นักวิจัยญี่ปุ่นทำสายไวโอลินจากใยแมงมุม

 

ดร.โอซากิใช้แมงมุมตัวเมีย 300 ตัวผลิตเส้นใยสำหรับทำสายไวโอลิน (บีบีซีนิวส์)

นักวิจัยญี่ปุ่นใช้เกลียวใยแมงมุมหลายพันเส้นเพื่อปั่นเป็น “สายไวโอลิน” ที่ให้น้ำ

เสียง “นุ่มนวล” และ “ลุ่มลึก” ใกล้เคียงสายจากเอ็นแบบดั้งเดิมหรือสายเหล็ก ซึ่ง

เกิดการปั่นให้เส้นใยมีโครงสร้างที่ยึดแน่นและไม่มีช่องว่างระหว่างเส้นใย
       
       รายละเอียดของงานวิจัยนี้บีบีซีนิวส์ระบุว่า จะเผยแพร่ลงในวารสารฟิสิคัลรีวิวเลต

เอตร์ส (Physical Review Letters) โดย ดร.ชิเกโยชิ โอซากิ (Dr.Shigeyoshi Osaki)

จากมหาวิทยาลัยแพทย์นารา (Nara Medical University) ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้วิจัยผลงาน

ดังกล่าว ได้สนใจในคุณสมบัติเชิงกลของเส้นใยแมงมุมมาหลายปีแล้ว
        

       เมื่อปี 2007 เขาได้ศึกษาเส้นใยรับแรง (dragline) ที่แมงมุมใช้ห้อยตัวลงมา โดยได้

แสดงปริมาณความแข็งแรงของเส้นใยดังกล่าวและเผยแพร่ลงวารสารพอลิเมอร์

(Polymer Journal) ซึ่งเขามีวิธีที่เยี่ยมยอดเพื่อให้ได้เส้นใยรับแรงในปริมาณมากจาก

แมงมุมที่เพาะเลี้ยงในที่กักขัง และตอนนี้เขาหันมาให้ความสนใจในการประยุกต์วัสดุที่

น่าทึ่งชนิดนี้
       
       ดร.โอซากิใช้แมงมุม เนฟิลา มาคูลาตา (Nephila maculata) เพศเมียจำนวน 300

ตัวเพื่อผลิตเส้นใยรับแรง โดยใช้เส้นใยแมงมุม 3,000-5,000 เส้นหมุนเกลียวไปใน

ทิศทางเดียวเพื่อให้ได้ มัดเส้นใย จากนั้นใช้มัดเส้นใย 3 มัดหมุนเกลียวในทางตรงกันข้าม

เพื่อผลิตเป็นสายไวโอลิน จากนั้นก็ทำการทดสอบความทนแรงดึง (tensile) ซึ่งเป็นสิ่ง

สำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้สายขาดระหว่างที่นักไวโอลินกำลังแสดงคอนเสิร์ต
       
       ผลจากการทดสอบพบว่าสายไวโอลินจากใยแมงมุมนี้ทนต่อแรงดึงน้อยกว่าเส้นเอ็น

แบบดั้งเดิม (ซึ่งใช้กันค่อนข้างน้อย) แต่ก็ทนกว่าเส้นใยไนลอนที่เคลือบอลูมิเนียม และ

จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนพบว่า เมื่อพิจารณาภาคตัดขวางของสาย

ไวโอลินที่กลมเกลี้ยงนี้พบการอัดกันแน่นในรูปร่างที่แตกต่างกันจนไม่เหลือช่องว่างอยู่

ซึ่ง ดร.โอซากิกล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเส้นใยที่หนุนให้เกิดความแข็งแรงและมีเสียงที่

เป้นเอกลักษณ์
       
       “นักไวโอลินระดับเซียนหลายๆ คนรายงานว่า สายไวโอลินจากใยแมงมุมนี้ให้

ลักษณะเสียงที่ดีกว่า ซึ่งจะนำไปใช้สร้างดนตรีใหม่ๆ ได้ และสายไวโอลินจาก

เส้นใยแมงมุมก็เป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริงและเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า

ได้สูง อีกทั้งให้เสียงที่ลักษณะเฉพาะแก่ทั้งนักไวโอลินและผู้รักดนตรีทั่ว

โลก” ดร.โอซากิกล่าว

 

ขอขอบคุณภาพประกอบจากบีบีซีนิวส์

Credit: http://www.legendnews.net
7 มี.ค. 55 เวลา 15:30 1,843 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...