นักดาราศาสตร์ระบุปรากฏการณ์อังคารใกล้โลก คืนวันที่ 5 มี.ค.จนถึงเช้า 6 มี.ค.มีระยะ
ห่างเพียง 100 ล้านกิโลเมตร ย้ำส่องประกายสีส้มแดง
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การ
มหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ดาวอังคารจะโคจรมาใกล้โลก
ทุกๆ ประมาณ 2 ปี ซึ่งจะเป็นช่วงที่ดาวอังคารจะมีคาบการโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรง
ข้ามกับดวงอาทิตย์ (opposition : ตำแหน่งที่ดาวอังคาร โลก และดวงอาทิตย์ เรียงอยู่
ในเส้นตรงเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง) ในวันที่ 3 มีนาคม 2555 ดาวอังคารจะโคจร
เข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
จากนั้น ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2555 ที่ระยะห่าง 100 ล้าน
กิโลเมตร ซึ่งเข้าใกล้กันมากที่สุดในรอบ 26 เดือน เป็นผลให้เราสามารถสังเกตเห็นดาว
อังคารสีส้มแดงสว่างมากกว่าปกติ โดยจะสว่างกว่าในช่วงที่สว่างน้อยที่สุดประมาณ 17
เท่า และจะปรากฏบนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน ทั้งนี้ ดาวอังคารจะขึ้นเวลา 18:16 น. ทางทิศ
ตะวันออกเฉียงเหนือ และตกในเวลา 06:41 น. ของวันที่ 6 มีนาคม 2555 ทางทิศตะวัน
ตกเฉียงเหนือ ปรากฏบนท้องฟ้าใกล้กลุ่มดาวสิงโต
ปกติแล้วเราจะมองเห็นดาวอังคารส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า เนื่องจากพื้นผิวของ
ดาวอังคารมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กออกไซด์ จึงเรียกฉายาของดาวอังคารว่า
“ดาวเคราะห์สีแดง” ครั้งล่าสุดที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2553
และจะเกิดขึ้นในครั้งต่อไปในวันที่ 14 เมษายน 2557 ตามปกติดาววงจรอยู่ห่างจากโลก
ของเราเพียง 57 ล้านกิโลเมตร และ 376 ล้านกิโลเมตร เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวง
อาทิตย์เป็นวงรี