถานของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายได้สร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของชาวเมือง ตามมาด้วยการทำบุญครบรอบการสูญเสีย  ชื่อของผู้เสียชีวิต 186 คนได้รับการระลึกถึงที่อนุสรณ์สถานแห่งนี้

 

 

"Zone 4. สู่วันใหม่" รวมภาพชีวิตใหม่หลังภัยพิบัติ ที่สะท้อนถึงความเป็นผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ของชาวอาทิตย์อุทัยได้เป็นอย่างดี เพราะแม้จะเสียหายขนาดไหน แต่พวกเขาก็ลุกขึ้นมายืนสู้ต่อไปได้

 

 

 

ชื่อภาพ  I found it หรือ  เจอแล้ว!  :  เด็กชายคนหนึ่งพบกระเป๋าสะพายหลังของเขาจมอยู่ในโคลนตม  เขายังใช้กระเป๋านี้ไปโรงเรียนซึ่งกลายเป็นบ้านชั่วคราวไปแล้ว

 

ชื่อภาพ  Starting afresh หรือ การเริ่มต้นใหม่ : เมื่อ วันที่ 1 มกราคม ผู้คนเดินทางมาที่ศาลเจ้า  ซึ่งมีประตู “โทริอิ” สร้างใหม่หลังจากถูกสึนามิทำลาย  “เราต้องการมาสักการะเพื่อแสดงความขอบคุณที่เรายังมีชีวิตอยู่ต้อนรับปีใหม่ ได้ทั้งครอบครัว"

 

ยังมีภาพคัดสรรอีกหลายภาพที่จัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้โดยผู้สนใจสามารถ เข้าชมได้ฟรีที่ ชั้น 1 Dazzle Zone ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ จัดแสดงระหว่างวันที่ 5-14 มีนาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น. ในงานมีกิจกรรมเขียนพับนักกระดาษ เขียนให้กำลังใจคนญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้

 


ร่วมรำลึก 1 ปี เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ไปด้วยกัน

Credit: matichon
9 มี.ค. 55 เวลา 12:45 7,086 5 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...