3 ขั้นตอนสำคัญดูแลสัตว์สูงอายุให้แข็งแรงอยู่เสมอ

 

นอกจากคนด้วยกันแล้ว สิ่งที่คนรักและห่วงใยมากที่สุด คือ บรรดาเหล่าเพื่อนซี้สี่ขา ที่
 
ค่อยสร้างเสียงหัวเราะให้คุณ อยู่เป็นเพื่อนคุณยามเหงา แต่วัฏจักรชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้ง
 
หลายบนโลกใบนี้ต้องมีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เจ้าเพื่อนซี้สี่ขาเหล่านี้ก็เช่นกัน เมื่อถึงเวลา
 
มันก็จะแก่ตัวลง ซึ่งเราก็ต้องรู้จักวิธีดูแลมันและดูแลมันให้มากขึ้นเพราะสัตว์เลี้ยงก็เหมือน
 
คน เมื่อแก่แล้ว ก็จะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมือนแต่ก่อน วันนี้เราจึงมีวิธีสำคัญ
 
ๆ สามประการ เพื่อดูแลสัตว์เลี้ยงสูงอายุให้แข็งแรงอยู่เสมอ ตามมาดูกันเลย

1. พาสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกายอยู่เสมอ

             เจ้าตูบที่แก่แล้วมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาเรืองไขข้อสูง ฉะนั้นแล้วการออกกำลัง
 
กาย โดยการวิ่งเหยาะ ๆ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด โดยเจ้าตูบจะต้องการการออกกำลังกาย
 
ที่สม่ำเสมอ ผู้เป็นเจ้าของควรพามันออกเดินเล่นราว ๆ 10 กิโลเมตรต่อ 1 สัปดาห์ โดย
 
แต่ละวันเจ้าของก็เฉลี่ย ๆ กันไปว่าวันไหนจะให้วิ่งเท่าไหร่ ที่ไม่ให้เหนื่อยเกินไป เพราะ
 
อาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจได้

             ส่วนแมวนั้น ตั้งแต่เด็ก ไขข้อของมันไม่ได้รับน้ำหนักมากเหมือนสุนัข ดังนั้น แมว
 
จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม แมวจะเสี่ยงเป็นโรคอ้วน และมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็น
 
โรคเบาหวาน ถ้าคุณลองคลำเจ้าเหมียวแล้วไม่เจอกระดูกของมันแล้วละก็ คุณสงสัยได้
 
เลยว่ามันอาจเป็นโรคอ้วนได้ ดังนั้น การออกกำลังกาย เดินเล่น ก็เป็นอีกกินกรรมที่เจ้า
 
เหมียวต้องทำ แม้มันจะแก่แล้ว แต่ก็อย่าปล่อยให้มันนอนซมอยู่แต่บ้านหล่ะ ไม่งั้นโรคอ้วน
 
ถามหาแน่

 2. หมั่นพาไปพบสัตว์แพทย์

             การพาสัตว์เลี้ยงที่แก่แล้วไปตรวจเช็คสุขภาพอยู่เสมอเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะ
 
การพาไปตรวจสุขภาพจะสามารถตรวจได้ทุกอย่างว่าสัตว์เลี้ยงของคุณมีปัญหาตรงไหน
 
บ้าง จะได้เตรียมป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่มันจะป่วยไปจริง ๆ แล้วจะต้องมานั่งรักษา
 
ทีหลัง ซึ่งเป็นเรื่องยาก ดังนั้นควรพาสัตว์เลี้ยงของคุณไปตรวจสุขภาพ 2-3 ครั้งต่อปี

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างในสัตว์เลี้ยง เป็นตัวบ่งชี้ได้อย่างดีว่า สัตว์เลี้ยงของ
 
คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพ และแมวจะเป็นสัตว์ที่สังเกตเห็นได้ยากกว่าสุนัขว่ามันป่วยหรือ
 
ไม่ เพราะมันเป็นสัตว์ที่รักอิสระ และมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอด มันจึงไม่ค่อยแสดงออก
 
ถึงความเจ็บปวดซักเท่าไหร่ ทั้งนี้ เจ้าของทั้งหลายควรสังเกตน้ำหนัก พฤติกรรมการกิน
 
การนอนของสัตว์เลี้ยงว่ามีอะไรผิดปกติไปหรือไม่ นอกจากนี้ สัตว์ที่มีอายุมากยังมีปัญหา
 
เรื่องการมองเห็น การได้ยิน ที่มักร่วงโรยไปตามวัยอยู่แล้ว และก็มีโอกาสเป็นโรคร้ายทั้ง
 
หลายไม่ว่าจะเป็นเนื้องอก โรคหัวใจ ได้ง่ายกว่าสัตว์เลี้ยงในวัยปรกติด้วย

 3. ดูแลอาหารการกินเป็นพิเศษ

             นอกจากการออกกำลังกายและการเล่นแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เจ้าตูบที่แก่แล้ว
 
ควบคุมเรื่องน้ำหนักได้ คือ เรื่องอาหารการกิน เปลี่ยนจากเนื้อสัตว์ทั้งหลายมาเป็นอาหาร
 
จำพวกผัก เช่น แครอท แอบเปิ้ล บร็อคโคลี่ หรือสตรอเบอรี่ เจ้าตูบก็กินได้ ที่ถึงแม้มันจะ
 
ไม่ใช่อาหารสำหรับสัตว์ แต่มันก็จะลองกินสิ่งที่แตกต่างได้ 

             แต่สำหรับแมวจะแตกต่างจากสุนัข เพราะเมื่อมันอายุมากขึ้น มันก็จะเริ่้มกินยาก
 
มากขึ้น เพราะประสาทรับรสมันจะน้อยลง มันจะเริ่มจุกจิกกับการกินอาหารมากขึ้น อย่างไร
 
ก็ตาม ปัจจุบัน ได้มีการผลิตอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงสูงวัยมากขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่ย่อยง่าย
 
และทำให้อ้วนน้อย และผลิตขึ้นมาโดยมีโปรตีนพิเศษที่มีผลต่อไตน้อยที่สุด

             อย่างไรก็ดี อาหารเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อสัตว์เลี้ยงสูงวัยก็จริง แต่ก็ใช่ที่จะเหมาะ
 
กับสัตว์เลี้ยงทุกตัว เพราะแต่ละตัวก็มีการใช้พลังงานไม่เท่ากัน ถ้าคุณคิดว่า แมวหรือหมา
 
ของคุณเป็นจำพวกชอบไม่อยู่นิ่งละก็ คุณก็ต้องให้อาหารที่มีโปรตีนค่อนข้างสูงเพื่อไป
 
ชดเชยพลังงานที่เสียไป 


เจ้าของควรทำอย่างไรบ้าง?

             สำหรับสุนัข การวัดอายุนั้นไม่เหมือนกัน โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสุนัข สุนัขพันธุ์
 
เล็กจะแก่เร็วกว่า แต่จะอยู่ได้นานกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่ ส่วนสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง (หนัก
 
ระหว่าง 9.5 - 23 กิโลกรัม) จะถูกพิจารณาว่าแก่เมื่อมันอายุได้ 7 ปี (เท่ากับคนอายุ 47 ปี)
 
ส่วนแมว เราไม่ได้วัดอายุที่ขนาด แต่เจ้าของจะรู้ได้ว่า หากแมวของคุณอายุเข้า 8 ปี
 
ถือว่ามันเข้าสู่วัยแก่แล้ว



 เรามีวิธีดูแลตูบยามแก่มาฝากกัน ตามมาดูเลยค่ะ

             - ทำที่นอนของเจ้าตูบให้หนา ๆ และนุ่ม ๆ เข้าไว้ เพื่อจะช่วยบรรเทาความเจ็บ
 
ปวดไขข้อของมันได้ 

             - ทำรั้วกั้นบันได้เอาไว้ ป้องกันไม่ให้สุนัขแก่พยายามจะขึ้นบันได ซึ่งอาจทำให้
 
ตกบันไดได้

             - ติดไฟไว้ในที่ที่สุนัขอยู่ กรณีที่สุนัขแก่แล้วเริ่มมีปัญหาเรื่องการมองเห็น

             - ปูพรมที่ไม่ลื่นบนพื้นที่มีความแข็ง ในกรณีที่สุนัขเริ่มแสดงอาการออกมาว่ามัน
 
เริ่มเป็นโรคไขข้อ โดยสังเกตจากการเดินที่ไม่เสถียร ทำท่าจะล้มเอาให้ได้

             - เริ่มใช้นกหวีด หรือแสดงท่าทางในกรณีที่สุนัขของคุณเริ่มมีปัญหาเรื่องการ
 
ได้ยิน ซึ่งเมื่อคุณเรียก มันไม่ยอมมาแล้ว

             - อธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่า อย่าไปเสียงดังรบกวนสุนัขแก่ เพราะมันอาจก้าวร้าวขึ้น
 
มาได้หากมีการรบกวนมันมาก ๆ 




  ต่อไปเป็นตาเจ้าเหมียวบ้าง เรามาดูวิธีดูแลเจ้าเหมียวตอนแก่กัน


              - เริ่มเปลี่ยนการให้อาหาร เปลี่ยนเป็นให้อาหารที่เหมาะกับแมวแก่ แต่ทั้งนี้ทั้ง
 
นั้นก็ต้องมีการปรึกษาสัตว์แพทย์ด้วย

             - แปรงขนแมวสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เพราะแมวแก่เริ่มที่จะไม่สามารถเลียขนตัวเอง
 
ได้แล้ว

             - ถ้าแมวของคุณมีปัญหาในการกระโดด พยายามอย่าให้มันกระโดดมาก โดยคุณ
 
อาจหาที่นอนเตี้ย ๆ ให้มันนอนตรงนั้น

             - ถ้าแมวแก่ของคุณเริ่มเดินโซเซ หรือเดินไม่ค่อยได้แล้ว คุณต้องจำกัดพื้นที่ให้
 
มันอยู่ ซึ่งไม่ใช่ที่ที่มันจะกระโดดได้มาก เพราะมันอาจกระโดดไปแล้วได้รับบาดเจ็บได้

             - อธิบายให้เด็ก ๆ ฟังว่า แมวแก่ต้องการความสงบในพื้นที่ส่วนตัวของมัน ถ้ามัน
 
ถูกเล่นมาก ๆ หรืออยู่ในกลุ่มคนมาก ๆ มันอาจข่วนหรือกระทั่งกัดได้



Credit: http://hilight.kapook.com
#ดูแล #สำคัญ #สัตว์สูง #อายุ
Hoyjoke
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
7 มี.ค. 55 เวลา 12:01 934 2 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...