ไขความลับความเป็นอมตะด้วยหนอนทะเล
การวิจัยครั้งนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนโดย Biotechnology and Biological Sciences Research Council (BBSRC) และ Medical Research Council (MRC) การค้นพบครั้งนี้น่าจะนำไปสู่การลดอายุและลักษณะที่เกี่ยวข้องกับอายุในเซลล์ของมนุษย์
หนอนทะเลได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องตกตะลึงกับความสามารถในการเกิดใหม่อย่างไม่มีขีดจำกัด นักวิจัยได้ทำการศึกษาการสร้างเนื้อเยื่อและเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนของเดิมที่ได้รับความเสียหายหรือมีอายุมากแล้ว เพื่อทำความเข้าใจกับกลไกที่ทำให้พวกมันมีอายุที่ยืนยาว นักวิจัยได้ทำการศึกษาหนอนทะเล 2 ประเภท นั่นก็คือ หนอนที่มีสืบพันธุ์แบบแยกเพศ กับหนอนที่มีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน โดยหนอนทั้งสองประเภทนี้สามารถสร้างกล้ามเนื้อใหม่, ผิวหนังใหม่, อวัยวะภายใน รวมถึงสมองขึ้นมาทดแทนของเดิมได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
ปกติเมื่อสเต็มเซลล์ถูกแบ่งไปใช้เพื่อรักษาบาดแผล, ใช้ในการสืบพันธุ์หรือใช้ในการเจริญเติบโต มันก็จะเริ่มแสดงสัญญาณของอายุขัยออกมา นั่นหมายความว่า เมื่อสเต็มเซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก ร่างกายจึงไม่สามารถสร้างเซลล์หรือเนื้อเยื่อใหม่ที่สร้างขึ้นมาทดแทนของเดิมได้ อายุผิวหนังของมนุษย์เป็นตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด ในขณะที่หนอนทะเลและสเต็มเซลล์ของมันสามารถหลีกเลี่ยงกระบวนการที่เกี่ยวกับอายุและรักษาให้เซลล์มีการแบ่งตัวอยู่ตลอด
ทุกครั้งที่เซลล์ของสัตว์เกิดการแบ่งตัว ส่วนปลายของ telomere ก็จะเริ่มสั้นลง เมื่อมันสั้นลงมากๆเข้า เซลล์ก็จะสูญเสียความสามารถในการฟื้นฟูและการแบ่งตัว แต่ในหนอนทะเล เซลล์ของมันยังคงรักษาความยาวของ telomere เอาไว้ได้ทำให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวได้เรื่อยๆ นักวิจัยคาดว่าหนอนทะเลรักษาความยาวของ telomere ที่อยู่ปลายโครโมโซมในสเต็มเซลล์ที่เติบโตเต็มที่อยู่ตลอด จึงเป็นผลให้มันเป็นอมตะได้ในเชิงทฤษฎี
งานวิจัยชิ้นก่อนหน้านี้ที่ได้รับรางวัลโนเบลปี 2009 ในสาขา Physiology or Medicine ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถรักษาระดับของ telomeres ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาได้ด้วยเอนไซม์ที่มีชื่อว่า telomerase ซึ่งจะพบได้ในช่วงแรกๆเมื่อร่างกายกำลังพัฒนา แต่พอเราอายุมากขึ้นมันก็จะค่อยๆลดการทำงานลงเป็นผลให้ telomeres เริ่มมีขนาดสั้นลง
โปรเจคนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาหารหัสพันธุกรรมของหนอนทะเลสำหรับเอนไซม์ตัวนี้และเปลี่ยนการทำงานของมัน นี่จะนำไปสู่การเพิ่มกิจกรรมของยีนตัวนี้เพื่อให้สเต็มเซลล์สามารถรักษาความยาวของ telomeres เอาไว้ได้เมื่อมีการแบ่งตัวเพื่อไปทดแทนเนื่อเยื่อที่หายไป ซึ่งเป้าหมายต่อไปของการวิจัยก็คือ การทำความเข้าใจกับกลไกการทำงาน โดยลงรายละเอียดมากขึ้นเพื่อให้รู้ว่ามนุษย์จะสามารถมีวิวัฒนาการแบบเดียวกับหนอนทะเลที่เป็นอมตะได้อย่างไร