ผลจากการศึกษาซากฟอสซิลของขนนกโบราณ Archaeopteryx ที่เก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์
ธรรมชาติวิทยาในเบอลินชี้ชัดว่า Archaeopteryx มีขนสีดำ
กว่า 150ปี นับตั้งแต่ ปี 1861 ที่นักสำรวจได้ค้นพบ Archaeopteryx ฟอสซิล
นกโบราณในยุคจูราสสิค ซึ่งนับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญ เพราะถือได้ว่า Archaeopteryx
เป็นจิกซอว์ตัวสำคัญที่เชื่อมต่อการวิวัฒนาการจากสัตว์เลื่อยคลานไปสู่นกยุคใหม่ นัก
วิทยาศาสตร์ก็ต่างพากันศึกษาถึงสรีระของมันอย่างละเอียด ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ
วงการบรรพชีวินวิทยามากมาย แต่ดูเหมือนจะมีอยู่เรื่องหนึ่งที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังคง
ครุ่นคิดและหาข้อมูลเพื่อคลี่คลายปัญหานี้มาโดยตลอด นั่นคือ แท้จริงแล้วบรรดาสัตว์
โลกล้านปีเหล่านั้น มีสีอะไรกันแน่
ด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิด Scanning Electron Microscope ตรวจสอบ
เซลล์รูปแท่งบนฟอสซิลขน ซึ่งมีลักษณะคล้ายเม็ดสีในขนนกยุคใหม่ ประกอบกับการ
เปรียบเทียบขนาดเมลาโนโซมของฟอสซิลกับเมลาโนโซมของนกในยุคใหม่ 87 ชนิด
ช่วยให้ Carney Brown University in Providence, R.I. ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยสี
ของขน Archaeopteryx ว่ามีสีอย่างไร ผลของการตรวจสอบจากทีมงานวิจัยปรากฏว่า
เมลาโนโซมของ Archaeopteryx อยู่ในกลุ่มเดียวกับนกสีดำยุคใหม่มากกว่าสีน้ำตาลหรือ
สีเทา ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทีมอื่นได้รายงานไว้เมื่อเดือน
กันยายนที่ผ่านมา
ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับเทคโนโลยี ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หา
หนทางที่จะเปิดเผยความลับที่ถูกฝังไว้ในอดีตให้เราได้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีความลับอีกมากมายที่รอคอยให้วิทยาศาสตร์เป็นกุญแจเปิดประตูเพื่อ
เข้าไปทำความเข้าใจ
ศูนย์ข่าววิทยาศาสตร์ อพวช. รายงาน
Tag : Archaeopteryx, ฟอสซิล, จูราสสิค, นกโบราณ, เมลานิน, เมลาโนโซม
ที่มา: http://www.sciencenews.org/view/generic/id/337887/title/Archaeopteryx_wore_black