ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศบนหน้าเว็บไซต์ชี้แจงว่า ในกระบวนการ
ออกธนบัตรแบบใหม่ทุกครั้ง ธปท. จะต้องมีหนังสือถึงสานักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำ
ความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายา
สาทิสลักษณ์และตราสัญลักษณ์ รวมทั้งภาพพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ลงพิมพ์บนธนบัตร
เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงประกาศการออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ใน
ราชกิจจานุเบกษา
สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบธนบัตรที่ต้องคงไว้เสมอ คือ
1. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพิมพ์เป็นภาพประธานด้านหน้า
2. พระครุฑพาห์ซึ่งเป็นตราแผ่นดินและใช้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์
ทั้งนี้ ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท แบบใหม่ เป็น 1 ในชุดธนบัตรแบบ 16 ซึ่งจะเน้นเรื่องราว
เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ
กรุงรัตนโกสินทร์ และโดยเหตุที่พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตบางพระองค์ไม่มีตรา
สัญลักษณ์ของราชวงศ์ จึงมิได้เชิญตราสัญลักษณ์มาพิมพ์บนด้านหน้าธนบัตร ดังนั้น
ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท แบบ 16 จึงไม่มีการแสดงตรามหาจักรีดังเช่น ธนบัตรอื่น ๆ
ประกาศ ธปท. ระบุอีกว่า ส่วนการเชิญตรามหาจักรีมาพิมพ์บนด้านหน้าธนบัตรเป็นครั้ง
แรก เกิดขึ้นในธนบัตรแบบ 13 ตามแนวความคิดในการออกแบบ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงาน
สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยที่ธนบัตรแบบ 12 ไม่มีการเชิญตรามหาจักรีมาเป็น
ภาพประกอบแต่อย่างใด (น่าออกใช้ช่วง พ.ศ. 2521-2524) ธปท.จึงประกาศมาเพื่อทราบ
ก่อนหน้านี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์ค่อนข้างมาก โดยวิจารณ์การจัดพิมพ์
ธนบัตรชนิดราคา 50 บาท แบบใหม่ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของ ธปท.ว่าเป็นกระทำอันไม่
สมควร เพราะธนบัตรแบบดังกล่าวไม่มีตราสัญลักษณ์ประจำองค์พระมหากษัตริย์และ
พระราชวงศ์
- สำนักข่าวไทย