สแกนเชื้อแบคทีเรียในอาหารด้วยมือถือ
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการประยุกต์ใช้มือถือด้วยการติดเซนเซอร์ต่างๆเข้าไป นั่นก็คือ CellScope ด้วยการติดกล้องจุลทรรศน์เพื่อถ่ายรูปแล้วส่งให้ห้องทดลองวิเคราะห์
เจ้าเครื่องสแกนเนอร์ตัวนี้ใช้ติิดกับกล้องของโทรศัพท์มือถือและใช้แสงฟลูโอเรสเซนส์ในการตรวจจับแบคทีเรีย มันถูกพัฒนาขึ้นโดยวิศวกรจาก UCLA อุปกรณ์หลักๆก็มี quantum dots (เซมิคอนดักเตอร์ขนาดเล็ก) และหลอดแก้วขนาดเล็กที่บรรจุสารแอนตี้บอดี้ไว้ เมื่อหลอดนี้เกิดการปนเปื้อนด้วยเชื้อ E. coli s มันก็จะเปล่งแสงออกมา ส่วนมือถือก็จะทำหน้าที่เหมือนกับกล้องจุลทรรศน์ฟลูโอเรสเซนส์ คอยตรวจจับแสงสว่างที่แบคทีเรียเปล่งออกมา
ในอนาคตสแกนเนอร์ตัวนี้ของ UCLA อาจจะมีการผลิตออกมาเพื่อจำหน่ายจริงๆ แต่ตอนนี้มันยังเป็นแค่ตัวต้นแบบที่แสดงให้เห็นว่าการผลิตเครื่องมือแบบพกพาสำหรับตรวจการปนเปื้อนของน้ำและอาหาร ที่มีราคาถูกสามารถผลิตออกมาได้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ถ้าใครสนใจก็เข้าไปอ่านเอกสารงานวิจัยได้ในวารสาร The Royal Society of Chemistry ค่ะ